คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จะทำอย่างไร...เมื่อวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพของคนเก่ง

เป็นเวลายาวนานอย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 30  ปี  ที่วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพของคนไม่เก่งที่ไปเรียนอะไรไม่ได้แล้วก็มาเรียนครู แต่ปัจจุบันโดยเฉพาะในช่วง 2-3  ปีที่ผ่านมาปรากฎการณ์นี้ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง คะแนนสอบเข้าของผู้ที่สมัครเข้าเรียนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยหลักๆ ของรัฐสูงกว่าคะแนนของคณะวิชาหลักๆ ในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ในขณะเดียวกันผู้เข้าศึกษาก็เลือกคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เป็นลำดับ 1  ชัดเจน โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยราชภัฏเกือบทุกแห่ง 

ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า คนที่เรียนวิชาชีพครูกำลังจะเปลี่ยนไป (ทั้งนี้ผู้เขียนจะขอไม่ถกเถียงในประเด็นว่า เก่งคืออะไร ขอนิยามตามความเข้าใจของสังคมเป็นหลักก่อน คือ คนเก่งคือคนที่เรียนได้คะแนนดี เป็นหลัก)

คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จะทำอย่างไร...เมื่อวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพของคนเก่ง

เมื่อปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้น ถามว่าสังคม สมาคมวิชาชีพและคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ได้คิดอะไร  และได้คิดว่าจะทำอย่างไรบ้างหรือยัง ที่จะทำให้คนเก่งเหล่านี้เขาเก่งมากขึ้น เก่งให้เต็มตามศักยภาพเพื่อเขาเหล่านั้นจะได้จบออกมาเป็นคนที่ทำประโยชน์ให้กับสังคมได้อย่างเต็มที่ ไม่ถูกบั่นทอนความเก่งให้ลดลงในสถาบันเสียก่อน จนจบออกมาเป็นคนไม่เก่งไปเสียแล้ว

ผู้เขียนไม่อยู่ในฐานะที่จะพูดถึงสังคมและวงวิชาชีพได้ดีนัก แต่ประสบการณ์ในวงครุศึกษามีพอสมควร จึงอยากจะขอเสนอข้อคิดเห็นในประเด็นนี้เป็นหลัก

คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จะทำอย่างไร...เมื่อวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพของคนเก่ง

ผู้เขียนคิดว่าคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ควรต้องคิดและทำอย่างน้อย 7 ประการสำคัญคือ

คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จะทำอย่างไร...เมื่อวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพของคนเก่ง1.อย่าให้คนไม่ได้เรื่องเข้ามาเป็นครูอีก เพื่อให้ได้คนที่เก่งจริงคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จะต้องดำเนินการคัดเลือกคนเข้าเรียนครูอย่างเข้มข้นและจริงจังโดยการสอบร่วม 70% และสอบตรง 30% ที่สอบร่วม 70% ก็เพื่อให้ได้คนเก่งจากทั่วประเทศอย่างเต็มที่ และให้โอกาสช้างเผือกในท้องถิ่นอีก 30% การคัดเลือกทั้ง 2 ระบบจะต้องให้มีคุณภาพสูงในทุกขั้นตอนทั้งการออกข้อสอบ คุมสอบ  ตรวจข้อสอบ (ถ้ามีการคัดเลือกโดยวิธีอื่นก็ต้องให้มีคุณภาพสูงเช่นกัน)

ในกรณีนี้สถาบันครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แต่ละแห่งจะรับจำนวนมากนักไม่ได้ และรัฐเองต้องให้เงินสนับสนุนมากพอด้วย และเป็นหน้าที่ของเราที่จะสร้างคนเก่งและคนดีไปพร้อมกัน

2.พัฒนาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ให้เป็นสถาบันชั้น 1 ให้ได้ การเปลี่ยนแปลงคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ที่มีอยู่เดิมให้เป็นสถาบันชั้น 1 เป็นเรื่องจำเป็น  แน่นอนที่สุดผู้สอนในสถาบันครุศึกษาต้องเป็นคนชั้น 1 ก่อน คนเก่งจึงจะสอนคนเก่งได้ดี การคัดเลือกคนเข้าเป็นอาจารย์ในคณะครุศาสตร์ต้องจบอย่างน้อยปริญญาเอก (แม้คนจบปริญญาเอกจะประกันความเก่งไม่ได้แน่นอนแต่เป็นหลักประกันเบื้องต้น) แล้วจึงจัดเงื่อนไขบังคับให้อาจารย์เหล่านี้สร้างผลงานตามมา

การดำเนินในข้อนี้นั้นรัฐบาลต้องตระหนัก ต้องรับรู้ และต้องสนับสนุนอย่างจริงจัง  ไม่เช่นนั้นรัฐบาลนั้นก็จะสร้างได้แต่คนชั้นรองในสังคมอยู่ร่ำไป

3.คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ต้องเลิกชั้นเรียนแบบบรรยายทั้งหมด การบรรยายมีประโยชน์แต่ไม่ใช่กับวิชาชีพการสอนหรือวิชาชีพครู เพราะการบรรยายไม่ได้สอนให้ผู้เรียนคิด วางแผน ลงมือทำ แต่การคิดและลงมือทำเกิดจากการเรียนด้วยการปฏิบัติจริง คิดจริง วางแผนจริง ฝึกจริง เรียนรู้จริง และประเมินผลจากที่ทำจริง  ไม่ใช่ประเมินผลจากการพูด

ผู้สอนหลายท่านอาจจะแย้งว่าบรรยายยังมีประโยชน์อยู่ก็จริง แต่มีประโยชน์กับอาจารย์มากกว่าผู้เรียนเพราแม้ผู้สอนจะบรรยายเก่งแค่ไหนเด็กส่วนใหญ่ก็ยังคงจด ท่อง และจำเหมือนเดิม

4.คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ต้องจัดทุกชั้นเรียนไม่เกิน 30 คน ถ้าอยากให้ผู้เรียนเป็นอย่างไร ครูต้องเป็นอย่างนั้น การสอนให้ผู้เรียนเข้มแข็ง จริงจัง มีพลังอำนาจต้องให้ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาและเรียนรู้ด้วยตนเอง ถ้าเราต้องการสอนให้เด็กคิด  เราต้องจัดบรรยากาศให้เขาได้คิด ถ้าเราต้องการสอนให้เขาพัฒนางาน ต้องให้เขาลงมือสร้างงานเอง กระบวนการอย่างนี้ต้องเกิดจากการที่ครูได้เคยอยู่ในบรรยากาศอย่างนั้นมาก่อน การจัดการเรียนการสอนในสถาบันครูจึงต้องจัดระบบใหม่หมด ด้วยการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นตัวอย่างให้ครูที่จะจบไปอยู่ได้อยู่ในบรรยากาศเหมือนโรงเรียนจริงเลย การจัดชั้นเรียนเล็กจำเป็นอย่างยิ่ง

หลายท่านอาจจะค้านความคิดนี้ว่าชั้นเรียนใหญ่ก็สร้างได้แต่จะสร้างให้มีประสิทธิภาพเท่าชั้นเรียนเล็กไม่ได้แน่นอน

5.กำหนดมาตรฐานของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ให้สูงไว้ เท่าที่ผ่านมาคณะครุศาสตร์ รวมทั้งวิชาชีพครูถูกมองว่า ทำอะไรแต่พอผ่าน พอใช้ได้ (บางคนเอาพอผ่านไปใช้กับพอเพียงซึ่งต่างกันมาก) มาตรฐานของสถาบันที่วางไว้เป็นเพียงขั้นพื้นฐาน เราต้องวางมาตรฐานของสถาบันให้สูงไว้ เด็กจะจบแต่ละวิชาต้องแน่ใจว่าได้ความรู้ตรงตามวิชานั้นๆ จะได้ปริญญาจากเราต้องแน่ใจว่ามีคุณภาพจริง

คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จะทำอย่างไร...เมื่อวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพของคนเก่ง

เพราะวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพที่จริงจัง เป็นวิชาชีพในเชิงอุดมคติ เป็นเรื่องที่สำคัญ  ยิ่งใหญ่  และนำไปสู่สิ่งที่สูงส่งของสังคมและประเทศชาติ

6.ส่งเสริมให้ผู้เรียนเติบโตเต็มตามศักยภาพ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ต้องตั้งใจว่าจะพัฒนาคนเก่งที่มาเรียนกับเราให้เขาเก่งและเก่งขึ้นเรื่อยๆ ให้เขาเก่งให้เต็มตามศักยภาพ ทั้งกิจกรรมในชั้นเรียนที่ต้องท้าทายและกิจกรรมนอกชั้นเรียนที่หลากหลายและท้าทายเช่นกัน กิจกรรมเสริมความเป็นครูจึงมีความสำคัญอย่างมาก การวิจัย การพัฒนางานวิชาการ การส่งเสริมให้พัฒนางานจนตกผลึก ฯลฯ  เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาครูอย่างมาก

คำว่าสอนง่าย เรียนง่าย จบง่าย ควรจะไม่ได้ยินอีกต่อไปในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในอนาคต

าสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์

บทความโดย ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์

รักษาการคณบดีวิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

7.ฟื้นวิญญาณของครูผู้เสียสละกลับมาให้ได้ วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพคุณธรรม เป็นวิชาชีพเสียสละ ทำงานเพื่อคนอื่น เมื่อเรามีคนเก่งมาเป็นครู คนเก่งมักเห็นแก่ตัว  ความเห็นแก่ตัวไม่ใช่ธรรมชาติของวิชาชีพครู เราต้องสอนให้นักศึกษาครูของเรารู้จักสังคมและปัญหาของสังคมอย่างลึกซึ้ง และรอบด้าน สอนและมีกิจกรรมให้เขาเสียสละต่อสังคม ทำเพื่อสังคมให้มากขึ้น ให้เขาเห็นว่าความเสียสละไม่ใช่ว่าเสียเปรียบ แต่ความเสียสละ ความภาคภูมิใจและความเป็นเกียรติยศของมนุษย์โดยตรง

วิญญาณของครู ความเสียสละของครู ความรับผิดชอบต่อสังคมของครูต้องได้รับการฟื้นคืนกลับมาเช่นเดียวกับครูไทยในอดีต

หวังว่าข้อคิด 7 ประการของผู้เขียน คงจะเป็นแรงกระตุ้นชาวครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ให้ทำอะไรได้บ้างตามสมควร