เสวนากับบรรณาธิการ กรรมการกลั่นกรองฯ สอบวินัยอธิการบดี ม.กีฬาแห่งชาติ "ยุติเรื่อง" สุ่มเสี่ยงผิด ม.157 หรือไม่ ?

 

เสวนากับบรรณาธิการ 

กรรมการกลั่นกรองฯ สอบวินัยอธิการบดี ม.กีฬาแห่งชาติ "ยุติเรื่องสุ่มเสี่ยงผิด ม.157 หรือไม่  

จากกรณีที่มีผู้ร้องเรียนต่อ พิพัฒน์ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ให้ตั้งคณะกรรมการสอบเอาผิดทางวินัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ (มกช.) ระบุมาจากความบกพร่องจากการทำงานหลายกรณี จึงขอให้สภามหาวิทยาลัย พิจารณาลงโทษวินัยร้ายแรง

แม้เรื่องนี้ อาจไม่เกี่ยวกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็ตาม แต่โดยนัยแห่งสาระในเชิงบริหารและพฤติกรรมองค์กร สามารถสื่อถึงความเป็นหน่อเนื้อที่มาจากรากเดียวกันอย่างมิต้องสงสัย ทำไมการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษา ส่วนใหญ่จำนวนหนึ่ง มีปัญหา     

 

เห็นได้จากกรณี ม.การกีฬาแห่งชาติ เมื่อรายงานผลการสอบสวนถึงมือ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อพิจารณานำเข้าสู่การประชุมในสภามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ โดยเป็นวาระที่เสนอเพื่อพิจารณามาจากคณะกรรมการกลั่นกรองก่อนเข้าสภามหาวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา 

ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองนั้น ได้สรุปว่า จากการพิจารณาข้อมูล รายละเอียดทุกอย่างแล้วนั้น ไม่พบเหตุผลใด ๆ ที่จะทำให้เห็นว่า อธิการบดี มกช. มีความผิดตามที่ผู้ร้องได้ร้องผ่านกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาตั้งคณะทำงานสอบสวน จนมีมติดังกล่าวออกมาเสนอให้สภามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติได้พิจารณา

 โดยสรุป คือ คณะกรรมการกลั่นกรองจึงเสนอให้สภามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ "ยุติเรื่อง" ดังกล่าว

 รายงานแจ้งด้วยว่า สุดท้ายสภามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ได้พิจารณาเห็นด้วยตามการเสนอของคณะกรรมการกลั่นกรอง ซึ่งหมายถึงการไม่พิจารณาเรื่องนี้ต่อ ทำให้จบกระบวนการการพิจารณาโทษ อธิการบดี มกช. คือ ไม่มีความผิด ตามที่มีผู้ร้องมาแต่อย่างใด

 

 

ซึ่งความจริงแล้วในมุมมองเชิงบริหารจัดการเพื่อคลายปม เรื่องดังกล่าวควรจะได้ยุติ และ อธิการบดี.มกช ตลอดผู้บริหาร ต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยการทำหน้าที่ มีผลงานการพัฒนาการกีฬาของชาติ เท่าเทียมกับนานาประเทศที่เจริญแล้วอย่างเป็นรูปธรรมแท้จริง

เนื่องจาก หลังที่มี พ.ร.บ.จัดตั้งมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2562 อย่างเป็นทางการ จวบจนบัดนี้ มีแต่สภาพปรากฎการณ์ปัญหามากกว่าการพัฒนาและยกระดับการกีฬาของชาติภายใต้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ตาม พ.ร.บ. มาตรา 8 ที่กำหนดไว้ว่า...

 

 

“...ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงด้านการกีฬามีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพ ทำการสอน วิจัยและพัฒนา บริการทางวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้านการกีฬา การพลศึกษา การสร้างเสริมสุขภาพ วิทยาศาสตร์การกีฬา การบริหารจัดการกีฬา การประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรมกีฬา และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นแหล่งสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการกีฬาของประเทศ”

 

 

แต่ในกรณี คณะกรรมการกลั่นกรองจึงเสนอให้สภามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ "ยุติเรื่อง" ดังกล่าว 

มีความเห็นและตั้งข้อสังเกตจาก ผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในฐานะเป็นที่เป็น 1 ในสมาชิกสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งอดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัยภาครัฐแห่งหนึ่ง ต่อกรณีข่าวดังกล่าวใน 3 ประเด็น ที่น่าสนใจดังนี้

ประเด็นที่ 1. กรรมการกลั่นกรองฯ มีอำนาจหน้าที่ใด และที่สำคัญการชี้ผิดชี้ถูกเป็นบทบาทหน้าที่ ที่แท้จริงหรือไม่ ดังนั้นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ถ้าพิสูจน์ได้ว่าสร้างความเสียหายให้กับราชการ ก็อาจจะเข้าก่ายความผิดตามมาตรา 157 ได้

ประเด็นที่ 2. การพิจารณาลงโทษ วินัยข้าราขการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ที่คณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงเสนอต่อสภาฯ โดยเฉพาะบุคคลในระดับผู้บริหารที่สภามหาวิทยาลัย ให้ความเห็นชอบแต่งตั้งโดยความเห็นขอบของอธิการบดี เป็นบทบาทหน้าที่ของสภา ที่จะพิจารณาว่าจะดำเนินการพิจารณาโทษสถานใด (พิจารณาโดยอาศัยระเบียบปฏิบัติภายใต้พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการครู) ชึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของสภา

แต่ถ้าสภาฯใด มีผู้มีส่วนได้เสียและไร้หลักธรรมาภิบาลเข้ามาเกี่ยวข้อง คงจะอาศัยพวกมากลากไปภายใต้มติสภาฯ ถ้ามติใดไม่สอดคล้องกับระเบียบ กฎหมาย ผู้ปฏิบัติพึงสังวรณ์ว่า เหมาะสมและถูกต้องหรือไม่ และหากเกิดกรณีดังกล่าวตามที่ถูกร้องเรียนจริง เป็นห่วงสังคมกล่าวหาว่าเป็น “สภาเกาหลัง” อาจจะมีการร้องไปยังศาลปกครองได้

ประเด็นที่ 3. การพิจารณาลงโทษข้าราชการถ้ามีปัญหา ในระดับใด กระทรวงหรือต้นสังกัดสามารถส่งเรื่องให้ อกพ.กระทรวงพิจารณาได้เช่นกัน ในกรณี ถ้าหาก มกช.เป็นหน่วนงานสังกัดกระทรวงอว. ปัญหานี่น่าจะจบโดย สกอ.ภายใต้คณะกรรมการอุดมศึกษาแก้ปัญหาเรียบร้อยไปนานแล้ว

หากพิจารณากันด้วยความเป็นธรรมต่อมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ เป็นสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้รับการผลักดันมาจากรัฐบาลในยุค คสช. อยู่ใต้ร่มของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า ปัญหาทั้งมวลที่ปรากฏเป็นข่าวผ่านสาธารณะชนแวดวงกีฬา อาทิ

...การสรรหาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งอธิการบดี ที่กว่าจะได้กลายเป็นเรื่องยาวด้วยการทักท้วง ฟ้องร้อง ตามมาด้วยการกล่าวหาถึงผลประโยชน์ทับซ้อน โยงเรื่องของธรรมาภิบาลในรั้วมหาวิทยาลัย ล้วนมาจากกลุ่มหรือบุคคลเพียงไม่กี่คน เท่านั้น

จึงนับเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่ สภาสถาบันการศึกษา หรือ คณะกรรมการบอร์ดทั้งหลายในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ควรจะได้ศึกษาไว้เพื่อเป็นอุทาหรณ์ เตือนใจป้องกัน ไม่ให้เกิดปรากฎการในทำนองนี้อีก

 

(โปรดกดถูกใจเพจ Edunewssiam ด้านล่างขวา เพื่อรับข่าวสารอัพเดตในฟีดข่าว)