"ก้าวไกล" เปิด 13 ประเด็นร่าง MOU "เพื่อไทย" อึ้ง โควตา รัฐมนตรี "ก้าวไกล" เสนอ 13 ประเด็นร่าง MOU "เพื่อไทย" อึ้ง โควตา รัฐมนตรี

"ก้าวไกล" เสนอ 13 ประเด็นร่าง 

"MOU" เพื่อไทย อึ้ง โควตา รัฐมนตรี

ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า หลังจากนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแกนนำพรรค ได้นัดหมายแกนนำพรรคการเมืองที่สนับสนุน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 โดยมีการตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมกันจัดทำ MOU เอ็มโอยู หรือข้อตกลงร่วมในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งล่าสุด ได้สรุป 13 หัวข้อสำคัญ ในร่างเอ็มโอยู ถึงพรรคร่วมรัฐบาล มีความน่าสนใจ ดังนี้

 

1. แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2. คืนความยุติธรรมผู้ได้รับผกระทบจากการรัฐประหาร 3. กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 4. ปฏิรูปกองทัพ  5. ยกเลิกผูกขาดอุตสาหกรรมสุรา 6. สมรสเท่าเทียม 7. ยกเลิกเกณฑ์ทหาร 8. ปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ 9. นิรโทษกรรม (ยกเว้นคอร์รัปชัน - อันตรายถึงชีวิต) 10. แก้ปัญหาค่าครองชีพ(ไฟฟ้า) 11. จัดงบประมาณแบบใหม่ (ฐานศูนย์)  12. เพิ่มสวัสดิการเด็ก-ผู้สูงอายุ 13. สร้างรัฐโปร่งใส

 

รายละเอียดทั้งหมดได้ส่ง MOU ไปให้พิจารณาทุกพรรคที่เข้าร่วม โดยนัดหมายตอบรับ-ปรับแก้เนื้อหาให้ตรงกันภายในวันอาทิตย์ 21 พ.ค.2566 นี้ ก่อนจะแถลงและเซ็นข้อตกลงร่วมกันในวันจันทร์ ที่ 22 พ.ค.2566

 

ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคเพื่อไทย ถึงเพื่อไทยพิจารณาเรียบร้อยแล้ว และได้นำเสนอร่างในส่วนของพรรคเพื่อไทยไปยังพรรคก้าวไกล ให้เป็นผู้รวบรวมประเด็นกับเอ็มโอยูของพรรคอื่น ๆ แล้ว โดยเนื้อหาที่พรรคเพื่อไทยยืนยันสนับสนุน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นนายกฯ และให้พรรคก้าวไกลเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ส่วนเนื้อหาอื่นพรรคเพื่อไทยเขียนในภาพกว้างไม่ลงลึกรายละเอียด

 

จากการประสานงานเกี่ยวกับโควตารัฐมนตรี ซึ่งตัวแทนพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ได้แจ้งให้รับทราบอย่างไม่เป็นทางการแล้ว โดยรายงานแจ้งว่า พรรคก้าวไกล ขอโควตารัฐมนตรีที่เป็นกระทรวงหลักแทบทั้งสิ้น อาทิ กระทรวงกลาโหม มหาดไทย คลัง ศึกษาธิการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อ้างว่ายึดโยงกับนโยบายพรรค

 

“...ส่งผลให้ แกนนำพรรคเพื่อไทยถึงกับอึ้งไปตาม ๆ กัน เนื่องจากเพื่อไทยต่างจากพรรคก้าวไกลเพียง 10 เสียง ซึ่งตามหลักการแล้วต้องแบ่งกระทรวงตามจำนวน ส.ส.  ก็ควรเกลี่ยกระทรวงหลัก กระทรวงรอง ให้ใกล้เคียงกัน ไม่ใช่พรรคใดพรรคหนึ่งได้กระทรวงหลักไปเกือบทั้งหมด...”  ผู้สื่อข่าวรายงานในความคิดเห็น 

 

ส่วนเนื้อหาอื่นพรรคเพื่อไทยเขียนในภาพกว้างไม่ลงลึกรายละเอียด เช่น ร่วมกันฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยยึดหลักเพิ่มรายได้ประชาชน การแก้ไขปัญหาของพี่น้องเกษตรกร แก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยกระบวนการตั้งส.ส.ร. ที่มาจากประชาชน

 

ล่าสุด แกนนำพรรคเพื่อไทยยังคงสงวนท่าที เพราะไม่อยากให้พรรคก้าวไกลนำเรื่องนี้มาเป็นข้ออ้างว่าพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายต่อรองเก้าอี้ จนทำให้การตั้งรัฐบาลล่าช้าออกไป

 

นอกจากนี้ ทางพรรคก้าวไกล ยังแจ้งความประสงค์ถึงความต้องการตำแหน่งประธานสภาฯ ขณะที่พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วย เนื่องจากก้าวไกลได้เป็นประมุขฝ่ายบริหารแล้ว เพื่อไทยควรได้ตำแหน่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ จะได้มอบหมายให้นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคพท.ทำหน้าที่ประสานในทุกเรื่องกับพรรค ต่อไป

 

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับเอ็มโอยูเข้าร่วมรัฐบาลพรรคก้าวไกล จะเป็นผู้รวบรวมประเด็นกับเอ็มโอยูของพรรคอื่น ๆ รวมกับเพื่อไทย  โดยเนื้อหานั้นยืนยันสนับสนุน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นนายกฯ และให้พรรคก้าวไกลเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เช่นกัน

 

ขณะเดียวกัน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ (ปช.) มีรายงานถึงความคืบจัดทำเอ็มโอยูจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคก้าวไกลว่า สิ่งที่พรรค ปช.ต้องการให้ปรับมี สอง ประเด็นหลัก คือ เรื่องสุราเสรี ที่กระทบกับหลักศาสนา อีกประเด็น คือรื่องให้ความเคารพในความหลากหลายทางเพศ ซึ่งสื่อโยงไปถึงนโยบายสมรสเท่าเทียม ไม่สามารถยอมรับให้มีในเอ็มโอยูได้ โดยไม่มีข้อยกเว้น เพราะเป็นเรื่องที่ขัดกับหลักศาสนา รวมถึงศาสนาอื่น ๆ ที่เรื่องนี้ขัดหลักศาสนาเขาด้วย

 

ส่วน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ให้ความเห็น

ว่า "...เหมือนพรรคก้าวไกลกำลังจะผูกมัดพรรคร่วมเพื่อให้เห็นด้วย หากจะแก้ไข

หรือทำเรื่องอะไร ก็ไปดำเนินการในขั้นตอนรัฐสภา พร้อมย้ำว่าเอ็มโอยูควรจะ

ทำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ข้าราชการ ประชาชน 70  ล้านคน มีอุดมการณ์ร่วม

กันและเข้าใจตรงกันก่อน..."

 

(โปรดกดถูกใจเพจ Edunewssiam ด้านล่างขวา เพื่อรับข่าวสารอัพเดตในฟีดข่าว)