สสส.-สคอ. ชวนฉลองปีใหม่ 67 กลับบ้านปลอดภัย ปล่อยแคมเปญ “ยิ่งดื่มนาน สมองยิ่งเสี่ยง ดื่มไม่ขับ”

 

บทความพิเศษโดย  คอลัมนิสต์ Edu-Healthcare

สสส.-สคอ. ชวนฉลองปีใหม่ 67 กลับบ้านปลอดภัย ปล่อยแคมเปญ ยิ่งดื่มนาน สมองยิ่งเสี่ยง ดื่มไม่ขับ” 

เราทุกคนล้วนคนที่รักรออยู่ที่บ้านปีใหม่กลับบ้านปลอดภัยคำเชิญชวนและรณรงค์ของ สสส.-สคล. ล้วนปรารถนาให้ประชาชนกลับบ้านอย่างมีความสุข เพื่อพบครอบครัวที่รักและห่วงใยรออยู่ 


การเดินทางไม่ว่าใกล้ หรือไกล มีโอกาสเสี่ยงต่ออุบัติเหตุแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลซึ่งพบว่าสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับแรกมาจาก
ความเร็วและรองลงมาคือดื่มแอลกอฮฮล์” 

 



เมื่อกลางเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) และภาคีเครือข่าย แถลงข่าว ยิ่งดื่มนาน สมองยิ่งเสี่ยง ดื่มไม่ขับ ปีใหม่ 2567 เน้นย้ำรณรงค์ช่วงเทศกาลสำคัญ ดร.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สสส. กล่าวถึงการขับเคลื่อนงานด้านรณรงค์ลดอุบัติเหตุว่า  

 

เราสูญเสียประชากรจากอุบัติเหตุทางถนนราวๆ 17,000 คนต่อปี แม้ว่าจำนวนการสูญเสียจะลดลงเรื่อยๆ ตลอดการทำงานแบบบูรณาการแบบมีระบบ ทั้งเรื่องคน ถนน ยานพาหนะ สภาพแวดล้อม สสส.สคล.และภาคีเครือข่ายร่วมกันสร้างความตระหนักด้วยกันมาตลอด เราก็คาดหวังว่าไม่อยากให้เกิดความสูญเสีย อยากส่งทุกคนให้กลับบ้านอย่างปลอดภัยในช่วงเทศกาล ภาคีเครือข่ายจึงทำงานหนักกันทั้งปีขับเคลื่อนทั้งด้านวิชาการ นโยบาย ผลักดันกฎหมาย รวมถึงสร้างกระแสสังคมให้ตระหนักเรื่องการดื่มไม่ขับ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิต” 

 

 

ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส. เล่าต่อว่า เพื่อฉลองปีใหม่นี้อย่างปลอดภัย และมีความสุข สสส. ได้ผลิตสปอตโฆษณา 2 เรื่อง เกิดอะไรขึ้นกับ "สมอง" ? เมื่อคุณ ดื่มแล้วขับ ! รณรงค์ให้ผู้ขับขี่ตระหนักถึงอันตราย ลด ละ เลิกพฤติกรรมดื่มแล้วขับ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไม่ประมาท ให้เห็นผลเสียของแอลกอฮอล์ต่อการขับขี่ที่ผลกระทบต่อสมอง และส่งผลต่อการขับขี่ จึงได้พัฒนาแคมเปญ ดื่มไม่ขับ : ดื่มเหล้าเมาถึงสมอง สื่อสารผลเสียของแอลกอฮอล์ ที่ส่งผลต่อสมอง ทำให้ตอบสนองช้าลง ตัดสินใจเบรกรถไม่ทัน และกะระยะในการขับขี่ผิดพลาด

 
นอกจากนี้ภาคีเครือข่ายร่วมกันสานพลังอย่างเข้มข้นมากขึ้นพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะ รณรงค์ป้องกันปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเข้มข้นใน 189 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 35 อำเภอ 20 จังหวัด เครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับร่วม 100 เครือข่าย ทั่วประเทศ ร่วมรณรงค์ในพื้นที่ และเครือข่ายสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) ทั่วประเทศ เพิ่มความเข้มข้นเฝ้าระวังช่วงปีใหม่ โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยว เน้นมาตรการดูแลดื่มไม่ขับ-ไม่ขับเร็ว-สวมหมวกนิรภัย

 

 

มีข้อมูลที่น่าสนใจระหว่างผู้ดื่มแอลกอฮอล์แล้วเกิดอุบัติเหตุ กับผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์แล้วเกิดอุบัติเหตุ พบว่าผู้ดื่มแอลกอฮอล์แล้วเกิดอุบัติเหตุนั้นมีเลือดออกทางสมองเยอะและหยุดไหลยากกว่า เสี่ยงพิการและเสียชีวิตมากกว่าคนปกติ นพ.ประชา กัญญาประสิทธิ์ ศัลยแพทย์ระบบประสาและลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม จ.เชียงใหม่ ให้ข้อมูล และเล่าต่อว่า ทุกๆ 10 นาทีคนไทยเสียชีวิตจากเหล้า 1 คน ซึ่งเหล้าเป็นภัยร้ายต่อร่างกายโดยเฉพาะสมอง และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตในอันดับแรกๆ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และความพิการจากอุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากการดื่มเหล้า 

 

 

คนไทยติดเหล้าราวๆ  2 ล้านกว่าคน และ 24% ของคนกลุ่มนี้ก่อการคุกคามทางเพศ รวมถึงทำร้ายคนรอบข้าง สูญเสียทั้งเศรษฐกิจครอบครัวและสุขภาพ ซึ่งการดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วันละ 1 แก้ว มีผลทำให้สมองเสื่อม เซลล์สมองจะหายไปทั้งในส่วนความฉลาด อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และการตัดสินใจ เมื่อคนดื่มเหล้าแล้วเกิดอุบัติเหตุจะก่อให้เกิดความพิการมากกว่าคนปกติ

 

 


ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ย้ำถึงการทำงานขับเคลื่อนอุบัติเหตุว่า แม้ว่าอันดับการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยจะลดลงมาเป็นอันกับที่ 17 จากอันดับแรกๆ ของโลก สคอ.และภาคีเครือข่ายยังคงทำงานอย่างเข้มข้นตลอดทั้งปี รณรงค์ทุกรูปแบบ ผลิตสื่อต่างๆ เพื่อให้เครือข่ายทั้งประเทศสามารถนำไปใช้ในการรณรงค์ได้ ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงช่วงเทศกาลเท่านั้น และกระจายสื่อไปยังเครือข่ายโรงงานเอกชนที่มีผู้ใช้แรงงานมากกว่า 20 ล้านคนในทุกจังหวัด ให้กลับบ้านและกลับมาทำงานอย่างปลอดภัย และหวังว่าตัวเลขการเสียชีวิตและอุบัติเหตุของคนไทยจะลดลงในทุกปี และจากการอนุญาตให้เปิดสถานบริการได้ถึงตี 4 ขอให้ผู้เกี่ยวข้องยึดมั่นในเงื่อนไขตามกฎกระทรวงมหาดไทย และนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการห้ามขายคนอายุต่ำกว่า 20 ปี – คนเมา ตรวจแอลกอฮอล์คนขับก่อนกลับ หากเกิน 50 mg% จัดที่พักคอย หากไม่รอให้ติดต่อเพื่อนหรือ ญาติพากลับ หรือจัดหารถส่งลูกค้า จะช่วยลดผลกระทบความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนได้