กมธ.ศึกษาสว.จัดเสวนา การศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต กับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

 

กมธ.ศึกษาสว.จัดเสวนา การศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต กับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

 

วันนี้ คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา จัดเสวนาเรื่อง "การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : รวมกันอยู่ หรือ แยกกันทำ กับอนาคต (พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ แบ่งเป็นภาคเช้าและภาคบ่าย โดยมีการบรรยายพิเศษหลายเรื่อง อาทิ เรื่องการจัดโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่องโครงสร้างหน่วยงานกับการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับประถศึกษาและระดับมัธยมศึกษา เรื่องการขับเคลื่อนพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

 

ขณะเดียวกัน มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเสวนาในหลายประเด็น เช่น ข้อเสนอการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานในสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงประเด็นการจัดการศึกษา "รวมกันอยู่" หรือ "แยกกันทำ" อะไรคือ ประเด็นสำคัญ (หัวใจ) ของคุณภาพการศึกษาโดยการจัดเสวนาครั้งนี้

 

นายเฉลา พวงมาลัย โฆษกกรรมาธิการการศึกษา และ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมมาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมเปิดงานเสวนากล่าวว่า โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 258 จ. ได้บัญญัติให้มีการดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาครอบคลุมให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา เพื่อให้ได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาสมกับวัย โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายโดยดำเนินการตามกฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุน เพื่อลดความเหลือมล้ำทางการศึกษาให้มีกลไกและระบบการผลิตคัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ให้เป็นผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครูมีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการสอน

 

ประกอบกับคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 19 / 2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในส่วนภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและสามารถเชื่อมโยง บูรณาการภารกิจในการจัดการศึกษาของประเทศ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปการศึกษา ให้สามารถขับเคลื่อนได้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ

 

อย่างไรก็ตาม จากรายงานพิจารณาศึกษาเรื่องข้อเสนอเชิงนโยบายการแก่ไขการบริหารจัดการโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาค ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา พบว่า การดำเนินงานของหน่วยงานตามโครงสร้างรูปแบบใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการ ไม่สามารถขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติจริงได้ อีกทั้งด้วยกฎหมายและการดำเนินการก็ยังไม่สามารถทำให้การปฏิรูปการศึกษาของชาติประสบความสำเร็จ ส่งผลการศึกษาไทยยังคงมีคุณภาพที่ตกต่ำและมีความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นในปัจจุบัน

 

รวมถึงปัญหาของระบบการศึกษายังเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาประเทศ จึงเป็นที่มาของจัดการเสวนาครั้งนี้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา รวมถึงข้อเสนอการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ จึงถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องเร่งแก่ไขปัญหา

 

ซึ่งจากการลงพื้นที่ของวุฒิสภาประชาชนได้สะท้อนความเห็นมาว่าการศึกษาไทยไม่คืบหน้า จึงต้องระดมความคิดเห็นร่วมกันว่าจะทำอย่างไรที่จะช่วยกันให้การศึกษาไทยมีทิศทางที่ดีขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า โลกของการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปและมีความผันผวนมากขึ้น ทำให้การศึกษาต้องปรับตัวและส่งผลต่ออาชีพในอนาคต ด้วยโลกอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลง แต่พรบ.การศึกษา การศึกษาไทยกลับไม่เปลี่ยนเลย โดยภาคการศึกษาไทยยังไม่เคยพูดคุยกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อผลิตบุคลากร เข้าไปเติมเต็ม

 

จนในปัจจุบันเริ่มเห็นการใช้งานจากเครื่องจักรกลเพื่มขึ้นแทนตัวบุคคล ขณะที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับ "โลกเดือด" คือ สิ่งแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนไปกับการจัดการศึกษาอย่างไรให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน

 

โดยเฉพาะความเชื่อมั่นระหว่างครูผู้ปกครองและเทคโนโลยี ซึ่งไทยมีความพยายามทำการศึกษาให้เป็นระบบแต่ระบบของไทยก็แปลก ยึดตามแผนใน 3 ระดับ กลับไม่ได้จัดสำดับความสำคัญ ทำให้เวลาขับเคลื่อนทุกระดับกลับเท่ากันและทำงานกันไปคนละทิศทาง

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage