'ราชภัฏยะลา'ฉีดวัคซีนโควิดเข็มแรกแล้ว 'ราชภัฏเชียงใหม่'ลุยพัฒนาท้องถิ่น

ส่องราชภัฏ

มรย.จัดการเรียนการสอนแบบ On-site อย่างปลอดภัย

ครู ร.ร.สาธิตราชภัฏยะลาฉีดวัคซีน 'แอสตร้าเซนเนก้าเข็มแรก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วยผู้บริหาร เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 จากแอสตร้าเซนเนก้าเข็มแรก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัย สู่วิถี Normal life เพื่อควบคุมป้องกันโรค สกัดกั้นการแพร่ระบาด รวมถึงบุคลากรสามารถปฏิบัติงานและจัดการเรียนการสอน On-site ได้อย่างปลอดภัย

"ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากร นักศึกษา และผู้ใช้บริการภายในมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลามีเป้าหมายสูงสุดคือ บุคลากรและนักศึกษาทุกคนใช้วิถีชีวิตปกติ Normallife" อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มูหัมมัดตอลาล แกมะ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และบุคลากร จำนวน 40 คน เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซนเนก้า เข็มแรกเ พื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง ทั้งนี้ เพื่อลดการแพร่เชื้อโควิด-19

ตลอดจนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อเพิ่มในอนาคต โดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาให้กำลังใจแก่บุคลากรในครั้งนี้ ณ อาคารศรีนิบง ศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กำหนดเปิดภาคเรียนในวันที่ กรกฎาคม 2564 ทั้งนี้ ต้องติดตามประกาศจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และป้องกันการแพร่กระจายโรคโควิด

 

ม.ราชภัฏเชียงใหม่ จับมือพัฒนาชุมชนจังหวัด

พานักศึกษาลงภาคสนามเจอของจริง

นายเจริญ สีวาโย พัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ทั้งด้านความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษา ค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาทางด้านการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากรในชุมชน และผู้ประกอบการท้องถิ่นได้มีความรู้ทางด้านวิชาการ พัฒนาช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการชุมชนท้องถิ่นทั้งทฤษฎี และภาคปฏิบัติ

อีกทั้งส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามความเหมาะสม ตลอดทั้งจัดกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกันในลักษณะที่หลากหลาย อาทิ การใช้ทรัพยากรร่วม การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการจัดการธุรกิจของชุมชนให้มีศักยภาพมากขึ้น ซึ่งต้องใช้การบูรณาการองค์ความรู้ของอาจารย์ นักศึกษา บุคลากร ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไป

 

(โปรดกดถูกใจเพจด้านล่าง เพื่อติดตามข่าวสารบนเว็บไซต์ edunewssiam.com)