ธฤติ' ผู้ตรวจศธ.นำทีมกศน.นครพนม เสริมทักษะวันรักการอ่าน 2 เมษายน

 

ธฤติผู้ตรวจศธ.นำทีมกศน.นครพนม

เสริมทักษะวันรักการอ่าน 2 เมษายน 

 

โดยคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ท่านเป็น วันรักการอ่าน เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอ่านและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาบุคคล ครอบครัว สังคม รวมถึงประเทศชาติ

 

ทั้งยังเป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย ด้วยตระหนักในพระปรีชาสามารถด้านศิลปวัฒนธรรม และพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ที่ทรงอนุเคราะห์สนับสนุนกิจกรรมอันเนื่องด้วยงานวัฒนธรรมของชาติเสมอมา

 

นายธฤติ ประสานสอน ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิด โครงการ 2 เมษา วันรักการอ่าน ปีงบประมาณ 2566 ที่สำนักงาน กศน.จังหวัดนครพนมจัดขึ้นเพื่อพัฒนาชาวนครพนมทุกช่วงวัย ให้มีทักษะ มีนิสัยรักการอ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต กับกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทุกรูปแบบจากแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านทุกกลุ่มเป้าหมาย

 

ด้วยการนำทีม กศน. พัฒนาชาวนครพนม เสริมสร้างนิสัยและทักษะการอ่านสนองพระราชดำริและพระราชปณิธาน กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ วันที่ 2 เมษายน 2566 ที่สวนสาธารณะศรีโคตรบูรณ์ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

 

ซึ่งการออกหน่วยเรียนรู้เคลื่อนที่สู่ชุมชน บรรณสัญจร ครั้งที่ 5/2566 นี้เพื่อสนองพระราชดำริและพระราชปณิธาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระผู้ทรงมีคุณูปการต่อวงการหนังสือไทย ทรงได้รับการยกย่องเชิดชูว่าเป็น เจ้าฟ้านักอ่าน ด้วยทรงให้ความสำคัญกับการรู้หนังสือ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาชาติ โดยได้ทรงพระราชทานลายพระหัตถ์ว่า “ร่วมกันทำให้ชาวโลกอ่านออกเขียนได้” (Let’s join in making a literate world)

 

โดยเฉพาะทรงเป็นแบบอย่างในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ และพระราชจริยาวัตร ในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ

 

 

กิจกรรมในวันนี้ มีการส่งเสริมการพัฒนาชาวนครพนมทุกช่วงวัย ให้มีทักษะ มีนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ไปพร้อมกับการสืบสานอนุรักษ์มรดกไทย ไม่ว่าจะเป็น การพูด การอ่าน การเขียน การฟัง โดยเป็นการสอดแทรกอยู่ในกิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน เช่น การเล่นเกมส์ปาเป้าของเด็ก ๆ ที่นอกจากจะให้ความเพลิดเพลินในการแข่งขันแล้วยังให้ฝึกทักษะการอ่านด้วยการสะกดคำในช่องเป้าที่ปาถูกเพื่อรับรางวัล

 

ขณะที่วัยเรียนทั่วไป ก็มีการเสริมสร้างการพูดและการเขียนที่สอดแทรกเรื่องราวทางภาษาถิ่น เป็นการซึมซับศิลปวัฒนธรรมของตนเองเพิ่มเติม จากการเรียนปกติทั่วไป

 

ขณะที่วัยทำงานก็จะให้ทุกคนได้เรียนรู้ช่องทางการหาความรู้เพิ่มเติมผ่านระบบออนไลน์ใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการสร้างอาชีพสร้างรายได้ ส่วนผู้สูงวัยก็จะมีกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาทักษะในเรื่องของการจำทำให้สมองได้คิดและเกิดจินตนาการใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาต่อยอดเป็นอาชีพหรือสร้างรายได้ให้กับตนเอง การเป็นสร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจให้ตนเอง.

 

( โปรดกดถูกใจเพจ Edunewssiam ด้านล่างขวา เพื่อรับข่าวสารอัพเดตในฟีดข่าว )

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam

 ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage