อว.โชว์"ปฏิรูปมหาวิทยาลัย ในการประชุมอธิการบดีอาเซียน ที่สิงคโปร์

อว.โชว์"ปฏิรูปมหาวิทยาลัย ในการประชุมอธิการบดีอาเซียน ที่สิงคโปร์

เมื่อวันที่ 12 พ.ย.65 ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้กล่าวปาฐกถาในการประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียน  ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของเครือข่ายผู้บริหารมหาวิทยาลัย หรือ Temasek Foundation-National University of Singapore Programme for Leadership in University Management  ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ 

ถือว่าเป็นเวทีสำคัญ ของบรรดาอธิการบดีมหาวิทยาลัยหลักของอาเซียน 25 แห่ง จะพบกันแบบเต็มรูปแบบครั้งแรกในรอบ 3 ปี หลังการระบาดของโรคโควิด-19 อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการประชุมสุดยอดผู้นำมหาวิทยาลัยในอาเซียน (University Leaders Summit) ก็ว่าได้

ครั้งนี้ มี นายชาน ชุน ซิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์ เป็นประธานเปิด และ ฯพณฯ ฮาลิมา ยาคอบ ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐ สิงคโปร์ เป็นประธานในงานเลี้ยงรับรอง ที่พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย (Asian Civilisation Museum)

สำหรับประเทศไทย แน่นอนว่า  ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ในฐานะประธานคณะกรรมการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Chairman of ASEAN University Network Board of Trustees) เมื่อขึ้นกล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับ การปฏิรูประบบการอุดมศึกษาของประเทศไทย  ย่อมหนีไม่พ้นเรื่องราวของความสำเร็จและความก้าวหน้า ให้บรรดาสมาชิกร่วมเครืออาเซียนได้รับฟังกัน พอจะสรุปเล่าให้รับรู้กัน ดังนี้

รมว.อว.ได้มอบนโยบายขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัย เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ  ให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทโดยตรงในการทำงานเชื่อมโยงกับการวิจัยและการพัฒนาร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์การบริหารส่วนพื้นที่ โดยได้ริเริ่มโครงการต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่

โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ โครงการ U2T  การจัดกลุ่มมหาวิทยาลัย การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วยฐานความรู้  โครงการแซนด์บ๊อก การลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย การจัดตั้งธนาคารหน่วยกิจแห่งชาติ เป็นต้น

โครงการ Higher Education Sandbox ซึ่งเป็นแนวทางจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาแบบใหม่ ให้อิสระสถาบันอุดมศึกษาปรับเปลี่ยนวิธีการและรูปแบบการศึกษาอย่างไร้ข้อจำกัด เพื่อให้ทันต่อการปรับตัวอย่างรวดเร็วและความต้องการจากตลาดแรงงาน เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศอย่างเร่งด่วน

ปัจจุบัน มีหลักสูตรกว่า 100 หลักสูตร อยู่ระหว่างการพิจารณาก่อนนำไปลองใช้งาน มีการยกเลิกการกำหนดระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนและทำงานไปพร้อมกัน ตอบโจทย์การเรียนของนักศึกษา สร้างกลไกการลงทะเบียนข้ามมหาวิทยาลัย 

สร้างกลไกการลงทะเบียนข้ามมหาวิทยาลัย และ โครงการคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank System) ให้คนทุกช่วงวัย สามารถเรียนหลักสูตรต่าง ๆ หรือนำประสบการณ์ทำงาน มาเทียบโอนและสะสมหน่วยกิต ไว้ที่คลังหน่วยกิตแห่งชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้งานจริงสนองนโยบายของประเทศโดยตรงในการสร้างและพัฒนากำลังคนที่มีสมรรถนะสูง สามารถออกไปทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 

อีกทั้ง ยกเลิกการกำหนดระยะเวลาการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนและทำงานไปพร้อมกัน ตอบโจทย์การเรียนของนักศึกษา อีกทั้งปัจจุบันมหาวิทยาลัย มีภารกิจเพิ่มเติมต่างจากเดิมที่ทำหน้าที่สอนนักศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันต้องสอนและบ่มเพาะให้นักศึกษามีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่และสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้แก่นักศึกษาด้วย

นอกจากนี้  ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ยังได้เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายให้หัวข้อ "ประสบการณ์ของมหาวิทยาลัยอาเซียนในการส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยี" โดยมีผู้บริหารของมหาวิทยาลัยจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมอภิปราย

โดยงานนี้ มีอธิการบดีและผู้บริหารระดับสูงจากมหาวิทยาลัยไทย 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศต่าง ๆ 

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage