เบิ่ง!อนาคตอาชีวศึกษา ในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาชาติ พ.ศ...ฉบับกรรมาธิการฯเสร็จสมบูรณ์ รุ่งหรือร่วง⁇

 

 

เบิ่ง!อนาคตอาชีวศึกษา ในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาชาติ พ.ศ...ฉบับกรรมาธิการฯเสร็จสมบูรณ์ รุ่งหรือร่วง

 

 เศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ประธานเครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย (ค.ร.อ.ท.) โพสต์ผ่านสื่อโซเชี่ยล lovevocational.blogspot.com เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 ดังมีรายละเอียดเรื่องราวน่าสนใจอย่างยิ่ง...

 

ตามที่มีสื่อโซเชียลได้โพสต์ “พ.ร.บ.การศึกษาชาติ ฉบับกรรมาธิการฯเสร็จสมบูรณ์ แล้วครับ คุณโสภณ ซารัมย์ เพิ่งส่งให้กมธ.เมื่อกี้ครับ" 

 

ทำให้คนที่สนใจและติดตามว่า เมื่อไหร่ร่างพ.ร.บ.การศึกษาชาติ ถึงจะแล้วเสร็จไม่ว่าจะเป็นข้าราชการครู ผู้บริหาร นักการศึกษาต่างตื่นเต้นโดยได้ติดตามรายละเอียดสอบถามแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้าง ในร่าง พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าว  ซึ่งมีทั้งหมด  9 หมวดจำนวน 128  มาตรา โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ แต่ละมาตราแต่ละหมวดก็มีเปลี่ยนแปลงพ.ร.บ. การศึกษาชาติ พ.ศ. 2542 หลายประเด็น

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวด 3 ระบบการศึกษามาตรา 19 การจัดการศึกษามี 2 แบบ คือ 1 ในระบบและ 2 การศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งต่างจากพรบ.การศึกษาชาติ พ.ศ.2542 ที่กำหนดการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

 

แต่ร่างฉบับกรรมาธิการฯ ดังกล่าวมีการขยายความในมาตรา 21 การศึกษาในระบบ มีดังนี้

 

ม.2 1 (1) การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบ ได้แก่ (ก) การศึกษาระดับปฐมวัย (ข) การศึกษาระดับประถมศึกษา (ค) การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (ง) การศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และ (2) การศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้แก่ (ก) การศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ข) การศึกษา ระดับอนุปริญญา (ค) การศึกษาระดับปริญญา

 

จะเห็นได้ว่า ในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ จะแยกการศึกษาอาชีวศึกษาออกจากกันอย่างเด็ดขาด

 

นั่นคือ ระดับ ปวช.ให้อยู่ในส่วนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ม.21 (1) (ง) ส่วนระดับปวส.และป.ตรี จัดให้อยู่การศึกษาระดับอุดมศึกษา ม.21 (2)(ก)

 

เหตุใด จึงไม่กำหนดให้การอาชีวศึกษาอยู่ในหมวดเดียวกัน

 

นั่นคือ ควรอยู่ในระดับอุดมศึกษา โดยยกเลิก ม.21 (1) (ง) จากการศึกษาพื้นฐานให้มาอยู่ร่วมกับ ม.21 (2)การจัดการอุดมศึกษาได้แก่ (ก) การอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ข) การศึกษาระดับอนุปริญญา  (ค) การศึกษาระดับปริญญา

 

นายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ประธานเครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย (ค.ร.อ.ท.) ให้เหตุผลอีกด้วยว่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระดับปวช. ปวส. และ ต่อมามีการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นไปตาม พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา 2551 ได้จัดการเรียนการสอนอยู่ในสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาเดียวกัน

 

เมื่อมีการยกร่างพ.ร.บ.การศึกษาชาติ...ฉบับใหม่ เหตุใดจึงไม่หาวิธีการกำหนดให้การจัดการอาชีวศึกษาเป็นเอกภาพ เพราะการจัดการอาชีวศึกษานั้นเป็นการจัดการศึกษาเฉพาะทาง นั่นคือ การจัดการศึกษาด้านวิชาชีพเฉพาะแต่ละสาขาวิชา เพื่อสร้างผลิตกำลังคนให้มีอาชีพและสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการ ในการพัฒนาประเทศโดยตรง 

 

กรรมาธิการฯ ที่ร่างพรบดังกล่าวน่าจะเข้าใจ และ ให้การสนับสนุนการอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของประเทศ

 

 

ปัจจุบันนี้ อาชีวศึกษามีพรบ.การอาชีวศึกษา 2551 ได้กำหนดการจัดการศึกษา ระดับปวช. ปวส.และป. ตรี โดยแบ่งออกสถานศึกษาเป็น 2 กลุ่ม คือ

 

สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา  23 แห่ง โดยที่มีสถานศึกษาสังกัดสถาบัน 202  แห่งที่จัดการเรียนการสอนถึงระดับปริญญาตรี  และสถานศึกษาที่อยู่นอกสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากว่า 243 แห่ง รวมสถานศึกษาอาชีวะเอกชนอีกกว่า 400 กว่าแห่ง

 

แต่ในร่างพ.ร.บ.การศึกษาชาติ ได้กำหนดหมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษาในส่วนที่ 4 การบริหารและการจัดการการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาในมาตรา 60 - 63... ยังมีความคลุมเครืออยู่ว่าการจัดการศึกษาตามมาตรา 61 กำหนดให้มีเป้าหมายการจัดการศึกษาเป็นสามระดับ อันได้แก่ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง

 

นั้นหมายถึงว่า การจัดการอาชีวศึกษาตามมาตรา 21(1) หรือให้การจัดการอาชีวศึกษาประกอบ ไปด้วยมาตรา 21(1)และ(2) หรือไม่ หากเป็นเช่นนี้ จึงควรแก้ไขให้การอาชีวศึกษาในตามมาตรา 21 (2)(ก) โดยให้ยกเลิก ม.21 (1)(ง)

 

เช่นกันในมาตรา 63 ยังได้ระบุว่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสนองตอบการพัฒนากำลังคนหรือตลาดแรงงานของจังหวัดหรือประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีการรวมกลุ่มสถานศึกษาอาชีวะในจังหวัดเพื่อบูรณาการจัดการอาชีวศึกษา หมายถึงสถาบันการอาชีวศึกษาจังหวัดใช่รึไม่

 

เพราะปัจจุบันนี้การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาทั้ง 23 แห่ง เป็นการจัดตั้งตามกลุ่มจังหวัดโดยสถาบัน 1 แห่ง อาจจะมีการกำกับดูแลการศึกษาของอาชีวศึกษา 3-5 จังหวัด

 

หากจะให้การกระจายอำนาจการบริหารงานของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) หรือเป็นกรมอาชีวศึกษา ควรที่จะมีการขยายการอาชีวศึกษาให้มีสำนักงานอาชีวศึกษาส่วนภูมิภาค

 

นั่นคือ ให้มีการจัดตั้งสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเปรียบเหมือนเขตการศึกษาอาชีวศึกษา

 

ประธาน ค.ร.อ.ท. ได้กล่าวพิ่มเติมว่า เรื่องการมีส่วนร่วมในร่างพ.ร.บ.การศึกษาชาติ....ขอเรียนว่าคนอาชีวศึกษาคงจะต้องออกมาร่วมกันต่อสู้ หรือ นำเสนอประเด็นปัญหาต่าง ๆ ต่อคณะกรรมาธิการการศึกษา เพื่อที่จะให้การจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษาในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว สนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

 

ก่อนที่จะออกมาเป็นกฎหมายการศึกษาชาติ คนอาชีวะต้องได้มีส่วนร่วมในการเสนอประเด็นที่เป็นประโยชน์กับประชาชนกับพลเมืองของประเทศต่อไป