เสกสรรเล่าเรื่อง... สัมมนาเชิงปฏิบัติการการสื่อสารพัฒนาภาพลักษณ์สถาบันการอาชีวศึกษา

 

เมื่อวันที่ 12-13 กันยายน 2565  ที่ผ่านมา สถาบันการอาชีวศึกษา ในสังกัด สอศ. ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กลยุทธการสื่อสารเพื่อพัฒนาภาพลักษณ์สถาบันการอาชีวศึกษา  ภายใต้โครงการพัฒนายกระดับการสร้างค่านิยมและภาพลักษณ์อาชีวศึกษา ที่จังหวัดนครนายก 

ผู้เข้าร่วมหลัก คือ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษา รองผู้อำนวยการและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้ง  23 แห่ง  โดยทางผู้จัดได้เชิญคณะวิทยากร นำโดย อ.วิชเทพ ฦาชาฤทธิ์ บรรณาธิการสำนักข่าวการศึกษาออนไลน์Edunewssiam อดีตคอลัมนิสต์ ประจำ นสพ.สยามรัฐ นสพ.เดลิมิลเล่อร์ นสพ.เดลินิวส์ นสพ.ข่าวสด นสพ.คมชัดลึก มาให้หลักคิด ช่องทางในการเผยแพร่ภาพลักษณ์ของแต่ละสถาบัน

         

       

ทั้งนี้ เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้รับมอบหมายจาก ดร.สุเทพ  แก่งสันเที๊ยะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้ไปเป็นประธานเปิดการประชุม และ ได้บรรยายให้ข้อคิด หลักปฏิบัติ การเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรมของสถาบันการอาชีวศึกษา ที่ต้องพึ่งพาอาศัยสรรพสื่อ โดยอาศัยกำลังของทุกคนที่จะช่วยดูแลบ้านเราครอบครัวเรา ด้วยหลักคิด หลักปฏิบัติ สยบเรื่องร้ายขยายเรื่องดีดี

          รองเลขาฯเรืออากาศโท สมพร  ปานดำ บรรยายในฐานะที่มีโอกาสคลุกคลีมากับงานสื่อสารมวลชน การประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่รับราชการมาอย่างต่อเนื่องว่ามีความสำคัญในการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร และได้ชี้เรื่องกลยุทธการสื่อสารเพื่อพัฒนาภาพลักษณ์อาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษา โดยย้อนอดีตให้เห็นถึงหลักเป็นผู้ปฏิบัติตั้งแต่ผู้ส่งสาร  ผู้ผลิตตัวสารที่ต้องส่ง ไปถึงช่องทางและสื่อเพื่อถึงผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย ต้องผ่านจุดเด่นจุดสนใจที่ต้องสร้างขึ้น ที่เน้นลักษณะทางกายภาพและบุลิกภาพผ่านการพัฒนาจนกลายเป็นอัตลักษณ์ขององค์กร อันเกิดจากการอบรมบ่มเพาะครูอาจารย์ถ่ายเทสู่นักเรียนนักศึกษา 

เรืออากาศโท สมพร ปานดำ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 

การจัดการศึกษาอาชีวศึกษาตั้งแต่ระดับปวช.ไปจนถึงปริญญา อันเป็นภาพลักษณ์ที่ดีงาม คือ การบ่มเพาะเป็นคนดีตั้งแต่ความเป็นจิตอาสา ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน การบ่มเพาะเป็นคนเก่ง คือ ลงมือทำกับสายวิชาชีพที่เรียนจริงๆ พร้อมทั้งให้ไปสัมผัสประสบการณ์แก้ปัญหากับวิชาชีพที่เรียนของจริงนอกห้อง ตั้งแต่เรียนระดับปวช.ต่อยอดเชี่ยวชาญ ชำนาญพิเศษคือปริญญา

          รองเลขาธิการการอาชีวศึกษาชี้ให้เห็นว่าภาพลักษณ์ดีงาม เป็นสาระเป็นความภาคภูมิใจของสังคมดังที่ยกมาเป็นตัวอย่างนั้น ที่ต้องทำความเข้าใจคือต้องมีกลยุทธในการที่จะสื่อสารเผยแพร่ผ่านสรรพสื่อ ด้วยกำลังของทุกคนที่จะช่วยกันดูแลบ้านเรา ครอบครัวเรา

         

       เรืออากาศโทสมพร ปานดำ รองเลขาธิการการอาชีวศึกษา บรรยายเนื้อหาสาระที่ละเอียดลึกซึ้ง เข้าใจง่าย และทุกถ้อยกระทงความ การแสดงออกทางภาษากายของรองเลขาธิการ ฯ เต็มไปด้วยพลังแห่งความจริงใจ ชวนฟังตลอดเวลา กว่าชั่วโมง  เพียงแต่ผมเองที่สรุปเล่าแบบกระท่อนกระแท่นสั้น ๆ  นำมาบอกให้พอเห็นแนวทางการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษาการอาชีวศึกษาออกสู่สรรพสื่ออย่างกว้างขวางต่อเนื่องที่ผ่านมาของท่านเท่านั้นเอง ชัดเจนกระตุ้นผู้เข้าร่วมสัมมนาฟังแล้วลงมือทำ นำสู่การปฏิบัติเองได้เลย แล้วก็เชื่อเหลือเกินว่า หลักคิดหลักปฏิบัติของท่านรองเลขาธิการการอาชีวศึกษา  คงช่วยกระตุ้นให้ท่านผู้บริหารและบุคลากรของสถาบันอาชีวศึกษาทั้ง 23 แห่งที่เข้าร่วมสัมมนา เกิดการฮึกเหิมในหัวใจ อยากลงมือทำนำเรื่องราวดีงามที่สรรสร้างมาต่อเนื่องในองค์กรของท่านออกสื่อทันที  จากที่สงบนิ่งเงียบเหงาเศร้าสร้อยดั่งหลับใหลมานาน

 

 

เห็นจะตั้งแต่ก่อตั้งสถาบันการอาชีวศึกษามานั่นทีเดียว ภาพลักษณ์ที่ดีงามทั้งความเป็นจิตอาสา ช่วยเหลือเกื้อกูลสังคม อันเกิดจากการบ่มเพาะจิตใจ บ่มเพาะฝีมือปฏิบัติในวิชาอาชีพจนเก่ง นำไปช่วยเหลือคนอื่นได้ กระทั่งสร้างเป็นนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยเกื้อกูลอาชีพของคนท้องถิ่นได้ และพร้อมนำไปเกื้อกูลอุตสาหกรรมสถานประกอบการได้อย่างมั่นใจ  โดยเฉพาะการสร้างหลักฐานเป็นงานวิจัยพร้อมนำไปต่อยอดสร้างนวัตกรรม มาจนถึงภาพลักษณ์ตัวสถาบันการอาชีวศึกษา  แทบจะยังไม่ได้ถูกถ่ายทอดประชาสัมพันธ์ผ่านสรรพสื่อสู่สังคมเลย  หรือถ่ายทอดออกไปบ้างก็กระท่อนกระแท่น เพราะมองไม่ออกถึงช่องทางการสื่อสารและการสร้างรูปแบบการสื่อสารนั่นกระมัง

          คณะวิทยากรโดย อ.วิชเทพ ฦาชาฤทธิ์ นำขยายภาพช่องทางการสื่อสาร เน้นย้ำให้เห็นช่องทางสว่างไสวสอดรับที่ท่านรองเลขาฯเรืออากาศโท สมพรบรรยาย ก็เชื่ออีกนั่นแหละว่าท่านผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาและบุคลากรที่เข้าร่วม คงได้เห็นทางสว่างไหวในฐานะผู้ส่งสารพอสมควร เพื่อ ผลิตหรือสร้างสารขึ้นมาแล้วผ่านช่องทางการสื่อสารตามที่ท่านรองเลขาฯ และวิทยากรชี้ทางให้ ไปจนสารถึงผู้รับสารตามกลุ่มเป้าหมายโดยลำดับอย่างกว้างขวางราบรื่นแน่นอน

         

       

โดยเฉพาะวิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนดิจิทัล (น้องใหม่) ฐิติพร  ทิพย์โยธา กองบรรณาธิการเว็บสสส.เปิดแสงสว่างวิธีทำคอนเทนส์ ด้วยเทคโนโลยีที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และวิธีสร้างแพล็ตฟอร์มสื่อออนไลน์อย่างง่ายดาย กระบวนการสร้างและนำเสนอสอดรับกับที่ท่านรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาบรรยายในช่วงเช้า อย่างลงตัว คงได้กระตุ้นต่อมฮึกเหิมอยากลงมือทำของหลายๆคนที่เชี่ยวชาญด้านนี้ทีเดียว ดูช่างง่ายดายซะจริงๆ

          รวบลัดกันพอให้เห็นภาพการปลุกเร้าให้เกิดการขับเคลื่อนการประชาสัมพันธ์สื่อสารเผยแพร่ภาพลักษณ์สถาบันการอาชีวศึกษาด้วยการมารวมกันผ่านการจัดสัมมนาคราวนี้

          ที่ผ่านไปไม่ได้ ต้องชื่นชม ท่านผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาที่อยู่ร่วมเป็นกำลังใจบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้มาร่วมประชุมสัมมนาตั้งแต่ต้นจนจบ 2 วัน ไม่ได้ไปไหนเลย นั่งบันทึก นั่งฟังด้วยใจจรดจ่อจนจบงาน และขออนุญาตเอ่ยชื่อท่านหน่อย นายจตุรันต์ วัฒนประทีป รองผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคกลาง 5 และว่าที่ร้อยตรี ณรงค์  เกษตรภิบาล รองผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก ทั้งสองท่านนำคณะบุคลากรที่มาร่วมสัมมนาจากหลากหลายสถาบันการอาชีวศึกษาทั้ง 23 แห่ง แบ่งกลุ่ม ระบายบอกเล่าสรุปถึงจุดเด่น จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค แล้วก็ต้องชื่นชมบุคลากรของแต่สถาบันการอาชีวศึกษาจากที่ 23 แห่งที่ร่วมการประชุมสัมมนาอย่างต่อเนื่องด้วยความสนใจ ทั้ง 2 วัน  

  ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์  เกษตรภิบาล รองผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก

รวมความว่า มีจุดอับของการเผยแพร่ภาพลักษณ์ ทั้งช่องทาง ทั้งวิธีการประชาสัมพันธ์องค์กรนั่นเอง จึงทำให้ในแต่ละช่วงปีแทบไม่มีข่าวคราวของสถาบันการอาชีวศึกษาสู่สังคมภายนอกอย่างกว้างขวางเลย คล้ายคลึงกันทุกแห่ง

          ทั้งๆที่มีจุดเด่นจุดแข็งของสถาบันการอาชีวศึกษามีมากมายมหาศาล แต่คงมองไม่ออก จึงไม่ได้มีการนำไปแพร่หลายทางสื่อเท่าที่ควร หรืออาจจะยังเป็นสถาบันอุดมศึกษาน้องใหม่ที่ต้องอาศัยเวลาสะสมผลงานและกลยุทธ์ในการส่งสารออกไปสู่สังคม และสื่อต่างๆนำไปเผยแพร่หลากหลาย จนประชาชนทั่วไปได้รู้จักพูดถึง ที่เป็นข่าวเผยแพร่อย่างกว้างขวางส่วนใหญ่ก็เห็นภาพและเรื่องราวการสื่อสารออกไปเป็นภาคส่วนของวิทยาลัยระดับอาชีวะที่สอนระดับปวช.ปวส.มากกว่า

 

นายจตุรันต์ วัฒนประทีป รองผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคกลาง 5

สรุปความว่าอุปสรรคที่เป็นปัญหาขับเคลื่อนไม่ได้ ซึ่งแต่ละกลุ่มมีตรงกันและคล้ายกัน  สิ่งแรกเลย คือ งบประมาณที่จะมาดำเนินการทำประชาสัมพันธ์ บางสถาบัน บุคลากรหน้าที่หลัก คือสอน ยังไม่มีความรู้ด้านเทคนิค ไม่มีบุคลากรชำนาญการประชาสัมพันธ์ ขาดแคลนเครื่องมือ เนื้อหาที่จะนำไปเผยแพร่หลายต่อหลายคนคิดเองมองเองว่าไม่น่าสนใจที่จะนำเผยแพร่ สารต้นทางไม่ได้นำเผยแพร่สังคมเลยขาดการรับรู้ เหินห่าง ไม่เข้าถึง ก็เห็นจะเพราะยังเป็นองค์กรใหม่ ผมเองก็มองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาของหน่วยงานใหม่ทางการศึกษาทั้งหลาย จึงมองว่าไม่ใช่เป็นเรื่องแปลก สำคัญแต่ว่า จะตั้งใจมีความสนใจที่จะฝึกฝนเรียนรู้หรือไม่เท่านั้น

