ห้ามพลาดนิทรรศการการเดินทางของหนังสือไทย ใน"5 ทศวรรษหนังสือและการพิมพ์"

ไลฬสไตล์ คอลัมน์ : วงวรรณกรรม

ต้องยอมรับว่า สังคมไทยมาถึงยุคเปลี่ยนผ่านจากสิ่งพิมพ์หน้ากระดาษสู่ 'ดิจิทัล' สุดท้ายแล้วตกไปที่กลุ่ม สื่อสิ่งพิมพ์ไทย' และหนังสือพิมพ์ ได้รับผลกระทบหนักสุด เห็นได้จากการทยอยยุบ ปรับ ตัดรวม เพื่อความอยู่รอด อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ต่างทยอยเลิกฉบับพิมพ์ปรับตัวมุ่งสู่ออนไลน์ แต่ก็ยัง ไม่สร้างกำไร มีแต่ราคาคุย

หากย้อนดูประวัติศาสตร์การพิมพ์ของไทย บันทึกตรงกันว่า 

ในปี พ.ศ.2205 (ค.ศ.1662) สมัยกรุงศรีอยุธยา สังฆราชมิชชันนารีฝรั่งเศสองค์หนึ่ง ชื่อ ลาโน แต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนขึ้น สมเด็จพระนารายมหาราช ทรงพอพระทัยโปรดให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่เมืองลพบุรี ในสมัยพระเจ้าตากสิน เมื่อบ้านเมืองปกติแล้ว บาทหลวงคาทอลิกชื่อ คาร์โบล ได้เข้ามาสอนศาสนา จัดตั้งโรงพิมพ์และพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซันตาครูส ตำบลกุฎีจีน หนังสือฉบับดังกล่าวลงปีที่พิมพ์ว่า ปีค.ศ.1796 ซึ่งตรงกับ พ.ศ.2339 สันนิษฐานกันว่า แม่พิมพ์คงใช้วิธีการแกะแม่พิมพ์ไม้เป็นหน้า ๆ มากกว่าการใช้ตัวเรียงโลหะพ.ศ.2371 (ค.ศ.1828) นายทหารอังกฤษชื่อ ร้อยเอกเจมส์โลว์ (Captain James Low) รับ ราชการอยู่กับรัฐบาลอินเดีย มาทำงานที่เกาะปีนังเรียนภาษาไทยจนมีความสามารถเรียบเรียงตำราไวยากรณ์ไทย ขึ้น และได้จัดพิมพ์หนังสือไวยากรณ์ขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า "A Grammar of the Thai) พิมพ์ที่ The Baptist Mission Press ที่ เมืองกัลกัตตา หนังสือเล่มนี้ยังคงมีเหลือตกทอดมาให้เห็นจนถึงปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ด้วยตัวเรียงภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดที่จะหาได้ในปัจจุบัน

พ.ศ. 2382 หลังจากหมอบรัดเลย์เข้ามาเมืองไทย ได้เริ่มด้านงานพิมพ์จนสนใจเป็นธุรกิจด้านการพิมพ์ ในเมืองไทย และได้พิมพ์เอกสารทางราชการเป็นชิ้นแรก คือ หมายประกาศห้ามสูบฝิ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างพิมพ์จำนวน 9,000 ฉบับต่อมาเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2387 ได้ออกหนังสื่อฉบับแรกขึ้น คือ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (Bangkok Recorder) เป็นจดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับและใน 15 มิ.ย.พ.ศ.2404 ได้พิมพ์เล่มออกจำหน่ายโดยซื้อลิขสิทธิ์จาก หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย เท่ากับได้เริ่มต้นการซื้อขายลิขสิทธิ์จำหน่ายในเมืองไทย

กิจการการพิมพ์ของไทยจึงได้เริ่มต้น เมื่อหมอบรัดเลย์ถึงแก่กรรมในเมืองไทย หลังจากนั้นประเทศไทยนำเครื่องพิมพ์แบบโรตารีออฟเซต (Rotary off set) มาใช้เป็นครั้งแรก โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชนำเครื่องหล่อเรียงพิมพ์ (Monotype) มาใช้กับตัวพิมพ์ภาษาไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดโรงพิมพ์ธนบัตรไทยขึ้นใช้เองในโอกาสที่หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี จัดแสดงหนังสือที่พิมพ์ขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2500-2549 ทำให้เห็นการเดินทางของหนังสือ ความตั้งใจในการผลิตหนังสือ เรื่องราวที่ถูกบันทึกในแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งความสนใจของผู้คนและสังคมารจัดแสดงจะมีการบอกเล่าบรรณนิทัศน์หรือสาระสำคัญของหนังสือบางเล่มประกอบด้วย หนังสือชุดแผนที่ความรู้เมืองไทย ของ สำนักพิมพ์แปลน รีดเดอร์ส จำกัด ในเครือบริษัท แปลน โมทิฟจำกัด ซึ่งได้รับคัดเลือกให้จัดแสดงเป็นหนึ่งในหมุดหมายของ นิทรรศการ 5 ทศวรรษหนังสือและการพิมพ์ ที่เต็มไปด้วยสาระ สีสันอันชวนหลงไหลเก็บเกี่ยวกับบรรยากาศและเรื่องราวที่นำมาจัดวางให้เสพอย่างเต็มอิ่มมิใช่น้อยหนังสือชุดนี้พิมพ์ ทราบว่า สำนักพิมพ์แปลน รีดเดอร์ส จำกัด จัดพิมพ์ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2546 โดยเน้นการนำเสนอความรู้ผ่านแผนที่ภาพวาดแสดงรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมและองค์ความรู้ต่างๆ ของโบราณสถานและสถานที่สำคัญ เช่น วัดและวังในกรุงเก่า วัดในรัตนโกสินทร์ ศาสนศิลป์แผ่นดินล้านนา เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ฯลฯ

“เราตั้งใจทำหนังสือชุดนี้ขึ้น ในยุคที่ยังไม่มี google map ไม่มี google street view ไม่มี drone ที่จะมาช่วยหาข้อมูลและบันทึกภาพ ครั้งนั้น เราเดินสำรวจ เราวาดภาพแต้มสี และตรวจสอบความถูกต้องจากนักวิชาการหลายแขนง ปัจจุบัน ภาพวาดต้นฉบับเหล่านี้ ยังคงถูกเก็บไว้เช่นเดียวกับอาร์ตเวิร์คในยุคที่ยังต้องเรียงพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ นำมาตัดปะจัดหน้าด้วยมือ ฟิล์มสไลด์ ฯลฯ เพราะเราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้คือ บันทึกเรื่องราวการเดินทางบนเส้นทางการสื่อสารความรู้ของพวกเรา และเชื่อว่า จะเป็นรอยต่อเล็กๆ ของแวดวงหนังสือและการพิมพ์ สักวันหนึ่ง เราคงมีโอกาสได้นำเรื่องราวการบันทึกความรู้ต่างๆ เหล่านี้ออกมาให้ได้ชื่นชม " นิทรรศการ "5 ทศวรรษหนังสือและการพิมพ์" จัดแสดงระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2563 ณ ห้องวชิรญาณ 2 - 3 อาคาร 2 ชั้น 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ ในวัน-เวลาเปิดบริการ ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น 

เสร็จสิ้นจากกิจกรรมประจำวันแล้ว แวะเข้าไปชมกันสักนิด แล้วจะรู้สึกรักชาติบ้านเมืองในยุคที่ผ่านมามิใช่น้อย