เสมา ๑ ลงนามนโยบายตรวจราชการ ติดตามผลจัดการศึกษา เข้ม ๖ งานหลัก ๒๗ ประเด็นรอง ปี ๖๖

 

เสมา ๑ ลงนามนโยบายตรวจราชการ ติดตามผลจัดการศึกษา เข้ม ๖ งานหลัก ๒๗ ประเด็นรอง ปี ๖๖

 

คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สป. ๒๗ /๒๕๖๖ มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ ติดตามประเมินผล การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามนโยบายของ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖

 

เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในคำสั่ง ยกอ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๙ กำหนดให้ผู้ตรวจราชการกระทรวง รับผิดชอบและมีอำนาจและหน้าที่ในการตรวจราชการ เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เฉพาะในขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของกระทรวง ในฐานะผู้สอดส่องดูแลแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง และปลัดกระทรวง

 

ดังนั้น เพื่อให้การตรวจราชการเป็นกลไกสำคัญ ที่จะทำให้การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานทางการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เกิดความคุ้มค่ายิ่งขึ้น เป็นไปตามหลักการบริหารแบบบูรณาการและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี รวมทั้งเป็นการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจราชการการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐

 

จึงมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ และส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ดังต่อไปนี้

 

 

๑. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย

         ๑.๑ การดำเนินงานตามแผน/มาตรการด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน ครู และบุคลากรในการป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่

         ๑.๒ การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

         ๑.๓ การปกป้องคุ้มครองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู และบุคลากร

 

๒. การยกระดับคุณภาพการศึกษา

๒.๑ การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของผู้เรียน

.๒ การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑

       ๒.๓ การพัฒนาครูในด้านการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของ ผู้เรียน (Assessment for Learning)

๒.๔ การจัดการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning)

       ๒.๕ การพัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) ของผู้เรียน                                                                                   ๒.๖ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรมและการ เสริมสร้างวิถีชีวิตของความเป็นพลเมือง ที่ทันสมัย น่าสนใจ และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน 

       ๒.๗ การส่งเสริมการให้ความรู้แสะทักษะด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) ให้กับผู้เรียน   

       ๒.๘ การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพสถานศึกษาที่เน้นสมรรถะและผลลัพธ์ที่ตัวผู้เรียน

       ๒.๙ การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ

 

๓. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย

 ๓.๑ การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการเพื่อป้องกันเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน

 ๓.๒ การส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการพัฒนาการสมวัยอย่างมีคุณภาพ

 ๓.๓ การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ และกลุ่มเปราะบาง รวมทั้งกลุ่ม NEETs ได้รับการศึกษา ที่เหมาะสม ตามความจำเป็นตามศักยภาพ

 ๓.๔ การจัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้ทุกกลุ่มเข้าถึงการศึกษา การเรียนรู้และการฝึกอาชีพ

   ๓.๕ การยกระดับโครงการอาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ

   ๓.๖ การขับเคลื่อนโครงการทริศึกษาแนวใหม่

   ๓.๗ การจัดการอาชีวศึกษา รูปแบบการศึกษานอกระบบ

 

๔. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

 ๔.๑ การพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาทวิภาคีอย่างมีคุณภาพ โดยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายและสถานประกอบการ

 ๔.๒ การพัฒนาขับเคลื่อนความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) โดยความร่วมมือกับภาคเอกชนและสถานประกอบการ

 ๔.๓ การพัฒนาสมรรถนะอาชีพ โดยการ Re-skill, Up-skil และ New skill ในทุกกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งผู้สูงอายุ

 

๕. การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

 ๕.๑ การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะแนวใหม่(หลักเกณฑ์ PA)

 ๕.๒ การพัฒนาสมรรถะของครูและบุคลากรทางการศึกษา ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและสมรรถนะที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบ New Normal

 ๕.๓ การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา

 

๖. การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล

 ๖.๑ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการ

 ๖.๒ การทำงานแบบบูรณาการ การมีส่วนร่วมกับชุมชน หน่วยงาน องค์กรอื่น ๆ ทั้งในพื้นที่และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam  

 

ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage