สมาพันธ์ครูลูกหนี้ ๔ ภาค ยื่น’เศรษฐา สางหนี้สินเป็นนโยบายรัฐ “ไม่ละคร” รวมพลนัดแรก ๒๔ กันยา ”ชง“ เพิ่มพูน’ เสมา ๑ เร่งแก้

 

สมาพันธ์ครูลูกหนี้ ๔ ภาค ยื่น’เศรษฐา สางหนี้

สินเป็นนโยบายรัฐ “ไม่ละคร” รวมพลนัดแรก ๒๔

กันยา ”ชง“ เพิ่มพูน’ เสมา ๑ เร่งแก้   

 

ประธานสมาพันธ์ครูลูกหนี้ ๔ ภาค เชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ๗๓ หมู่ ๖ ต.ออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ยื่นหนังสือ นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน แก้ไขปัญหาหนี้สินครูให้เป็นนโยบายของรัฐ และมีมาตรการที่จะแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม และ จริงจัง และแนบรายชื่อคุณครูที่ร่วมขอความช่วยเหลือ ดังความละเอียด ว่า...

 

ด้วยพวกข้าพเจ้าในนามข้าราชการครูทั้งที่ยังปฏิบัติราชการอยู่และเกษียณอายุราชการแล้ว มีชีวิตอยู่ด้วยความยากลำบาก ด้วยปัญหาหนี้สินที่พอกพูนขึ้นด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

 

  ๑. การบรรจุเป็นข้าราชการครั้งแรก เงินเดือนน้อยกว่าเงินเดือนของเอกชน ๑ - ๖ เท่าตัว ซึ่งกว่าเงินเดือนจะออกต้องคอยเงินเดือนตกเบิก เป็นเวลานานหลายเดือน แต่ชีวิตต้องตำเนินต่อไป จึงต้องกู้ยืมเงินนอกระบบ ด้วยอัตราตอกเบี้ยที่สูง เพื่อนำมาใช้จ่ายให้ผ่านไปก่อนในแต่ละเดือน และเมื่อมีสิทธิ์ยื่นกู้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ก็เริ่มกู้เงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครู เพื่อนำมาใช้ในเรื่องของการซื้อพาหนะ เพื่อเดินทางไปทำหน้าที่ปฏิบัติงานสอนนักเรียน ในชนบทห่างโกล

 

  ๒. เมื่อมีครอบครัวมีความจำเป็น ที่จะต้องมีบ้านสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย มีรถเป็นยานพาหนะเพื่อประโยชน์ต่อการเดินทาง ซึ่งเป็นรถที่ข้าราชการครูจะต้องผ่อนชำระ แต่รถของข้าราชการครูเหล่านี้

 

นอกจากใช้ประโยชน์เพื่อส่วนตัวแล้ว ก็ยังได้นำไปใช้ในภารกิจของโรงเรียนด้วย เช่น นำนักเรียนไปเข้าร่วมการแข่งขันกีฬานำนักเรียนไปแข่งขันทักษะทางวิขาการ ซึ่งในการเดินทางคุณรูจะต้องจ่ายค่าน้ำมันเอง

 

หากรถมีเหตุเสียหายจำเป็นจะต้องซ่อม คุณตรูจะต้องช่อมรถเอง ซึ่งคุณครูเรามีความเสียสละอยู่ในกันบึ้งของหัวใจ ดังที่กล่าวมาข้างดัน ทำให้เป็นภาระที่มากพอสมควร โดยลำพังเงินเดือนก็มีไม่มาก ทำให้ไม่สามารถแบกภาระนี้ได้ จึงมีการกู้ยืมเงินสวัสดิการจากสหกรณ์ออมทรัพย์ศรูเป็นระยะ ๆ ทั้งเงินกู้สามัญและเงินกู้ฉุกเฉิน

 

  ๓. สาเหตุที่ทำให้เป็นหนี้ อีกประการหนึ่ง คือ ภาระดอกเบี้ย ที่ทางสหกรณออมทรัพย์ครูและทางธนาคารกำหนดไว้ สูงกว่าความเป็นดอกเบี้ย ของเงินกู้สวัสดิการจึงทำให้คุณครูที่เป็นลูกหนี้ของสหกรณ์ฯและของธนาคาร ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยที่สูง ทั้งที่สหกรณ์อมทรัพย์ครูและธนาคาร สามารถเรียกเก็บเงินชำระหนี้ได้จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง ปัจจุบันสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สามารถหักชำระหนี้ให้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเท่านั้น

 

  ๔. การกู้เงินในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู หรือการกู้เงินกับธนาคารจำเป็นจะต้องมีผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นข้าราชการครูด้วยกัน มีคุณครูจำนวนมากที่เป็นลูกหนี้ แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้

 

ดังนั้นคุณครูที่เป็นผู้ค้ำประกัน จึงต้องตกเป็นจำเลยที่ต้องรับสภาพหนี้ และถูกฟ้องบังคับคดี ถูกขายทอดตลาดทรัพย์สินที่มี คือ ที่ดินและบ้าน ทั้งที่ไม่ใช่หนี้สินของตัวเอง ผู้ค้ำประกันเหล่านั้นต้องดิ้นรนหาเงินมาไถ่ถอนจากสำนักงานบังคับคดี ทำให้มีหนี้สินมากยิ่งขึ้น

 

  ๕.. ข้าราชการครูส่วนใหญ่ มีฐานะทางเศรษฐกิจพอปานกลาง เมื่อมีครอบครัว ก็อยากให้ลูกเรียนหนังสือที่ดี ๆ จึงมีการกู้เงินมาเพื่อเป็นคำใช้จ่ายให้ลูกได้เรียนหนังสือ อีกทั้งหลายคนมีพ่อแม่ที่แก่ชราก็ต้องดูแลและรักษาอาการเจ็บป่วยในฐานะลูกที่ดี และเป็นรัฐบาลของประชาชนในระบบปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุขตลอดไป

 

  ๖. ครูเป็นบุคคลสาธารณะป็นที่เคารพของคนในชุมชน เมื่อมีงานทุกงานในชุมชน เช่น งานบุญกุศลหรืองานศพ คุณครูจะต้องร่วมงานและมีการใส่ซองทุกงาน (หรือเรียกว่าภาษีสังคม) ซึ่งในแต่ละเดือนนั้น ก็มีงานเป็นจำนวนมาก แต่ก็เพื่อรักษาสถานะ ความเป็นครูที่สังคมยกย่อง

 

เมื่อถึงเวลาเกษียณอายุราชการ เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่เคยได้รับ ก็ลดน้อยลงและถูกตัดไปทำให้มีเงิน ที่จะชำระหนี้ให้กับสหกรณ์และธนาคาร ที่เป็นเจ้าหนี้ไม่เพียงพอ หลายคนก็ถูกฟ้องในฐานะผู้ค้ำประกัน ซึ่งทำให้ยอดหนี้สูงขึ้นไปอีก ทำให้จึงตกอยู่ในฐานะเป็นบุคคลที่มีหนี้สินไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้

 

 

 

ซึ่งที่ผ่านมา คุณครูก็ถูกทั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ครู และทางธนาคาร ยื่นฟ้อง จนถูกสำนักงานบังคับคดีขายทอตลาดได้ ทำให้เป็นบุคคลไร้บ้าน เป็นคนไข้นอนติดเตียง เงินเดือนที่ได้รับทุกเดือน ที่เป็นเงินบำนาญก็ถูกนำไปชำระหนี้สิน จนหมด ไม่เหลือ ทั้งที่ระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนด ให้เหลือไว้ ๓0% เพื่อให้มีไว้ดำรงชีวิต/ เพื่อประทังชีวิต

 

แต่ก็ถูกสหกรณ์บังคับให้จำใจต้องให้สหกรณ์ หักเงินในส่วนของ ๓0% ที่เป็นเงินเพื่อดำรงชีวิต นำไปชำระหนี้เพิ่มเติมอีก คุณครูข้าราชการบำบาญเหล่านี้ ก็ต้องยินยอม เพราะหากไม่ยินยอมสหกรณ์ก็จะใช้กฎหมาย บังคับดำเนินคดีหรือตัดสิทธิ์ในการเป็นสมาชิก ซึ่งทำให้คุณครูที่เป็นผู้ค้ำประกันเดือดร้อนอีก ขณะนี้ คุณครูที่เป็นลูกหนี้ทั่วประเทศ เหมือนกับเป็นคนที่ ไม่มีชีวิต ไม่มีจิตใจ มีชีวิตอยู่ไป วันๆ เพื่อรอความตาย ดั่งที่คุณครูหลายคน ใช้วิธีความตาย มาใช้กับวิธีแก้ไขหนี้ ตายแล้ว หนี้สินหมด บ้านจะได้ไม่ต้องถูกยึดลูก-สามี-ภรรยา และพ่อแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่ จะได้มีบ้านเป็นที่อยู่อาศัยต่อไป

 

ความหวัง ของคุณครูลูกหนี้ ทั้งประเทศเริ่มมีความหวัง เมื่อนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสินได้ประกาศที่จะแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ตำรวจและเกษตรกร ด้วยการพักชำระหนี้ ซึ่ง นับเป็นข่าวดีสำหรับครูตำรวจและเกษตรกร

 

แต่ที่ผ่านมานั้น การพักชำระหนี้นั้น เป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว เมื่อครบระยะเวลา พักชำระหนี้แล้ว คุณครูลูกหนี้กลับมีหนี้เพิ่มขึ้น เพราะการพักชำระหนี้ เหมาะสมกับผู้ที่ประกอบอาชีพ ที่ยังมีกำลังที่จะทำงานอยู่ แต่สำหรับครูเกษียณแล้ว คงไม่มีกำลังวังชา ที่จะไปประกอบอาชีพอื่นอีก

 

เมื่อพักชำระหนี้แล้ว ก็จะมีเงินใช้จ่าย ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเมื่อครบกำหนด การพักชำระหนี้แล้ว ก็จะกลับมาเหมือนเดิม ทางสมาพันธ์ครูลูกหนี้ ๔ ภาค ซึ่งเป็นตัวแทนของพี่น้องครูลูกหนี้ทั่วประเทศ ได้มีมติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงขอความอนุเคราะห์ จากรัฐบาล ของนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน ได้โปรดช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยใช้แนวทางดังต่อไปนี้

 

๑. จัดตั้ง/จัดหา สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อรับโอนหนี้สินของครูลูกหนี้ที่มีอยู่ ให้มาอยู่ที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และมีการลดดอกเบี้ยลงมา ไม่เกินร้อยละ ๓ ต่อปี และให้ตำเนินการ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่หักเงินชำระหนี้ของคุณครูลูกหนี้ ให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณครูลูกหนี้สามารถที่จะมีเงินส่งชำระได้ เป็นปกติ ทุกเดือน

 

๒. ถ้าไม่สามารถดำเนินการได้ตามข้อ ๑. ขอให้รัฐบาลดำเนินการ ออกกฎกระทรวง หรือแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูซึ่งเป็นสถาบันด้านสวัสดิการของหน่วยงานของรัฐที่มีอยู่ทุกจังหวัด รับโอนหนี้ตามโครงการรวมหนี้ จากสถาบันการเงินทุกที่มารวมไว้ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครู ที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศ และให้มีการกำหนดเพดาน อัตราดอกเบี้ย เงินกู้ เฉพาะโครงการนี้ ไม่เกิน ๓.๕% ต่อปี ซึ่งจะทำให้ ระบบการหักเงินชำระหนี้ ๗๐% และ ๓๐% เป็นจริง และทำให้คุณครูลูกหนี้ มีเงินเหลือเพื่อประทังชีวิต ๓๐% จริงๆ

 

สมาพันธ์ครูลูกหนี้ ๔ ภาคในฐานะตัวแทนของคุณครูลูกหนี้ ทั้ง ๔ ภูมิภาค ทั่วประเทศ หวังว่า รัฐบาลของ นายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน จะได้ให้ความอนุเคราะห์ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาหนี้สินครู ที่มีมาอย่างช้านานได้สำเร็จในรัฐบาลของท่าน และ ด้วยกุศลผลบุญ ของท่านที่มีต่อครูทั่วประเทศ จงเป็นพลวปัจจัย ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรี มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีพลังใจ ที่จะทำงาน เพื่อซาติ บ้านเมือง เพื่อประชาชนและเป็นรัฐบาลของประชาชนในระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นพระประมุขตลอดไป

 

จึงกราบเรียนมา เพื่อทราบและโปรดพิจารณาอนุเคราะห์ดำเนินการช่วยเหลือ แก้ใขปัญหาหนี้สินครูให้เกิดผล อย่างเร็วไว ลงนาม นายวินัย สังขวรรณะ ประธานสมาพันธ์ครูลูกหนี้ ๔ ภาค โทร. ๐๙๘-๘๙๓-๙๔๗๔

 

 

ขณะเดียวกัน ยังมีความเคลื่อนไหว จาก นายประกิต สังขะทิพย์ จังหวัดขอนแก่น นายสมคิด หอมเนตร ประธานเครือข่ายภาคประชาชนต่อต้านคอรัปชั่น สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ แจ้งว่า ได้เข้ายื่นหนังสือต่อความเดือดร้อนของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นหนี้ ต่อ นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ณ ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 11 กันยายน 2566 ไปแล้ว

 

และเพื่อการตีเหล็กให้ร้อน จึงนัดหมายสมาชิกลูกหนี้ อดีตข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเงินกู้โครงการ ชพค.5 วงเงิน 600.000 บาท, โครงการ ชพค.6 วงเงิน 1,200,000 บาท , โครงการ ชพค.7 วงเงิน 3,000,000 บาท และโครงการเงินกู้อเนกประสงค์ ธนาคารกรุงไทย จำกัด ที่มีนิติกรรมระหว่างสกสค.ทั่วประเทศ ธนาคารออมสิน บริษัททิพยประกันภัย  และ ธนาคารกรุงไทย และ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู จำนวน 119 แห่งทั่วประเทศ

 

อีกทั้งยังนัดหมายสมาชิกทั้งผู้กู้และผู้ค้ำ ประมาณกว่า 100 คนพร้อมกัน ณ ห้องประชุมเอนกประสงค์ วัดป่าไชยวันบ้านสีฐาน ด้านหลัง รพ.ราชพฤกษ์ อาคารเก่าในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วันอาทิตย์ทึ่ 24 กันยายน 2566 เวลา 10.00-12.00 โดยมีที่ปรึกษา นายประเสริฐ บุญเรือง นายกมล รอดคล้าย และ นายปรีดา บุญเพลิง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคครูไทยเพื่อประชาชน และทีมงาน ได้เดินทางมาราชการที่จังหวัดขอนแก่น วันดังกล่าว รับฟังปัญหา ความทุกข์แสนสาหัส แนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อนำเสนอ พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ต่อไป

 

นายสมคิด หอมเนตร จึงเรียนเชิญสมาชิก  ช.พ.ค. 5 - 6 -7 ผู้คำ้ประกัน ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อสรุปแนวทางในการแก้ปัญหานำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี   

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage