มาถูกทางแล้ว สถานีแก้หนี้ครู' แค่... อย่าให้เป็นแค่ นโยบายทิพย์

มาถูกทางแล้ว สถานีแก้หนี้ครู 'แค่...อย่าให้เป็นแค่ นโยบายทิพย์

ตุลย์ ณ ราชดำเนิน : tulacom@gmail.com 

 

แม้ว่า การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ได้พยายามดำเนินการจัดทำตั้ง 558 สถานีช่วยแก้หนี้ครูทั่วประเทศ ในรูปคณะกรรมการฯทั้งใน ในระดับเขตพื้นที่ และ"ระดับจังหวัด เข้าไปช่วย กำลังเดินหน้าไปกันได้ดี  

จากการกำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) หรือหัวหน้าหน่วยงานทางการศึกษา ในระดับเขตพื้นที่ เป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่กำหนดแนวทางแก้หนี้ร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ส่วนราชการ และสถาบันการเงิน จัดทำระบบข้อมูล, ปรับปรุง กำหนดมาตรการหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ , รับลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ ช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างเจ้าหนี้กับครูและผู้ค้ำประกัน

ส่วนในระดับจังหวัด ก็จะมีผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ รองผู้ว่าฯ เป็นประธาน กำกับดูแลในภาพรวมของจังหวัด บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นภายในจังหวัด ช่วยเหลือสถานีแก้หนี้ตามที่ได้รับการร้องขอ ดูเหมือนว่าไม่ค่อยจะเข้ามามีส่วนร่วมเท่าใดนัก

หากจะดูถึงความเป็นไปได้ ว่าไปแล้วน่าจะบรรลุผลตามที่ตั้งไว้ เนื่องจากนับตั้งแต่ ศธ.ได้เปิดสถานีแก้หนี้ครู ปรากฏว่า มีตัวเลขครูมาลงทะเบียนแก้ปัญหาหนี้สิน นับตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้มีครูมาลงทะเบียนแล้ว 27,427 ราย ซึ่ง ศธ.เองจะส่งต่อให้เขตพื้นที่ฯ เร่งดำเนินการช่วยเหลือ ขณะเดียวกันจะเดินหน้าหาแนวทางแก้ไขที่หลากหลาย รวมถึงดำเนินการเกี่ยวกฎ ระเบียบต่าง ๆ เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดและแบ่งเบาการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูต่อไป

แถมยังมีกฎเหล็กคอยกำชับอนุมัติเงินกู้อย่างเคร่งครัด หลังหักหนี้ครูต้องมีใช้จ่าย 30% ของเงินเดือน หรือมียอดเงินเดือนเหลือไม่ถึงร้อยละ 30 และเป็นสมาชิก กบข.สามารถกู้เงิน กบข.ในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทน เอามาลดยอดหนี้ได้

อีกทั้ง สำหรับผู้กู้ชำระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน ยังกำหนดระยะเวลาผ่อนผันการชำระคืนเงินต้นไปจนใกล้เกษียณอายุราชการ โดยจะหักชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมดตามสัญญาเมื่อสมาชิกสิ้นสุดภาพ หรือออกจากราชการ และขอรับเงินจาก กบข.อีกด้วย

จากการสำรวจ พบว่า ผู้เข้าข่ายที่ลงทะเบียนรอบที่ 1 และ รอบที่ 2 สามารถยื่นกู้ได้ มีจำนวนรวมถึง  24,142 ราย นับว่ามิใช่น้อยกับความหวังในข้อตกลง ดังกล่าว

แต่จู่ ๆ กลับมี  นายอิทธิพัทธ์ ธีระวรรณสาร ผู้ประสานงานเครือข่ายภาคประชาสังคมแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้นำตัวแทนครู กว่า 10 ราย เข้าพบ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ถึงกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อติดตามถามไถ่ ในทำนองมีนายสถานีช่วยแก้หนี้ครูเล่นนอกกฎ ตอดเล็กตอดน้อยบนความทุกข์ของครูผู้เป็นหนี้อยู่ จึงเป็นสิ่งที่น่าใส่ใจในรายละเอีดมิใช่น้อย

ที่ฟ้องว่า... สถานีช่วยแก้หนี้ครู กลายเป็นสถานีทิพย์ ไปแล้ว

 

 

เนื่องจาก ส่วนใหญ่ไม่ได้ดำเนินการตามหลักการที่ ศธ.ประกาศ  อีกทั้งยังไม่มีการประสานเจ้าหนี้ที่เป็นสหกรณ์ หรือสถาบันการเงินที่ให้หักเงินครู 70% เหลือติดบัญชีไว้ 30%  แถมครูยังต้องนำเงินที่เหลือติดบัญชีไปจ่ายหนี้เอง

จึงไม่เป็นไปตามที่รัฐบาล และมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2564 ให้ครูได้ชำระหนี้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำหรือรวมหนี้ครูมาไว้สถาบันการเงินแหล่งเดียว ประกาศให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน จึงไม่น่าจะมีทางเป็นไปได้จริง

ดังนั้น การที่ครูยังต้องนำเงินที่เหลือติดบัญชีไปจ่ายหนี้เอง เท่ากับว่า สหกรณ์ สถาบันการเงิน หักเงินครูเกินร้อยละ 70% จึงเหลือน้อยกว่า 30% คือ มีเงินเหลือใช้ไม่เพียงพอ สุดท้าย จำต้องยอมไปกู้หนี้ยืมสินเข้าสู่วงจรของการสร้างหนี้โดยไม่มีวันจบสิ้นกันอีก 

จะบอกว่า ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) หรือหัวหน้าหน่วยงานทางการศึกษา ซึ่งเป็นประธานในระดับเขตพื้นที่ ซึ่งตัวเองมีอำนาจหน้าที่และรับรู้ทุกอย่างจากระบบข้อมูลสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ทั้งในฐานะหัวหน้าส่วนราชการ ผู้ร่วมกำหนดแนวทางแก้หนี้ จัดทำปรับปรุง กำหนดมาตรการหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ ลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ ในพื้นที่อยู่แล้ว

จะปฏิเสธไม่รู้ไม่เห็น หรือละเลย วางเฉย คงไม่ได้

ดังนั้น การที่เครือข่ายภาคประชาสังคมแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา นำตัวแทนเดินทางเข้ามาพบ เพื่อบอกเล่าถึงความเดือดร้อนให้กับอันเนื่องมาจากเป็นการหักบัญชีทิพย์ ไม่เป็นแค่เพียง 70% เนื่องจากครูยังต้องนำเงินที่เหลือติดบัญชีไปจ่ายหนี้เองให้แก่แหล่งเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูอีก

ถือเป็นความไม่เอาใจใส่ หรือการปล่อยปละละเลยต่อหน้าที่ เป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ข้าราชการครูจำนวนมาก ของบรรดา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) หรือหัวหน้าหน่วยงานการศึกษา ในระดับเขตพื้นที่ ที่เป็นประธาน หรือไม่ ซึ่งมีบางจังหวัดเท่านั้นที่ทำได้

หากศธ.ไม่รีบดำเนินการแก้ไขสั่งการติดตามผลอย่างใกล้ชิด จึงเท่ากับไม่ได้มีการแก้หนี้ครูอย่างแท้จริง อยากให้สถานีแก้หนี้ครูได้ประสานเจ้าหนี้ทุกรายได้หักเงินเดือนของครูไม่เกิน 70% ตามแนวทางของ ศธ.โดยตรง

หากเกิดปัญหาการฟ้องร้องเกิดขึ้น เพราะเจ้าหนี้ราย อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เมื่อหักเงินจากครูไม่ได้ ก็จะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีต่าง ๆ เกิดขึ้นแก่เพื่อนสมาชิกครูตามมาอีก

ดังนั้นจึงต้องการให้ ศธ. น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมวศธ. ร่วมกับ กระทรวงการคลัง เร่งหารือและกำหนดแนวทางการแก้ไขช่วยเหลือโดยเร็ว ประสานผู้มีอำนาจสั่งการ ชะลอการสั่งฟ้องร้องให้ด้วย

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage