คณบดีพาณิชยฯ มธ. ส่งสัญญาณเตือนระบบการศึกษาไทยถดถอย คุณภาพเด็กต่ำกว่าเกณฑ์

คณบดีพาณิชยฯ มธ. ส่งสัญญาณเตือนระบบการศึกษาไทยถดถอย คุณภาพเด็กต่ำกว่าเกณฑ์

ศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้แสดงทัศนะความเสื่อมถดถอยของระบบการศึกษาไทย ผ่านโชเชี่ยลติ๊กต็อก ความยาวประมาณ 5 นาทึ ในข้อสงสัยว่า ทำไมจำนวนรับนักศึกษาที่รับเข้าเรียนในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ. ปีการศึกษา 2565 ไม่สามารถรับเต็มตามโควตาที่ตั้งไว้  

จากประเด็นดังกล่าว คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มธ. อธิบายและยอมรับว่า จำนวนนักศึกษาที่รับเข้าในปีนี้  เป็นครั้งแรกเลยที่เราไม่สามารถรับเต็มตามโควตาได้

และมันก็เป็นคำถามที่เกิดตามมาว่า แล้วทำไมคะแนนของเด็กในปีนี้ถึงต่ำมาก ซึ่งมันสะท้อนกลับไปที่ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น คือ...

ทำไมคะแนนในภาพรวมระดับของประเทศเองโดยเฉพาะยิ่งในส่วนของเลขนั้น ตกต่ำขนาดนี้

ความท้าทายอย่างแรกเลย คือ งบประมาณมหาลัยรัฐก็ไม่ได้รับงบจากรัฐบาลที่เพียงพอต่อการให้กับบริการแก่นักศึกษา ก็หมายความว่า มหาวิทยาลัยรัฐบาล ก็ต้องหาเงินเพื่อมาเลี้ยงตัวเองมากยิ่งขึ้น

ตรงนี้ต้องบอกเลยว่า เป็นจุดหนึ่งที่สร้างความท้าทาย เพราะโดยปกติแล้ว มหาวิทยาลัยไม่ได้มีหน้าที่ในการทำธุรกิจ และกรอบกฎระเบียบแบบเดิมก็ไม่เอื้ออำนวยให้มหาวิทยาลัยนั้น สามารถลงทุนได้ในการจัดตั้งบริษัทหรือแม้กระทั่งเป็นส่วนร่วมเป็นผู้ถือหุ้นในสตาร์ทอัพใหม่ ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น

แล้วเทรนด์การเรียนของเด็กยุคนี้ เลือกไปที่ไหน มหาวิทยาลัยรัฐหรือเอกชน

คำตอบ คือ ในประเทศไทยเอง เด็กกลุ่มหนึ่งก็จะเลือกที่จะไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่ปริญญาตรีเลย แต่หลังจากนั้นแน่นอนอยู่แล้ว มหาวิทยาลัยของรัฐเองก็มีความน่าสนใจที่อยู่เหนือกว่ามหาลัยเอกชน เพียงแต่ว่าไลน์ความอยาก อยู่ตรงนักศึกษาเอง ก็ไม่ค่อยรู้เหมือนกันว่าตัวเองนั้นต้องการอะไร หรือได้รับคำแนะนำมาจากบุพการีว่า ต้องเรียนแบบโน้น แบบนี้ โดยยังไม่มีเวลาในการค้นหาตัวเองสุดท้ายมหาวิทยาลัยรัฐหรือ วิทยาลัยเอกชน มันไม่สำคัญเท่ากับว่า มหาวิทยาลัยแห่งนั้น หลักสูตรแห่งนั้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการของนักศึกษาได้รึไม่  

สิ่งที่เกิดขึ้นในปีนี้ ก็คือ คะแนนที่ถูกนำมาใช้ในการเข้ามหาวิทยาลัย สำหรับคณะรัฐศาสตร์และการบัญชี มธ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งคะแนนในส่วนของเลขนั้น ต่ำกว่าเกณฑ์ที่เรากำหนดขึ้นมา

ก็เลยทำให้มันกลายเป็นปัญหาอย่างหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการในคณะเองก็มองว่า เรามีมาตรฐานของเรา งั้นเราก็จำเป็นต้องคงเกณฑ์ที่เรากำหนดเอาไว้ ก็เลยทำให้จำนวนนักศึกษาที่รับเข้าในปีนี้ น่าจะเป็นครั้งแรกเลยที่เราไม่สามารถรับเต็มตามโควตาได้

ซึ่งเมื่อเป็นแบบนี้แล้ว มันก็เป็นคำถามที่เกิดขึ้นมาว่า ทำไมคะแนนของเด็กในปีนี้ถึงต่ำมาก

บางที่ก็พร้อมที่จะลดคะแนนตนเอง แต่ในส่วนของคณะมนุษย์ศาสตร์และการบัญชีเรามองว่า ก็นี่คือมาตรฐานที่เรากำหนดเอาไว้

การที่เรามีมาตรฐานเป็นสิ่งที่สำคัญ การรับเด็กที่ไม่ครบตามจำนวนโควตาก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร

แต่มันสะท้อนกลับมาที่ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น คือ แล้วทำไมคะแนนในภาพรวมระดับของประเทศ โดยเฉพาะยิ่งคะแนนเด็กส่วนของวิชาเลขนั้นเปอร์เซ็นต์น้อยลง ตกต่ำขนาดไหน  

ประเด็นแรกเลยก็คือ ความไม่แน่นอนในเรื่องของตัวข้อสอบเพราะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในลักษณะของตัวเงื่อนไข ลักษณะของตัวข้อสอบในการเข้ามหาวิทยาลัย

แต่ผมว่าปัญหาอันใหญ่สุดมาจากการที่เราเจอเหตุการณ์โควิด และนักเรียนเองนั้น เรียนออนไลน์มาสองปีแล้ว  คือ ตรงนี้

วันนี้ก็มาถึงตรงนี้มันเป็นการสะท้อนว่า การเรียนออนไลน์โดยที่ไม่มีความพร้อมอย่างแท้จริง เด็กเองก็ไม่สามารถเรียนรู้ได้ และเมื่อมาเจอสถานการณ์ว่าต้องสอบในห้องสอบจริงๆ ก็เลยไม่มีความคุ้นเคย ไม่มีความเคยชินการเตรียมความพร้อม มากแค่ไหนมันก็ทำให้เขา

ในความเป็นจริงล่ะไม่พร้อมที่จะสอบ ไม่มีกระบวนการในการสร้างความมั่นใจว่า และเข้าถึงเกณฑ์แล้วหรือยัง คือ ถ้าเกิดเราพูดถึงมหาวิทยาลัยของรัฐเอง มันต้องย้อนกลับมาที่ตัวต้นเหตุของปัญหาต้นเหตุ 

ไม่ใช่ทางฝั่งของมหาวิทยาลัยลดมาตรฐาน แต่มันต้องมาดูในส่วนว่า โรงเรียนมัธยมไม่สามารถเพิ่มมาตรฐานตัวเองได้เหรอโรงเรียนประถม ไม่สามารถเพิ่มมาตรฐานตนเองได้เหรอ อย่ามองแค่ในส่วนของมหาวิทยาลัย

จริง ๆ แล้วมันต้องมองถึงระบบการศึกษาทั้งระบบ ก็ต้องยอมกันแล้วว่า ระบบการศึกษาในประเทศไทยในภาพรวมนั้นล้มเหลว

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะให้ความสำคัญกับการเรียนการสอน กับ การสร้างประชาชนชาวไทย ที่มีความรู้มีความสามารถ โดยมาปรับปรุงปรับเปลี่ยนกระบวนการทางด้านการศึกษาทั้งหมด

ขอให้มีปรัชญาออกมาที่ชัดเจน มหาวิทยาลัยรองรับความชัดเจนแล้วและมันช้าเกินไปที่จะต้องย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นใหม่

 

(โปรดกดถูกใจเพจ Edunewssiam ด้านล่างขวา เพื่อรับข่าวสารอัพเดตในฟีดข่าว)