Mapping เยียวยาซึมเศร้า กับเรื่องเล่าของมนุษย์เศร้าซึม

 

เพราะเป็นโรคซึมเศร้า จึงลองทำ “แผนภาพ” ตามความยากง่ายและผลลัพธ์ที่ได้ดู

ฮชชี MentalHack กับความพยายามในการรักษาโรคซึมเศร้าโดยไม่พึ่งยาเพียงยาเดียว

 

A picture containing text, businesscard

Description automatically generated

 

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางคนที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการกินยา มักจะประสบปัญหาคล้าย ๆ กันคือ “กินยาเท่าไหร่ก็ไม่เห็นดีขึ้นสักที” จนกลายเป็นความเหนื่อยล้าและท้อใจ  

ฮชชี MentalHack บล็อกเกอร์ชาวญี่ปุ่นและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็เคยรู้สึกแบบนั้นเช่นกัน เขาพบว่าโรคซึมเศร้าไม่มีทางหายจากโรคได้ด้วยยาเพียงอย่างเดียว เขาจึงทดลองทำวิธีต่าง ๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนมากมายว่าช่วยรักษาโรคซึมเศร้าได้ จากนั้นจึงจัดทำแผนภาพลำดับ “ความยาก-ง่าย” (ไปจนถึงวิธีที่ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าลองเลยดีกว่า) และ “ผลลัพธ์” ที่ได้ต่ออาการของโรค

“ผมลงมือทำทั้งหมดด้วยความคิดที่ว่าถ้าไม่ลองดูก็ไม่รู้ ผลก็คือสภาพร่างกายค่อย ๆ ฟื้นฟูขึ้นจนออกไปข้างนอกได้ แล้วผมก็คิดว่าอยากเล่าประสบการณ์นี้ให้ทุกคนฟังในรูปแบบที่เข้าใจง่าย”

เขาจึงเผยแพร่ “แผนภาพวิธีรักษาโรคซึมเศร้า” ลงในทวิตเตอร์

ใช้เวลาไม่นานก็มีผู้กดชื่นชอบกว่า 40,000 คน และรีทวีตออกไปกว่า 24,000 ครั้ง ไม่เพียงเท่านั้น หลายคนที่เห็นแผนภาพวิธีรักษาโรคซึมเศร้ายังลองเขียนแผนภาพของตัวเองไปเผยแพร่ต่ออีกด้วย

การทำแผนภาพช่วยทำให้เห็นแนวโน้มของตัวเองว่ามีความชอบอย่างไรและกิจกรรมไหนส่งผลดีต่ออาการของโรค นอกจากนี้ ความสนุกอีกอย่างของการทำแผนภาพคือ “เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา” คนเราเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน เพราะฉะนั้นแผนภาพก็ไม่ใช่สิ่งที่เหมือนเดิมตลอดไป ถ้าลองทำวิธีนี้ใหม่หลังผ่านไปหลายเดือนก็อาจได้ผลลัพธ์แตกต่างจากที่เคยทำไว้ เมื่อนำแผนภาพมาเทียบกันก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่กำลังทรมานจากโรค แต่มีความตั้งใจที่จะเยียวยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้ “แผนภาพ” จาก Mapping เยียวยาซึมเศร้า กับเรื่องเล่าของมนุษย์เศร้าซึม เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยคุณจากโรคซึมเศร้ากันเถอะ

ลองสร้าง “แผนภาพวิธีรักษาโรคซึมเศร้า” ของคุณกันเถอะ!

1.ลิสต์กิจกรรมที่ทำในช่วงนี้ เช่น อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ นอน ออกกำลังกาย 

2.ลองสังเกตตัวเองว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อทำกิจกรรมเหล่านั้น

a.อ่านหนังสือ: สนุก ไม่คิดฟุ้งซ่านดี

b.ออกกำลังกาย: ร่างกายเบาสบาย แต่ทำแล้วเหนื่อยมาก

3.จัดกลุ่มกิจกรรมเหล่านั้นออกเป็น 4 กลุ่ม

a.ทำง่าย ได้ผลดี

b.ทำง่ายได้ผลไม่ดี

c.ทำยาก ได้ผลดี

d.ทำยาก ได้ผลไม่ดี

4.เขียนชื่อกิจกรรมเหล่านั้นลงในแผนภาพเลย!

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศุภวรรณ พัฒนานิธิ (ปุ๋ย) ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บ.นานมีบุ๊คส์ จำกัด T: 081-843-5085 ID Line: puipuisupawan

 

 

 

(โปรดกดถูกใจเพจด้านล่าง เพื่อติดตามข่าวสารบนเว็บไซต์ edunewssiam.com)