15 ยุทธศาสตร์ยกคุณภาพปฐมวัย-ประถมศึกษาไทย สู่ศูนย์กลางอาเซียน

15 ยุทธศาสตร์ยกคุณภาพปฐมวัย-ประถมศึกษาไทย สู่ศูนย์กลางอาเซียนดร.ศักดิ์สิน โรจน์สราญรมย์ ประธานบริหารสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) เปิดเผยผลจากการจัดประชุมระดมความคิดผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจัดร่วมกับ ดร.สำเริง กุจิระพันธ์ นายกสมาคมผู้บริหารและครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 23-24 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อร่วมกันวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติ เฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดกรอบความคิดหลักในการยกระดับคุณภาพการศึกษาปฐมวัย ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพัฒนาเด็กปฐมวัยของอาเซียน และการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับประถมศึกษา ที่เน้นความเป็นผู้นำการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ขั้นสูงอย่างเป็นระบบ มีค่านิยม 12 ประการ มีคุณธรรม และทักษะการทำงานอย่างมีแบบแผนและหลักการ สอดคล้องกับคุณลักษณะของประชากรโลกในศตวรรษที่ 21 โดยใช้โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดเป็นฐานของการพัฒนาเชิงรุกดังกล่าวให้เห็นผลภายใน 2 ปี อีกทั้งเพื่อให้ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานชาติ กว่าร้อยละ 70 ขึ้นไปทุกโรงเรียน

ดร.ศักดิ์สินได้สรุปผลจากการจัดประชุมระดมความคิดดังกล่าวออกมาเป็น 15 ยุทธศาสตร์

โดย 8 ยุทธศาสตร์ เป็นของการศึกษาระดับปฐมวัย ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1.กำหนดให้โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดและโรงเรียนอนุบาลเขตพื้นที่เป็นต้นแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21, ยุทธศาสตร์ที่ 2.การพัฒนาเด็กปฐมวัยเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล ตามหลักการ Brain-based โดยมี earning (BBL) ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21

ยุทธศาสตร์ที่ 3.กำหนดให้มีการใช้พหุปัญญาเป็นแกนในการพัฒนาปัญญาทางสังคมและปัญญาด้านจิตวิญญาณ ตามมาตรฐานสากลและวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21, ยุทธศาสตร์ที่ 4.พัฒนาโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพ (Professional Learning Community) ด้วยเทคนิคกระบวนการ Knowledge Management (KM) ตามมาตรฐานสากลและวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21, ยุทธศาสตร์ที่ 5.เร่งรัดวิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง Backward Design โดยเน้นกิจกรรมปฏิบัติจริงเป็นเครื่องมือที่จะใช้จัดประสบการณ์เด็กปฐมวัยตามมาตรฐานสากลและวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21

15 ยุทธศาสตร์ยกคุณภาพปฐมวัย-ประถมศึกษาไทย สู่ศูนย์กลางอาเซียน

ยุทธศาสตร์ที่ 6.ประยุกต์ใช้กระบวนการ Brain-based Learning(BBL), Problem-based Learning, Project-based Learning บูรณาการกับวิถีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของสังคมเทคโนโลยีผ่านการคิดวิเคราะห์ ปฏิบัติ เสริมสร้างพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา สร้างความรู้จากการเล่น เพลง เกม นิทาน สถานการณ์ บทบาทสมมุติและงานของเด็กปฐมวัย ตามมาตรฐานสากลและวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21, ยุทธศาสตร์ที่ 7.เน้นการใช้สื่อและกิจกรรมเน้นการสัมผัสของจริง ของจำลอง การเคลื่อนไหว เป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาเพียงอย่างเดียว หรือการเรียนรู้จากสื่อประเภทสัญลักษณ์ (Verbal-nonverbal) ตามมาตรฐานสากลและวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21

และ ยุทธศาสตร์ที่ 8.พัฒนาการเป็นเลิศโดยใช้กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิด การแก้ปัญหาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ในการค้นพบตนเองเรียนรู้ผู้อื่น จากสถานการณ์ต่างๆ รอบตัว ตามมาตรฐานสากลและวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21

ส่วนยุทธศาสตร์ระดับประถมศึกษา มีอยู่ด้วยกัน 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1.โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดและอนุบาลประจำเขตพื้นที่ เป็นต้นแบบการพัฒนาการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ตามหลักสูตรอิงมาตรฐานที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21

15 ยุทธศาสตร์ยกคุณภาพปฐมวัย-ประถมศึกษาไทย สู่ศูนย์กลางอาเซียน

ยุทธศาสตร์ที่ 2.เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child-centered) ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สัมพันธ์กับการเรียนรู้ของสมอง (Brain-based Learning : BBL) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียน ตามหลักการพหุปัญญา (Multiple Intelligences), ยุทธศาสตร์ที่ 3.เน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามแนวทางการออกแบบ การเรียนรู้ Backward Design , GPAS 5 STEPs  และการประเมินตามสภาพจริงด้วยมิติคุณภาพโดยใช้เกณฑ์ Rubrics เพื่อให้เป็นยุทธศาสตร์ประจำห้องเรียน และวัฒนธรรมการสร้างความรู้ของโรงเรียน (Knowledge Management : KM) และโรงเรียนเป็นชุมชนการเรียนรู้ระดับมืออาชีพ (Professional Learning Community)

ยุทธศาสตร์ที่ 4.เน้นการใช้แผนการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบตามแนว Backward Design, GPAS 5 STEPs และเกณฑ์การประเมินด้วย Rubrics ที่มีความสัมพันธ์กับมาตรฐานตัวชี้วัดกำหนด สามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ O-NET ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เน้นการสอนที่แนะนำเนื้อหาเพียงอย่างเดียว, ยุทธศาสตร์ที่ 5.พัฒนาครูต้นแบบ หรือครูแกนนำที่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้แบบสร้างความรู้เพื่อพัฒนาพหุปัญญา (Multiple Intelligences : MI) สู่การสร้างทักษะปัญญาทางสังคมและปัญญาด้านจิตวิญญาณ หรือจิตปัญญาโดยบูรณาการด้วยกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ขั้นสูงเชิงระบบ  GPAS 5 STEPs บนหลักการพัฒนาที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้ของสมอง (Brain-based Learning : BBL), ยุทธศาสตร์ที่ 6.เน้นการพัฒนาปัญญาขั้นสูงด้านค่านิยมหลัก 12 ประการ ผ่านกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 STEPs ที่ออกแบบตามแนว Backward Design เพื่อให้ผู้เรียนเกิดศักยภาพที่สอดคล้องกับบุคลิกของความเป็นพลโลกในศตวรรษที่ 21

และสุดท้าย ยุทธศาสตร์ที่ 7.เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักศักยภาพของตนเอง และนำความคิดรวบยอดแบบแผนหลักการที่เกิดจากการพัฒนาตามหลักสูตรอิงมาตรฐานเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง นำไปประยุกต์ใช้เพื่อการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา การทำงาน อาชีพที่ตนสนใจและประยุกต์ใช้พัฒนาอาชีพของครอบครัว และแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตจริง