เศรษฐกิจพอเพียงฯในมุมมองนักบริหารต่างชาติ


สุขทั้งแผ่นดิน/เสกสรร สิทธาคม


เศรษฐกิจพอเพียงฯในมุมมองนักบริหารต่างชาติขณะที่เข้าอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรุ่นที่4 หรือตัวย่อว่านบร.4 โดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงานกปร.)ที่วางแนวคิดและความมุ่งหวังเพื่อให้ผู้เข้าอบรมที่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้บริหารหน่วยงานภาคราชการอยู่ในระดับภูมิภาคที่มีภารกิจคลุกคลีอยู่กับชาวบ้านในการที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขับเคลื่อนสู่ภาคปฏิบัติของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการดำเนินอาชีพที่ต้องผู้โยงอยู่กับปัจจัยสำคัญคือ “น้ำ” “ดิน” “พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์” ให้ชาวบ้านได้มีโอกาสประกอบอาชีพอย่างมีหลักการไม่ใช่ตามมีตามเกิด  หรือตั้งหัวใจอยู่ที่ความโลภเพราะเดือดร้อน  จึงอยากจะกำจัดความเดือดร้อนให้หมดไปอย่างรวดเร็วดังแต่ก่อน  เมื่อใจโลภจึงเกิดความประมาท  ประมาทแล้วก็ล้มเหลวอีก  แทนที่จะกำจัดทุกข์กลับกลายเป็นเพิ่มทุกข์สะสมไปเรื่อยๆ

นี่คือความมุ่งหวังที่สำนักงานกปร.ต้องการให้ผู้เข้าอบรมนำเอาแนวพระราชดำริ หลักการทรงงานและพระราชหฤทัยห่วงใยไปขยายผลสู่พี่น้องประชาชน ผ่านตัวเองและครอบครัวที่จะต้องเป็นตัวอย่างต้นแบบทำให้ชาวบ้านเห็นไปพร้อมๆกันด้วย

ผมผ่านการดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทราไปอย่างรวบรัดรวดเร็ว บอกย้ำเพียงว่าผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมต้นแบบโดยทุกภาคส่วนน้อมนำแนวพระราชดำริและหลักการทรงงานไปปฏิบัติรอให้ประชาชนที่สนใจไปศึกษาดูงาน เรียนรู้สัมผัสแล้วนำเอาองค์ความรู้ไปปรับใช้ในพื้นที่ตัวเอง อยู่อย่างมั่นคงถาวร ไปเมื่อไหร่ ช่วงไหนก็ได้ศึกษา เรียนรู้และสัมผัสได้ แล้วยังพาไปดูครอบครัวเกษตรกรเลี้ยงกบให้เห็นผลกันจะจะว่าเดินตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวทางทำมาหากินไว้ เจริญรุ่งเรืองในอาชีพแค่ไหนเพียงใด ทำแบบไม่โลภ ด้วยสำนึกความพอเพียง วันนี้รวยเพราะอาชีพเลี้ยงกับ ได้รับการขนานนามว่า “กบเงินล้าน”

เศรษฐกิจพอเพียงฯในมุมมองนักบริหารต่างชาติ

กลับเข้ามาที่ห้องเรียนกันอีก  ก็สัมผัสมุมมองเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของวิทยากรที่ต้องดำเนินชีวิตเกี่ยวโยงกับทั้งสังคมไทยและสังคมต่างประเทศ อยากจะบอกด้วยว่าเกี่ยวโยงระดับสังคมโลกเอาทีเดียว เก็บงำความรู้กับคำบรรยายผ่านหัวเรื่อง“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก และการขับเคลื่อนในภาคเอกชนและประชาชน”โดย ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ถ่ายทอดกัน

เศรษฐกิจพอเพียงฯในมุมมองนักบริหารต่างชาติดร.พิพัฒน์ ท่านเป็นนักบริหารในแวดวงธุรกิจโครงการองค์กรใหญ่  มีโอกาสได้สัมผัสกับบุคคลสำคัญระดับโลกของหลายประเทศที่ได้ศึกษาจนมีมุมมองเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ โดยท่านเองได้สัมภาษณ์มารวมไว้เป็นหนังสือเล่มหนึ่ง “เศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก” ผมขออนุญาตท่านด้วยวาจาขอนำมาถ่ายทอดสู่ประชาชนคนไทยโดยเฉพาะแฟนของสยามรัฐ แต่ก่อนจะไปถึงตรงนั้นขอสรุปแนวคิดของดร.พิพัฒน์ที่นำมาถ่ายทอดนบร.4 ในวันนั้นครับ

สรุปจากที่ดร.พิพัฒน์บรรยายได้ว่า เศรษฐกิจคือเรื่องปากท้อง ปากท้องต้องอยู่รอดก่อนจึงจะทำงานได้แล้วการยึดหลักดำเนินชีวิตแบบความพอเพียง ฯ แสดงว่ายังมีเหลือ เหลือแล้วทำอะไร เอาไปทำอย่างอื่น เช่น แจก ขายเพื่อนำไปสู่รากฐานการพึ่งตนเองได้

“เศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจก็ต้องพึ่งตนเองและมีภูมิคุ้มกัน เป็นหนี้ในระดับที่จ่ายได้ ต้องรวมกลุ่ม เช่น สหกรณ์ แล้วสร้างเครือข่าย Cluster เป็นกลุ่มก้อน ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ”

ดร.พิพัฒน์บรรยายอีกว่าปัญหาของการขยายหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ อยู่ที่เงื่อนไขคุณภาพ

การกำหนดกรอบความพอ การกำหนดกรอบของความโลภความโลภเป็นนามธรรม กำหนดกรอบได้ยาก

โดยแนะให้ผู้นำภาครัฐกำหนดกรอบความโลภ ตนเองพอแล้วก็แบ่งปันให้ผู้อื่นได้บ้างทำให้ขจัดการเบียดเบียนและพัฒนาจิตสำนึกเสียสละแบ่งปัน

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะให้พัฒนาจิตใจและปัญญา ตามหลักคุณธรรม เป็นการพัฒนาภายใน หลังจากพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว จะต้องพัฒนาจิตใจอันเป็นการพัฒนาที่ยากที่สุด ถ้าเราเอากำลังของเราพัฒนาเศรษฐกิจพอแล้ว กำลังที่เหลือจะต้องใช้พัฒนาจิตใจและปัญญา ซึ่งทางตะวันตกยังคิดไม่ถึง” ดร.พิพัฒน์เน้นตรงนี้

อย่างที่เกริ่นข้างต้นว่า เนื้อหาที่เป็นภาคความรู้และปฏิบัติที่ดร.พิพัฒน์นำมาถ่ายทอดสรุปย่อๆให้พอมองเห็นภาพ แต่ที่เป็นหัวใจคือชาวต่างชาติที่ตระหนักถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่ดร.พิพัฒน์ได้สัมผัสแล้วนำมาบอกเล่ากัน อันถือว่าเขาให้ความสนใจและให้ความสำคัญหลักการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำรินี้ที่คนไทยน่าจะได้รับรู้และตระหนักถึง

.ดร.วูล์ฟกัง ซัคส์

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับทุกประเทศ”

เศรษฐกิจพอเพียงฯในมุมมองนักบริหารต่างชาติคำจำกัดความของนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมคนสำคัญจากประเทศเยอรมันนีคนนี้ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญประจำสถาบันวุพเพิลทอล เพื่อสภาวะอากาศสิ่งแวดล้อม และพลังงาน นับเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของยุโรป ศ.ดร.ซัคส์ มีผลงานวิจัยและเป็นนักคิดนักเขียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่นำเสนอเกี่บวกับพลังงานทางเลือกเพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่สิ้นเปลือง

ดร.พิพัฒน์ยกข้อมูลของศ.ดร.ซัคส์ มาถ่ายทอดไว้

“หลักการความพอเพียง ไม่ทิ้งเทคโนโลยี แต่เลือกใช้พลังงานที่เหมาะสม เหมาะสมกับตนเอง" ด้วยการยกตัวอย่างแนวปฏิบัติการใช้พลังงานอย่างเป็นรูปธรรมโดยอาจเริ่มต้นจากการลดใช้พลังงานจากธรรมชาติประเภทน้ำมัน เพราะที่ผ่านมามนุษย์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลืองและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโลก

เมื่อลดการใช้น้ำมันและหันมาพึ่งพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ชีวมวล พลังงานน้ำ ก็จะกทำให้มีทางออกให้กับวิกฤติพลังงาน ซึ่งแต่ละคนอาจเลือกใช้ที่เหมาะกับการดำเนินชีวิตของตนเอง เพื่อเฉลี่ยการใช้พลังงานที่แตกต่างไม่พึ่งเฉพาะน้ำมันปิโตรเลียมจากธรรมชาติที่มีวันหมดลงในอนาคต

ทุกวันนี้ หลายสิ่งหลายอย่างที่ผลิตขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าสร้างขึ้นจากพลังงานน้ำมัน เพราะการคิดระยะสั้น คิดง่ายๆ ทำให้คนขาดการวิเคราะห์ คิดจะสร้างสิ่งใด จากที่ไหนก็ได้ ตัวอย่างเช่น การสร้างบ้าน หรือสร้างอาคาร เลือกใช้วัสดุคุณภาพจากต่างประเทสใช้ปูนซีเมนต์เหลว ซึ่งแท้จริงแล้ว เบื้องหลังสินค้าคุณภาพเหล่านี้ล้วนเกิดจากการที่โรงงานอุตสาหกรรมใช้พลังงานน้ำมัน ต่างจากอดีตที่การสร้างอาคารต้องกำหนดทิศทางลมเข้าออกหมุนเวียนภายในอาคาร เพราะไม่มีเครื่องปรับอากาศ ต้องวิเคราะห์ลักษณะภูมิอากาศ ดูทิศทางของแสงอาทิตย์ เรียกได้ว่าดูเรื่องของ “ความเหมาะสม” นั้นเอง

ยกตัวอย่างของสถาปัตย์พลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่ต้องใช้พลังงานน้ำมัน แต่เป็นการใช้พลังงานจากธรรมชาติทั้งแสงอาทิตย์และสายลม ภายในอาคารมีต้นไม้ที่ช่วยสร้างบรรยากาศ เป็นสถาปัตย์ที่ปรับตัวตามสภาพอากาศระหว่างเขตอากาศร้อนและเขตอากาศเย็น

ศ.ดร.ซัคส์ ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมาก และมองว่าน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับทุกประเทสในเวลานี้ อีกทั้งยังเป็นแนวคิดในการผลักดันเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่รู้จักในเยอรมนี เพราะเศรษฐกิจพอเพียงกับความยั่งยืน(Sustainability) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้คนในยุโรปมีความคุ้นชินอยู่แล้วนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน

"เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ไทยกับการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงไม่ได้บอกให้ทิ้งเทคโนโลยี แต่ให้เลือกที่เหมาะสมและเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะกับงาน อย่าตกอยู่ในกับดักของความสะดวกสบายจนเกินไป เพราะหากเป็นเช่นนั้น มนุษย์ก็จะต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย”