สสส. - กทม. สานพลังเครือข่าย 25 องค์กร ปกป้องสุขภาพประชาชน จาก PM2.5 ฝุ่นเมืองหลวงและปัจจัยเสี่ยงก่อมะเร็งและระบบทางเดินหายใจ

 

สสส. - กทม. สานพลังเครือข่าย 25 องค์กร ปกป้องสุขภาพประชาชน จาก PM2.5 ฝุ่นเมืองหลวง ปัจจัยเสี่ยงก่อมะเร็งและระบบทางเดินหายใจ

 

ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษากรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นประธานในการจัดประชุมวิชาการด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย “TPAC 2022” ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม

 

 

กล่าวว่า...สสส.กำลังก้าวสู่ปีที่ 22 มุ่งจุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริมพลังทุกภาคส่วนในสังคมไทยไปสู่สุขภาวะดีครบ 4 มิติ ทั้ง กาย, จิต, ปัญญา และสังคม โดยประสานงานร่วมกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน จัดงานประชุมนี้ขึ้นเพื่อบูรณาการความรู้ ฟื้นฟูกิจกรรมทางกายภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 7 ด้าน

 

ประกอบด้วย 1.กิจกรรมทางกาย 2.อาหาร 3.ยาสูบ 4.แอลกอฮอล์ และยาเสพติด 5.ความปลอดภัยทางถนน 6.สุขภาพจิต 7.มลพิษจากสิ่งแวดล้อม โดยเน้นความเท่าเทียมทางสุขภาพ

 

 

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2566   สสส.- กรุงเทพมหานคร (กทม.) และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม 25 องค์กร จัดกิจกรรม Action Day PM2.5 ชวนภาคีขยับเรื่อง ฝุ่นเมือง ด้วยกัน" เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมกันเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติจนเกิดผลเป็นรูปธรรม พร้อมมอบประกาศนียบัตรให้เครือข่าย Earth hour แสดงพลัง Work from Home ลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 จากการเดินทางและการใช้ยานพาหนะ รวมทั้งปกป้องสุขภาพประชาชนจาก PM2.5

 

 

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผอ.สำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสสกล่าวว่า ปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงฤดูหนาวช่วงต้นเดือน พ.ย. – ปลายเดือน เม.ย. ของทุกปี และชี้ให้เห็นว่า...

 

อันตรายของฝุ่น PM2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ พบว่า ฝุ่น PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจแบบเรื้อรังและโรคมะเร็ง ทำให้ประชาชนเกิดความกังวลต่อสุขภาพตนเองและคนใกล้ชิด โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่างๆ

 

ในปี 2559 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการณ์ว่า ประเทศไทยจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดซึ่งมีสาเหตุมาจากมลพิษอากาศถึง 6,330 ราย แนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ปี 2563 พบรายงานผู้ป่วยมะเร็งปอด 122,104 ราย คิดเป็น 186.26 ต่อแสนประชากร

 

ตั้งแต่ปี 2556 WHO ได้กำหนดให้ฝุ่น PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ จะพบการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ทุกระดับค่า PM2.5 ที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยเสียชีวิตจากมะเร็งปอดร้อยละ 21 โรคหัวใจร้อยละ 14 ตามลำดับ 

 

"ต้องบอกว่าในช่วงก่อนหน้าที่จะมีการระบาดของโควิด-19 สสส. ได้ผลักดันให้คนไทยมีการขยับเท่ากับออกกำลังกายเพิ่มขึ้น 74.6 เปอร์เซ็นต์ แต่พอโควิด-19 มาทำให้กิจกรรมของคนไทยเปลี่ยนไปและการออกกำลังกายลดลงมาเหลือแค่ 55 เปอร์เซ็นต์

 

ดังนั้น สสส.ต้องการกระตุ้นให้ประชาชนกลับมาขยับออกกำลังกายอีกครั้ง และกิจกรรมนี้ก็จะเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะทำให้คนไทยกลับมาออกกำลังกายอีกครั้ง บนวิถีใหม่ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 Actives

 

ได้แก่ Actives People ส่งเสริมให้คนกระฉับกระเฉง, Actives Environment ส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการออกกำลังกาย และ Actives Society สร้างค่านิยมให้สังคมกระฉับกระเฉง เพื่อฟื้นฟูกิจกรรมทางกายให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติและสอดคล้องกับวิธีชีวิตที่เปลี่ยนไปทางสสส. ได้ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

 

 

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กิจกรรม Action Day PM2.5 BKK วันนี้ ภาคีเครือข่าย ได้ร่วมกันแสดงพลังแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนเกิดความตระหนักถึงปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 สร้างองค์ความรู้ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพ พิษภัยของการปล่อยมลพิษทางอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อทั้งผู้ปล่อยมลพิษและคนรอบข้าง

 

ถือเป็นความร่วมมือในการเตรียมพร้อมเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะยาว นอกจากนี้ หน่วยงานภาคีเครือข่าย Earth Hour จำนวน 44 หน่วยงาน ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพลังความร่วมมือร่วมลดฝุ่นละออง PM2.5 ในช่วงที่กรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มปริมาณฝุ่นละอองเพิ่มสูงขึ้น ในรูปแบบต่าง ๆ

 

อาทิ Work from Home การเหลื่อมเวลาทำงาน การใช้รถขนส่งสาธารณะ เพื่อลดปริมาณการเดินทาง การปล่อยควันเสียจากรถยนต์ การหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า การประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้พนักงานในหน่วยงานลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง หรือทำกิจกรรมลดฝุ่นที่สามารถทำได้โดยไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ได้ร่วมกันลดปัญหาฝุ่นเมืองหลวงต่อไป

 

ขณะที่ รศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผอ.ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย กล่าวว่า หนึ่งในกิจกรรมที่นำมาในวันนี้ที่นำมาแนะนำ คือ การ Walkshop เป็นการเดินประชุมงาน เดินพูดคุยแลกเปลี่ยนแทนการที่จะนั่งประชุมในห้องอย่างเดียว เพื่อเป็นการออกกำลังกายและสามารถทำงานไปด้วยได้ ช่วยให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้น 

 

 

สำหรับ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย สธ. กล่าวว่า สธ.เป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลสุขภาพประชาชน มีเป้าหมายพัฒนาคนในทุกมิติและทุกช่วงวัยให้ดี, เก่ง, มีคุณภาพ เริ่มจากการมีสุขภาพที่ดี

 

จากข้อมูลภาระโรคไม่ติดต่อปี 2565 พบว่า กลุ่มทำงานวัย 30-69 ปี เป็นโรคไม่ติดต่อถึง 24.7 เปอร์เซ็นต์ และเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้ภาครัฐต้องรับภาระค่ารักษาถึง 1.39 แสนล้านบาทต่อปี ดังนั้นการส่งเสริมกิจกรรมทางกายจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีสุขภาวะดีและลดความเสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam  

ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage