33ปี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ สายธารพระมหากรุณาก่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา

สุขทั้งแผ่นดิน/เสกสรร  สิทธาคม

            ตลอดระยะเวลาเกือบ 70 ปีที่ผ่านมา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ประเทศไทยและราษฏรชาวไทยได้รับการพัฒนาให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ด้วยเพราะพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงทุ่มเทพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างมิทรงคำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อย  ด้วยทรงตั้งพระราชปณิธานที่จะทำนุบำรุงพัฒนาคุณภาพชีวิตยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ปวงชนชาวไทยอย่างถ้วนทั่ว

           สุขทั้งแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในทุกพื้นที่ของประเทศ ทำให้พระองค์พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ไว้ในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในการดำเนินชีวิตของประชาชนที่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะยากจนขาดแคลนด้านการประกอบอาชีพที่เกิดในพื้นที่นั้น ๆโดยพระราชทานแนวพระราชดำริการพัฒนาปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตคือแหล่งน้ำ พัฒนาอาชีพ พัฒนาเรื่องของที่ดินทำกิน และพัฒนาดินหซึ่งทุกโครงการล้วนมาจากการที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปในภูมิภาคต่างๆ ทอดพระเนตรปัญหาของประชาน แล้วทรงนำกลับมาคิดวิเคราะห์  ทรงศึกษา  ทดลอง  จนเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืนแล้วจึงพระราชทานเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในแต่ละด้าน

            โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการหนึ่ง ที่มีส่วนสำคัญในการศูนย์กลางต้นแบบแห่งความสำเร็จตามแนวพระราชดำริหลังจากที่ทรงศึกษา  ค้นคว้า  ทดลองและเกิดผลเป็นที่ประจักษ์ให้ราษฎรได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ลงมือปฏิบัติจริง แล้วนำไปประยุกต์พัฒนาตามความเหมาะสมในพื้นที่ของตนเองในแต่ละภูมิภาค  ฟื้นฟูความรู้ความชำนาญจนเป็นแหล่งงานแหล่งอาชีพแหล่งรายได้ของเกษตรกรและประชานในพื้นที่นั้นๆคือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมารจากพระราชดำริ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ศูนย์ ที่พระราชทานให้ตั้งกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ

สุขทั้งแผ่นดิน

            ทั้ง 6 ศูนย์ฯมีองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนในภูมิภาคนั้นๆ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ เป็น1ใน 6 ศูนย์ฯที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อวันที่ 11ธันวาคม  2525ให้พิจารณาจัดตั้งขึ้นบริเวณป่าขุนแม่กวง  อำเภอดอยสะเก็ด  ในพื้นที่โครงการประมาณ8,500 ไร่  โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา  ทดลอง  วิจัย เพื่อหารูปแบบการพัฒนาต่าง ๆ ในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำที่เหมาะสมและเผยแพร่ให้ราษฎรนำไปปฎิบัติต่อไป  

            จุดเริ่มต้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญคือการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร  โดยทรงให้ศูนย์ศึกษากาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯทำการศึกษาการพัฒนาป่าไม้พื้นที่ต้นน้ำลำธาร ให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลักต้นทางปลายทาง  ทรงให้ดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำซึ่งเป็นหัวใจของการเจริญงอกงามของสรรพชีวิต  แล้วทรงให้ศึกษาการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรอย่างแท้จริง ผสมกับการศึกษา ด้านการเกษตรกรรม  ด้านปศุสัตว์เช่นโคนมและด้านเกษตรอุตสาหกรรม  เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบ  ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษาฝึกฝนอาชีพต่างๆ ภายในศูนย์ฯ แล้วนำไปใช้ปฎิบัติอย่างได้ผลต่อไปในพื้นที่ตัวเอง  ดังมีพระราชดำริว่าให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ  ทำหน้าที่เสมือน "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต" หรืออีกนัยหนึ่งเป็น  "สรุปผลของการพัฒนา" ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และนำไปปฎิบัติได้จริง

           สุขทั้งแผ่นดิน เมื่อไม่นานมานี้ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี พร้อมด้วยหม่อมหลวงจิรพันธุ์ ทวีวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กปร. พร้อมคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ สำนักงาน กปร.เดินทางลงพื้นที่มาที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อดูผลสำเร็จ รวมถึงร่วมงานครบรอบ 33ปีของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ภายใต้ชื่อกิจกรรม "งานใต้ร่มพระบารมี 33ปี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้"

            จากเมื่อ 33 ปีก่อน สภาพดินที่เป็นดินหินกรวด มีหน้าดินตื้นไม่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ต่อการเกษตร กรรม   สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป   พื้นที่มีสภาพแห้งแล้ง ขาดความชุ่มชื้นเนื่องจากขาดแคลนน้ำ มักต้องเผชิญกับไฟไหม้ป่าในทุกๆปี  ปริมาณน้ำธรรมชาติในพื้นที่ต้นน้ำที่มีปริมาณน้อย ไม่เพียงพอที่จะพัฒนามาใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมในการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำได้อย่างเพียงพอ แต่ในวันนี้ พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ที่ได้ไปเห็นกับตา มีความเปลี่ยนแปลงไปมาก   แทบไม่เหลือภาพแต่ก่อนที่ถูกบอกเล่าว่าแห้งแล้งอยู่เลย

            ด้วยเพราะพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้อย่างแท้จริง

            วันนี้สภาพพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำที่เป็นอ่างเก็บน้ำทั้งหมด 7 อ่าง ประกอบด้วยอ่างใหญ่ 3 อ่าง ถูกสร้างมาเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ต่างๆ นอกจากนั้นใช้ในกิจกรรมการทดลองการ เลี้ยงปลาในอ่างเก็บน้ำ ตลอดจนศึกษาการจัดรูปบริหารแหล่งน้ำเพื่อการประมง โดยเฉพาะการจัดให้มีการบริหารจับปลาของชาวบ้านหมู่บ้านปางเรียงเรือ และยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนที่เข้ามาตกปลา รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 400ไร่ 

            สุขทั้งแผ่นดิน สภาพดินที่เคยเพาะปลูกไม่ได้ก็กลับมาทำการเกษตรใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพได้แล้ว พื้นที่กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ในการแก้ปัญหาดิน ปัญหาน้ำ ปัญหาป่าไม้ กลายเป็นแหล่งสร้างงาน สร้างอาชีพ  สร้างรายได้สมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ

            จากสสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปในวันนี้ของศูนย์ฯ ทำให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อราษฎรชาวไทย ศูนย์ศึกษาฯในวันนี้กลายเป็นที่ศึกษาดูงานของประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง มีองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ มีผลสำเร็จที่มากมาย

            หม่อมหลวงจิรพันธุ์ ทวีวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(เลขาธิการกปร.) กล่าวรายงานว่า กิจกรรมนี้ ทางสำนักงาน กปร. ร่วมกับทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯจัดกิจกรรมขึ้นในวาระครบรอบ 33ปี ของศูนย์ฯ ระหว่างวันที่ 14-20 ธ.ค.2558 ที่ผ่านมา รวม 7วัน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 88 พรรษา 5 ธันวาคม 2558 เป็นการเผยแพร่การดำเนินโครงการในพระราชดำริ ที่พระราชทานให้แก่ทางศูนย์ฯมาเป็นเวลา33 ปี ซึ่งครบรอบเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.2558 ที่ผ่านมา เพื่อเผยแพร่กิจกรรมการดำเนินงานของทางศูนย์ฯ ให้ประชาชนได้รับทราบ โดยมีนิทรรศการ เกี่ยวกับ ป่า น้ำ ดิน เพื่อให้ได้ซึมซับถึงความสำคัญในการนำไปสู่วิถีวิตที่ยั่งยืนด้านความสำเร็จจากการพัฒนาด้านต่างๆ ที่ขยายผลการดำเนินงานสู่ประชาชนให้นำไปปฏิบัติจนสำเร็จผลทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   

            สุขทั้งแผ่นดิน ด้านนายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี กล่าวว่า ส่วนตัวรู้สึกดีใจที่ได้มาเยี่ยมศูนย์นี้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการมาเยี่มมครั้งนี้เห็นถึงการเปลี่ยแปลงที่ดีขึ้นมาก แต่ทั้งนี้จุดมุ่งหมายหลักการดำเนินงานโครงการในพระราชดำริต่างๆ กว่า 4,596โครงการ ก็เพื่อต้องการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้พออยู่ พอกิน และสามารถพึ่งตนเอง

ให้ได้ โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นไปตามลำดับขั้น ซึ่งจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้มีการตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศรวม 6ศูนย์ ก็เพื่อให้เป็นสถานที่ ไว้สำหรับให้ประชาชนในพื้นที่ได้มาศึกษาตั้งแต่การเริ่มต้นประกอบอาชีพไปจนเห็นผล และนำไปพัฒนาต่อในพื้นที่ของตนเอง ทั้งนี้กว่า 3ทศวรรษ โดยหลังจากเกิดศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯต่างๆดำเนินการมา ก็ดำเนินงานพัฒนาต่างๆทั้ง การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อแสวงหาวิธีการที่เหมาะสม ให้สอดคล้องกับภูมิภาคสังคมในพื้นที่ต่างๆ ในแต่ละท้องถิ่น และขยายผลไปสู่ประชาชน

            “สำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ดำเนินงานมาตั้งแต่ 2525 จนขณะนี้ 33ปี มีการศึกษา พัฒนางานด้านต่างๆ อาทิ งานศึกษาสภาพป่าไม้ ต้นน้ำ ลำธาร ประมง เกษตรผสมผสาน เพื่อให้เป็นศูนย์ ที่เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งการจัดงานนี้ก็จะเป็นการเผยแพร่ พระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เป็นโครงการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนซึ่งทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”องคมนตรีสรุป

            สุขทั้งแผ่นดิน กิจกรรมครั้งนี้มีประชาชนไปเที่ยวชมมากทีเดียว นางสาวเยาวลักษณ์ เดชบุญ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 48พรรษา ในพื้นที่ตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน กล่าวว่า การมาศึกษาดูงานวันนี้ทำให้ได้รับทราบถึงรายละเอียดของโครงการในพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคิดโครงการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ต่างๆให้ประชาชน ซึ่งเมื่อรับทราบก็รู้สึกปลื้มปีติ ที่ได้เกิดมาเป็นราษฎรของพระองค์ ซึ่งทรงให้ความรู้ ความช่วยเหลือ ทุกด้านแก้ราษฎร อาทิ ด้านแนวคิด วิธีการต่างๆ เพื่อให้ประชาชนนำไปต่อยอด สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ทำให้ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคง   โดยการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระราชทานเป็นหลักดำเนินชีวิต   ในโรงเรียนเองหยังนำโครงการพระราชดำริ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯมาประยุกต์ใช้สอนนักเรียน อาทิ เรื่องการทำนา การทำเกษตรแบบผสมผสาน การเพาะพันธุ์ไม้ การเลี้ยงกบในบ่อ ปลา ปศุสัตว์

            สุขทั้งแผ่นดิน รู้สึกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานหนักมาก   และแม้ว่าบนพระพักตร์ของพระองค์จะมีเหงื่อ พระองค์ก็ยังไม่หยุดทรงงาน พระองค์ไม่เคยบ่น พระองค์ทรงตั้งใจทรงงานต่างๆ รู้สึกซาบซึ้งในสิ่งที่พระองค์ท่านทรงทำมาก เมื่อเห็นพระองค์ทรงงานหนักจะทำความดีถวายพระองค์ท่าน จะเป็นเด็กดี เดินตามแนวทางพออยู่พอกินที่พระองค์พระราชทานพระราชดำริไว้”นางสาวเยาวลักษณ์ กล่าว

            ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็น1ใน 6 ศูนย์ที่มีส่วนช่วยให้ความรู้ พัฒนาชีวิต ของประชาชนและชาวเกษตรกรทางภาคเหนือดีขึ้น สมดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงต้องการให้ราษฎรชาวไทยทุกคนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงเป็นที่ประจักษ์ตลอดเวลาที่ผ่านมาว่า เราทุกคนไทยทั้งประเทศเห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงทำเพื่อคนไทยมาโดยตลอดมิได้ทรงหยุดพักเลยเช่นกัน