ม.มหิดล เปิดห้องเรียนออนไลน์ ฝึก"ทักษะพิชิตการรังแก" ตัดวงจรการกลั่นแกล้ง

 

.มหิดล เปิดห้องเรียนออนไลน์ ฝึก"ทักษะพิชิตการรังแก" ตัดวงจรการกลั่นแกล้ง

 

ใน"โลกของความเป็นมนุษย์ไม่เพียงแต่ร่างกายที่แข็งแรงจะต้องมีจิตใจที่แข็งแรง ซึ่งมาจากสติปัญญา และทักษะการเรียนรู้ผ่าน "โรงเรียนชีวิต"

 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ นางสาวอรัญญา จิตติถาวร นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรจิตวิทยาเด็กวัยรุ่นและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สอนหลักรายวิชา ได้ริเริ่มการอบรม "ทักษะชีวิตพิชิตการรังแก" ทาง MUx ซึ่งเปรียบเหมือน "โรงเรียนชีวิตออนไลน์" ฝึกทักษะการจัดการชีวิต ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการรังแก (bully)

ซึ่งผู้ที่ขาดทักษะการจัดการชีวิต และตกเป็นเหยื่อการรังแกไม่ได้มีเพียง "ผู้ที่ถูกรังแก" แต่ยังรวมถึง "ผู้รังแก" ที่นอกจากสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นแล้ว ตัวเขาเองอาจเคยเป็นผู้ที่ถูกรังแกมาก่อน หรือมีปัญหาที่ต้องการความช่วยเหลือ

 

 

การรังแกนั้นเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย ทั้งใน "โลกจริง" และ"โลกไซเบอร์" ซึ่งมีผลต่อจิตใจได้ไม่ต่างไปจากโลกจริง โดย"วัยประถม" มักพบบ่อยกว่าวัยรุ่นหรือมีการเปลี่ยนรูปแบบไปในแต่ละช่วงวัย

"วงจรของการกลั่นแกล้งรังแก" เกิดขึ้นอย่างไม่มีวันสิ้นสุดส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ผู้ใหญ่มองว่าเป็นแค่การหยอกล้อเล่นกันตามประสาเด็ก "ผู้ถูกรังแกและ "ผู้รังแกจึงไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ซึ่งในการกลั่นแกล้งรังแกไม่ได้พบเพียงผลกระทบที่เกิดต่อ "ผู้ถูกรังแกเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงสาเหตุสำคัญของการเป็น "ผู้รังแกย้อนกลับไปได้อีกด้วย

มีจำนวนไม่น้อยของ "ผู้รังแกที่พบปัญหาทางสุขภาพจิตโดยในเด็กอาจเกิดจากปัญหาสมาธิสั้น การเรียนรู้บกพร่องภาวะซึมเศร้าจากการถูกทารุณกรรมภายในครอบครัว หรือเคยมีประสบการณ์ถูกรังแกมาก่อน ฯลฯ

  

 

หลักสูตรปริญญาโทจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น มหาวิทยาลัยมหิดล เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเป็นหลักสูตรที่สร้าง "นักจิตวิทยา" มาคอยช่วยเหลือ "จิตแพทย์" เพื่อสร้างเสริม "เกราะป้องกัน" ให้เด็กและวัยรุ่นไทยได้เติบโตขึ้นโดยมีสุขภาพจิตที่ดี และเป็นความหวังของสังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต

 

 

นางสาวอรัญญา จิตติถาวร นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรจิตวิทยาเด็กวัยรุ่นและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล่าถึงประสบการณ์จากการลงพื้นที่ฝึก "ทักษะชีวิตพิชิตการรังแกให้กับนักเรียนในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาแห่งหนึ่งโดยให้เด็กๆ ได้ทดลองสมมุติบทบาท (role play) เล่นเป็นสัตว์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ "ผู้ล่า" เช่น "เสือ" ที่กำหนดเป็นตัวแทนของ "ผู้รังแก" และสัตว์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ "เหยื่อ" เช่น "กระต่าย" ที่กำหนดเป็นตัวแทนของ "ผู้ถูกรังแก" เพื่อให้เด็กๆ ได้เห็นภาพและคิดตาม

ซึ่งการให้เด็กๆ ได้เล่นเป็นสัตว์ที่มีบทบาทแตกต่างกันเหมือนจากที่เด็กเคยได้ฟังและอ่านจากในนิทาน นอกจากจะได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนานแล้ว ยังได้สอดแทรก"ทักษะการจัดการชีวิตฝึกให้เด็กรู้จักคิด "เห็นอกเห็นใจ" ผู้อื่น จากการที่ให้เด็กได้ลองสลับบทบาทกัน แล้วแลกเปลี่ยนความรู้สึกจากการได้เล่นเป็น "ผู้รังแกและ "ผู้ถูกรังแก"

ในรายวิชาออนไลน์ "ทักษะชีวิตพิชิตการรังแกผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทักษะการจัดการชีวิตของ "ผู้รังแกและ "ผู้ถูกรังแกอย่างรอบด้าน รวมถึง "ผู้พบเห็นการรังแกจะได้ทราบแนวทางช่วยเหลือและยับยั้งการรังแก โดยสามารถทบทวนหรือเรียนซ้ำได้ทุกที่ทุกเวลา เป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเด็กเอง ผู้ปกครอง และครูผู้ช่วยเหลือดูแล

ซึ่งการกลั่นแกล้งรังแก แม้ในปัจจุบันจะยังคงพบเห็นได้โดยทั่วไป แต่ด้วยองค์ความรู้ "ทักษะชีวิตพิชิตการรังแกอันเป็น"ปัญญาของแผ่นดินที่มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมมอบให้เพื่อการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดผ่าน "โรงเรียนชีวิตออนไลน์แห่งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลหวังเป็นอย่างยิ่ง ที่จะให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ใช้เป็น "เครื่องมือที่จะช่วยตัด "วงจรแห่งการกลั่นแกล้งรังแกสู่สังคมที่ดีและยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต

ผู้สนใจเรียนรู้ "ทักษะชีวิตพิชิตการรังแกทุกเพศและวัยสามารถลงทะเบียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมรับ E-certificate จากมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อผ่านการวัดผลตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ที่ https://mux.mahidol.ac.th 

 

(โปรดกดถูกใจเพจ Edunewssiam ด้านล่างขวา เพื่อรับข่าวสารอัพเดตในฟีดข่าว)