         

        แต่ก็ดูเหมือนว่า หลังการสัมมนาแล้วตั้งแต่ท่านรองสถาบันฯทั้งสองท่าน ไปจนหลายคนที่อยู่ประชุมกันตั้งแต่ต้นจนจบ สังเกตว่าได้เกิดพลังใจ ปลูกใจให้ฮึกเหิม ยืนยันในทำนองว่าเกิดพลัง จะไปสร้างพลังต่อ คือจะกลับไปขยับขับเคลื่อนงานประชาสัมพันธ์ให้จงได้ เพราะได้เห็นช่องทางสื่อสาร ทั้งจากท่านรองสมพรและวิทยากร ว่าไม่น่ายากเย็นนัก สำหรับการลงมือทำ เบื้องต้นยังไม่ต้องใช้ทุนใช้งบประมาณ ใช้หัวใจให้เวลาก็น่าจะพอขยับกันได้  มุ่งสร้างสรรค์การสื่อสารให้องค์กร มุ่งประโยชน์ที่เกิดแก่นักศึกษา แก่พ่อแม่ผู้ปกครองแก่สังคมแม้แต่สถานประกอบการด้วยเช่นกัน

          ทั้งหลายทั้งปวง ล้วนเป็นการร่วมกันพัฒนาสร้างสรรค์การศึกษาสายอาชีพ สายอาชีวะปฏิบัติให้เจริญรุ่งเรื่องได้ทั้งสิ้น โดยภาพความดีงามนำทางนวัตกรรมเทคโนโลยี สู่สังคม เป็นที่พึ่งชาวบ้านชุมชนคนรากหญ้าที่ยากไร้ เป็นที่พึ่งของคนไทยที่เดือดร้อนเฉพาะหน้าจากภัยธรรมชาติ จากการเดินทางในแต่ละช่วงเทศกาลสำคัญ เป็นอาชีวะฝีมือชนคนสร้างชาติที่สังคมชื่นชมเป็นฐานเดิม จนเป็นที่ประจักษ์แจ้งอยู่เสมอในทุกเทศกาล และเนื่องในวาระพิเศษต่าง ๆ ต้องมีอาชีวะจิตอาสา

         

        ท้ายสุดนี้ต้องบอกกันว่าโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสื่อสารพัฒนาภาพลักษณ์สถาบันการอาชีวศึกษาไม่เกิดขึ้นแน่นอนถ้าไม่มีศูนย์ประชาสัมพันธ์สอศ.ที่เอาใจใส่ให้ความสำคัญต่อการนำภาพลักษณ์ดีงามของสถาบันการอาชีวศึกษาเผยแพร่สู่สังคม โดยโครงการสัมมนาเพื่อกระตุ้นให้เกิดขับเคลื่อน ซึ่งได้รับการอนุมัติโดยท่านดร.สุเทพ  แก่งสันเที๊ยะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รวมถึงงานจะราบรื่นลุล่วงอย่างดีไปไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้รับความเอื้อเฟื้อ ดำเนินการดูแลเตรียมความพร้อมเป็นคณะทำงานในพื้นที่ จั ดแจงดูแลเรียบร้อยตั้งแต่ต้นจนจบ คือวิทยาลัยเทคนิคนครนายก นำโดย ดร.สุกัญญา  สุขสถาน ผู้อำนวยการวิทยาลัย ที่จัดบุคลากรของวิทยาลัยมาดูแล โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย

 

          หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการนี้จะเกิดผลเป็นรูปธรรมได้ในเวลาไม่ช้าไม่นานนี้ และมีโอกาสได้ร่วมศึกษาเรียนรู้พัฒนาจากผู้ชำนาญก้าวถึงชำนาญการพิเศษกันต่อไป การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น เรียนรู้ตลอดชีวิต เพิ่มช่องทางความสัมพันธ์การเผยแพร่งานของสถาบันการอาชีวศึกษาต่อสังคมอย่างกว้างขวางต่อไป

         

เสกสรร สิทธาคม

Seksan2493@yahoo.com