ดิจิทัลมีเดีย ม.ศรีปทุม เปิดหลักสูตรเพื่ออนาคต ขานรับไทยแลนด์ 4.0

ดร.กมล จิราพงษ์ คณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ดีกรีผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลคอนเทนท์ ด้วยประสบการณ์การออกแบบสถาปัตยกรรม และสร้างสรรค์งาน 3 มิติ ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นสถาปนิกอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า สาขาวิชาที่ทำการสอนมีทั้งดิจิทัลอาร์ตส์ เน้นการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาได้เรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพเคลื่อนไหวด้วยสื่อดิจิทัล โดยใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือในโปรแกรมต่างๆ

เช่น การวาดรูปแบบ Digital Paint การปั้นโมเดลแบบ 3 มิติ (3D Sculpture) และการวาดภาพประกอบ (Illustration) เป็นต้น ซึ่งจะผลิตวิชาชีพต่างๆ ป้อนตลาดแรงงานทั้งนักออกแบบกราฟิก นักวาดภาพประกอบ ช่างภาพ นักสร้างโมเดลสามมิติ  ศิลปิน นักออกแบบด้วยการประยุกต์เทคนิคการวาดภาพประเภทต่างๆ

นอกจากนี้ ยังมีสาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ เน้นขั้นตอนการทำงานการผลิตแอนิเมชัน ด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งในรูปแบบ 3 มิติ และ 2 มิติ เช่น การสร้างเรื่องราว การออกแบบตัวละครและฉาก การเขียนสตอรี่บอร์ด การผลิตแอนิเมชัน ผู้จบการศึกษาจะทำงานด้านศิลปินผู้สร้างสรรค์เทคนิคพิเศษ นักสร้างโมเดลสามมิติ ผู้กำกับเทคนิค ผู้ดูแลการทำงานด้านเทคนิคของวิชวลเอฟเฟกต์

สาขาการออกแบบกราฟิก เป็นหลักสูตรที่เน้นศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบงานกราฟิกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ในด้านการสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล ได้แก่ การออกแบบโปสเตอร์ การออกแบบโลโก้ การออกแบบภาพลักษณ์สำหรับองค์กรการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) และการออกแบบกราฟิกสำหรับเว็บไซต์ รวมไปถึงเรียนรู้การออกแบบงานกราฟิกเพื่อใช้ในการสื่อสารการโฆษณาประชาสัมพันธ์

ผู้สำเร็จการศึกษาจะสามารถเปิดอนาคตสู่การเป็นดีไซน์เนอร์ในดิจิทัลเอเจนซี่ และกราฟิกเฮ้าส์ ทำงานด้านการออกแบบและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เช่น การสร้างแบรนด์ การออกแบบเว็บไซต์ ออกแบบเพคเกจจิ้ง สร้างสรรค์งานโฆษณา ออกแบบ e-Magazine ออกแบบ Info Graphic และสนุกไปกับการทำงาน Motion Graphic นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้แนวทางการทำธุรกิจดิจิทัลผสมผสานไปกับงานออกแบบ

สาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม นักศึกษาจะได้เรียนรู้การออกแบบสื่อในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ซึ่งต้องมีการประยุกต์ใช้การเขียนโปรแกรมสำหรับการออกแบบมัลติมีเดียเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน สื่อการเรียนการสอน รวมถึงมัลติมีเดียที่ใช้ในงานนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์แบบอินเทอร์แอคทีฟ การออกแบบเกมและการออกแบบกราฟิกสำหรับใช้ในเกมทั้งรูปแบบ 2 มิติและ 3 มิติ สามารถจบมาเป็นโปรแกรมเมอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมกราฟิก  นักพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์ นักออกแบบเกม หรือวิธีการเล่นเกม

“ผู้ที่สำเร็จการศึกษานั้นมีตลาดแรงงานกว้างมาก เราผลิตได้เพียงแค่ 100 กว่าคน หรือเรียนทุกรุ่นก็รวมกันราวๆ 300 คนต่อปี แต่ก็ไม่เพียงพอกับตลาดแรงงาน ที่มีความต้องการสูงมาก เรียกได้ว่าเป็นอาชีพดาวรุ่งจริงๆ”

ดร.กมลกล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาความสำเร็จของนักศึกษาจากคณะดิจิทัลมีเดีย ม.ศรีปทุม ได้รับการยอมรับและเข้าทำงานในองค์กรต่างๆโดยไม่ตกงาน ขณะที่คณะเองก็ได้รับความสนใจจากองค์กรธุรกิจ และภาคราชการ ให้รับงานเป็น ไพรเวท คอนซัลแตนท์ มีหลายองค์กรให้ไปทำการสอนในลักษณะไพรเวท คอร์ส เพื่ออบรมให้กับพนักงาน หรือรับงานออกแบบอินโฟกราฟฟิคต่างๆ รวมไปถึงองค์กรใหญ่ๆอย่างสมาคมสถาปนิกสยาม เป็นต้น

ล่าสุดทางคณะยังจะมีการเปิดคอร์สสอนผู้เข้าอบรมด้านดิจิทัลมีเดียแบบระยะสั้น เนื่องจากมีความต้องการจากตลาดอย่างสูง มีหลายคนที่สนใจเรียนเป็นคอร์สสั้นๆ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มในราวเดือนมีนาคม โดยจะเปิดสอนแก่ผู้สนใจ ผู้ประกอบการรายเล็กแบบเอสเอ็มอี เพื่อตอบโจทย์ในวงกว้างด้วย

“เราพร้อมจะถอดแบบจากการสอนในระดับปริญญาตรีมาเป็นคอร์สสั้นๆแก่ผู้สนใจ เพื่อสามารถเพิ่มพูนความรู้หรือนำไปประกอบอาชีพได้ เช่น การสอนการทำแอนิเมชั่น การทำอินโฟกราฟฟิค ซึ่งก็คือการนำเรื่องราวที่อธิบายหรือเข้าใจยาก มาเป็นการเล่าเรื่องผ่านกราฟฟิคสั้นๆ หรือการสร้างเวบไซต์ เช่น ผู้ที่นิยมเล่นเฟสบุ๊คแต่ยังไม่สามารถทำวีดีโอ ไวรอล เพื่อสร้างผู้ติดตามได้” คณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย ม.ศรีปทุมกล่าว

สนใจติดต่อคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม โทร.0-2579-1111 ต่อ 2000 อีเมล์: thitirat.ch@spu.ac.th