สแกนรับนักเรียน'64 บทสะท้อน "สพฐ.ชนะ" ปลอดโควิด-19 ?

 

สแกน "สพฐ." รับนักเรียนปีการศึกษา 2564

การ์ด 'ตก-ไม่ตก' ? มาตรการป้องกัน ศบค.

บทสะท้อนถึง "สพฐ.ชนะ" ปลอดโควิด-19 

 

คอลัมน์คิดนอกกรอบ :edunewssiam (วันที่ 21 พฤษภาคม 2564)

ตุลย์ ณ ราชดำเนิน tulacom@gmail.com

 

ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่ทั่วประเทศ มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กระทรวงศึกษาธิการประกาศเลื่อนเปิดภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2564 อีกรอบ จากวันที่ มิถุนายน 2564 ขยับออกไปเป็นวันที่ 14 มิถุนายน 2564 

ขณะที่การสอบคัดเลือกนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั่วประเทศ เพื่อเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในวันที่ 22 พ.ค.2564 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วันที่ 23 พ.ค.2564 ยังคงต้องเดินหน้าต่อไป  โดยได้รับความเห็นชอบจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)  

 

เท่าที่ได้ติดตามมาตรการแนวทางปฏิบัติในการรับนักเรียนปีการศึกษา 2564 ไม่ว่าจะเป็นการจับสลากหรือการสอบคัดเลือก สพฐ.ได้มีการประกาศย้ำหนักแน่นถึงการรักษาความปลอดภัย โดยยึดปฏิบัติตามมาตรการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และกระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด 

แต่กระนั้นกลุ่มสื่อมวลชนออนไลน์ได้ส่งสัญญาณสะท้อนถึงความวิตกกังวลของบรรดาผู้ปกครองที่ต้องการกระตุ้นเตือน สพฐ.การ์ดอย่าตกในมาตรการป้องกันช่วงปฏิบัติตลอดปฏิทินการรับนักเรียน ทั้งจับสลาก สอบคัดเลือก รายงานตัวและมอบตัว

เนื่องจากทุกคนต่างตื่นกลัวเรื่องความเสี่ยงของการแพร่เชื้อโควิด-19 ไม่มั่นใจในมาตรการต่างๆ ที่มีอยู่ แม้จะรัดกุมแล้วก็ตาม เกรงจะเกิด Cluster โควิด-19 ในโรงเรียน เหมือนในเรือนจำของกรมราชฑัณฑ์ 

ผู้ปกครองหลายคนเป็นห่วงการสอบคัดเลือก ม.1 , ม.4 ช่วงวันที่ 22-23 พ.ค. ถึงกับขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขออย่าให้เกิดคลัสเตอร์โควิด-19 ในโรงเรียนเลย 

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) และทีมบริหารระดับสูงใน สพฐ. ได้เชิญผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการทุกสำนัก ประชุมทางไกลผ่านระบบ Video Conference ถ่ายทอดสดจากห้องปฏิบัติการ DOC อาคาร สพฐ. ชั้น ศธ.

เพื่อซักซ้อมความเข้าใจมาตรการแนวทางปฏิบัติในการจัดสอบคัดเลือกนักเรียน ม.และ ม.อีกครั้ง หลังจากมอบหมายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ผู้ปฏิบัติเกี่ยวข้องไปก่อนหน้านี้แล้ว

เท่ากับว่า ยังเห็นถึงความกังวลใจเล็ก ๆในสิ่งที่อาจยังมีความคลาดเคลื่อนในการสื่อสารเพื่อนำสู่การปฏิบัติระหว่างการรับนักเรียนไปจนจบรายงานตัวและมอบตัว  

 

แต่พื้นฐานโดยรวมมาตรการป้องกันที่ออกมา พอที่จะให้ความมั่นใจได้ว่าเป็นมาตรการที่วางใจได้ในระดับดีพอควร ดูได้จากการจับสลากเข้าเรียนชั้น ป.1 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา สพฐ.ให้ผู้ปกครองเพียงคนเดียวเป็นผู้มาจับสลาก ไม่ต้องพานักเรียนมาจับสลากด้วย เพื่อลดความหนาแน่นและการรวมกลุ่มกัน โดยในพื้นที่โดยรอบได้ขอความร่วมมือผู้ปกครองให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1.5 เมตร ไม่ให้มีการรวมกลุ่มกันของผู้ปกครอง ทั้งพื้นที่ภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียน ถือหลักการหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน

รวมทั้งให้โรงเรียนจัดสถานที่สำหรับผู้ปกครองเข้าจับสลากเป็นชุดๆ ให้นั่งเว้นระยะห่าง 1.5 เมตร เพื่อรอเรียกเข้าจับสลากชุดละ 20 คน ใช้ระยะเวลาช่วงละ 30 นาที และเมื่อดำเนินการจับสลากเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ปกครองเดินทางกลับทันที 

แต่อาจต้องมีมาตรการเสริมให้สถานศึกษานั้น ๆได้มีการติดตามผลกันต่อไปว่า มีผู้ปกครองท่านใดบ้างที่มาร่วมกิจกรรม ล้วนปลอดภัย ไม่มีใครนำเชื้อโควิด-19 กลับไปบ้าน 

 

ส่วนมาตรการป้องกันวันสอบคัดเลือกนักเรียนทั้ง ม.1 และ ม.ในวันที่ 22-23 พ.ค. สพฐ.ได้ย้ำยึดหลักความปลอดภัยสูงสุดของเด็ก ครู และผู้ปกครองเป็นที่ตั้ง โดยให้โรงเรียนที่จัดสอบฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อภายในอาคารและนอกอาคารให้พร้อม ในพื้นที่ปฏิบัติงานทุกคนที่เข้ามาบริเวณต้องผ่านการคัดกรองตามมาตรการที่ ศบค.กำหนด เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมจํากัดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

ในการจัดสอบทุกรายวิชาต้องแล้วเสร็จภายในครึ่งวัน (เวลา 09.00-12.00 น.) เท่านั้น ห้องสอบแต่ละห้องต้องมีนักเรียนไม่เกิน 20 คน และให้นั่งเว้นระยะห่าง 1.5 เมตร 

อีกทั้งมีการขอความร่วมมือผู้ปกครองที่มาส่งและรับบุตรหลานให้มาเพียงคนเดียว กรณีโรงเรียนพื้นที่คับแคบไม่อนุญาตให้พักคอย หากโรงเรียนใดมีพื้นที่ที่สามารถจัดที่พักคอยได้ ก็ต้องผ่านการคัดกรองและพักคอย ณ จุดที่โรงเรียนกำหนด โดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1.5 เมตร

และในช่วงเวลาก่อนเข้าห้องสอบและช่วงเวลาที่สอบเสร็จสิ้นแล้ว ไม่ให้มีการรวมตัวหรือรวมกลุ่มกันของผู้ปกครองและนักเรียน ทั้งภายในโรงเรียนและภายนอกโรงเรียน โดยอนุญาตให้นักเรียนที่ทำข้อสอบเสร็จก่อนเวลากลับบ้านก่อนได้   

 

มาตรการเหล่านี้ล้วนได้รับการตอบรับจากผู้เกี่ยวข้องว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้องทั้งสิ้น แต่กระนั้นยังมีผู้ตั้งข้อสังเกตถึงกรณีเด็กที่มีไข้/มีอาการไม่สบาย ในกรณีนี้สถานศึกษานั้น ๆจะจัดห้องสอบแยกให้ ซึ่งมีคำถามตามมามากพอสมควรว่า จะเสี่ยงเกินไปหรือไม่...???

หรือต้องรีบแยกส่งทำการกักตัว 14 วัน ซึ่งกรณีเช่นนี้ทางเขตพื้นที่การศึกษาได้มีการประสานสาธารณสุขมาช่วยเฝ้าดูแลพร้อมส่งต่อหรือไม่

ตลอดจนถึงขั้นตอนหลังจากนี้ สพฐ.จะมีการดำเนินการอย่างไรเพื่อไม่ให้เด็กๆ กลุ่มเหล่านี้ต้องหลุดไปจากโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีความชัดเจนให้นักเรียน ผู้ปกครองได้รับทราบต่อไปด้วย 

นอกจากนี้ ยังคงต้องมีมาตรสำคัญหลังผ่านพ้นวันรายงานตัวเข้าเรียน เขตพื้นที่การศึกษาควรมีการตั้งศูนย์เก็บตกเด็กที่พลาดหรือตกหล่นจากการสมัคร จับสลาก หรือเข้าสอบคัดเลือก อันเนื่องจากการไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์จาก สพฐ. ที่มีการเลื่อนปรับเปลี่ยนปฏิทินรับนักเรียนปีการศึกษา 2564 มาหลายช่วงเวลา

ประกอบกับมีปัญหาอุปสรรคหลากหลายอย่างที่นักเรียนและผู้ปกครองอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จนทำให้พลาดโอกาสไม่ทันดำเนินการได้ตามปฏิทินการรับนักเรียนที่กำหนด 

ตลอดจนถึงการเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 หรืออาจตกเป็นกลุ่มเสี่ยงจนต้องถูกกักตัว 14 วัน ทำให้พลาดไม่อาจสมัคร หรือมาร่วมจับสลาก หรือเข้าสอบคัดเลือก แม้ว่าจะได้สมัครไว้ตามปฏิทินการรับนักเรียนของ สพฐ.แล้วก็ตาม

ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2564 ดร.อัมพร เลขาธิการ กพฐ.ได้กล่าวให้สัมภาษณ์ในโอกาสนำคณะไปตรวจติดตามการจัดสอบคัดเลือกนักเรียนชั้น ม.4 ที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพฯ โดยยอมรับว่า มีเด็กขาดสอบทั่วประเทศจำนวนมาก ทั้งสอบคัดเลือกชั้น ม.1 และ ม.4 ในช่วงวันที่ 22-23 พฤษภาคมนี้ 

แต่ ดร.อัมพรไม่ทันพูดต่อว่า แล้วจะช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับเด็กเหล่านี้อย่างไร? หากเป็นกลุ่มเด็กที่มีเหตุสุดวิสัยเดินทางไปสอบไม่ได้ เพราะป่วยด้วยโรคโควิด-19 หรืออยู่ระหว่างถูกกักตัวในฐานะตกเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคโควิด-19

ที่สำคัญอีกประการหลังจากนี้ สถานศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆ ควรต้องมีการสำรวจติดตามผลกันต่อไปด้วยว่า นักเรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มาร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดช่วงการรับนักเรียนจนแล้วเสร็จ ล้วนปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19

ซึ่งสมควรได้รับคำชื่นชมยกย่อง "สพฐ.ชนะ" 

 

(โปรดกดถูกใจเพจด้านล่าง เพื่อติดตามข่าวสารบนเว็บไซต์ edunewssiam.com)