นักวิจัย มทร.ธัญบุรี เจ๋ง!ผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์-สารสกัดนาโนส่งออก สร้างรายได้ เข้ามหาวิทยาลัยปีละกว่า 100 ล้าน


ข่าวการศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ นักวิจัย และอาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี และ RMUTT Research Center : Nano Microorganism for Agriculture ได้ผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์และสารสกัดนาโน ส่งออกให้กับประเทศมาเลเซีย จำนวนมากกว่า 110,000 ตันต่อปี โดยสร้างรายได้แก่มหาวิทยาลัย จำนวนกว่า 100 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ ผศ.ดร.สุกาญจน์ เปิดเผยว่า หัวเชื้อจุลินทรีย์และสารสกัดนาโน หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ดนาโน สารสกัดจุลินทรีย์นาโนและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่ได้จากการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์และพัฒนาต่อยอดร่วมกับสถานประกอบการเครือข่ายของมหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่อง

จนกระทั่งได้นวัตกรรมชีวภาพที่ได้มาตรฐานสากลเพื่อพัฒนาการเกษตร เพื่อใช้สำหรับแก้ปัญหาและผลกระทบให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกร และอุตสาหกรรมแบบครบวงจร 

เมื่อเกษตรกรนำหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโนปรับสภาพดิน และใช้หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ดนาโนร่วมกับสารสกัดจุลินทรีย์นาโนทดแทนปุ๋ยเคมี หรือใช้หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ดนาโนและสารสกัดจุลินทรีย์นาโนร่วมกับปุ๋ยเคมี จะทำให้เกษตรกรลดปริมาณการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุน

ข่าวการศึกษา ยกตัวอย่างการปลูกข้าว 1 ไร่ เมื่อเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยเคมี มีต้นทุนประมาณ 6,000-7,000 บาท หากเกษตรกรใช้หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ดนาโนและสารสกัดจุลินทรีย์นาโน จะลดต้นทุนเหลือประมาณ 2,000-3,000 บาท แต่ทำให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตมากขึ้นกว่าปกติ เพิ่มกำไร กำจัดโลหะหนักปนเปื้อน

ที่สำคัญปรับปรุงสภาพดินที่เสื่อมโทรมให้เหมาะสมเพื่อการเกษตรในระยะยาวนาน คุณภาพผลผลิตอินทรีย์ได้มาตรฐาน GAP ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ปัจจุบันทาง มทร.ธัญบุรีผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน จำหน่ายให้กับหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กรมทรัพยากรธรรมชาติและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองทุนพัฒนาและฟื้นฟูการเกษตร

โรงงานอุตสาหกรรมเอกชนในประเทศมาเลเซีย รวมถึงรัฐบาลประเทศมาเลเซีย จำนวนมากกว่า 110,000 ตันต่อปี โดยสร้างรายได้แก่มหาวิทยาลัย กว่า 100 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ ชนิดผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโนที่ศูนย์ RMUTT Research Center Nano Microorganism for Agriculture ผลิตเพื่อพัฒนาเกษตรอินทรีย์หลายชนิด ประกอบด้วย 1.หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน (ผง) สำหรับเร่งการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ที่เป็นแหล่งอินทรียสาร (Organic matter) ให้กลายเป็นธาตุอาหารหลัก อาหารรองและอาหารเสริมในรูปที่รากพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในปริมาณที่มากกว่าปกติ และลดปริมาณโลหะหนักปนเปื้อน 80-90%

ทำให้ได้ปุ๋ยชีวภาพที่มีคุณภาพสูงกว่าค่ามาตรฐานสารปรับปรุงชีวภาพ สำหรับพัฒนาการปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ผักและผลไม้ ยางพารา ข้าว อื่นๆ ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่ม กำจัดมลสารและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและโรงงานอุตสาหกรรมแบบครบวงจร 

2.หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน(เม็ด) สำหรับเคลือบและผสมกับปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยเคมี เพื่อทำให้ปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยเคมี มีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมได้สูงกว่าค่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์สารปรับปรุงชีวภาพ 

ข่าวการศึกษา

3.สารสกัดจุลินทรีย์นาโน เพื่อเป็นอาหารเสริม ฮอร์โมน เอนไซม์ อื่นๆ สำหรับช่วยเร่งการเติบโตของพืชแต่ละชนิด ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อใช้ร่วมกับหัวเชื้อชีวภาพนาโนที่เหมาะสมกับชนิดพืชที่เกษตรกรต้องการพัฒนา 

4. หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ดนาโน สำหรับใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยชีวภาพ หรือร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยชีวภาพ เพียงแต่เกษตรกรใช้หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ดนาโนร่วมกับสารสกัดจุลินทรีย์นาโน สำหรับพัฒนาการปลูกพืชเศรษฐกิจในแต่ละชนิด

ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน ผักและผลไม้ ยางพารา มะนาว มันสำปะหลัง อ้อย อื่นๆ  ก็จะช่วยเกษตรกรเพิ่มผลผลิต เพิ่มกำไร ลดต้นทุนของเกษตรกร สร้างมูลค่าเพิ่ม กำจัดมลสาร ปรับสภาพดินและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรมากกว่าปกติ และโรงงานอุตสาหกรรมแบบครบวงจร 

5.หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน สำหรับควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรค และ 6.หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน สำหรับควบคุมศัตรูแมลง

โดยผลิตภัณฑ์นาโนเหล่านี้ เมื่อนำไปพัฒนาและปรับใช้ในการปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญๆ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ผักและผลไม้ ยางพารา ข้าว อื่นๆ จะทำให้เกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มกำไรกำจัดโลหะหนักปนเปื้อน และที่สำคัญปรับปรุงสภาพดินที่เสื่อมโทรมให้เหมาะสมเกษตร สามารถเพาะปลูกในระยะยาวนาน  เพียงแต่เกษตรกรใส่ผลิตภัณฑ์หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ดนาโนร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน ในปริมาณน้อยกว่าปกติแต่มีประสิทธิภาพการต่อการเกษตรเพิ่มขึ้น   

“เกษตรกรและหน่วยงานที่สนใจผลิตภัณฑ์เหล่านี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ RMUTT Research Center Nano Microorganism for Agriculture โทร.089-767-8569” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกาญจน์กล่าว