“เลือกสมาชิกวุฒิสภา” กลุ่มการศึกษา “กมล รอดคล้าย” ติดเฉียดฉิว “บุญรักษ์-ธนชน-ณรินทร์” สำรอง “อัมพร-องค์กร-วัฒนา” ไม่ผ่าน “กกต.จ่อสอบฮั้วโหวต”

 

“เลือกสมาชิกวุฒิสภา” กลุ่มการศึกษา “กมล รอดคล้าย” ติดเฉียดฉิว “บุญรักษ์-ธนชน-ณรินทร์” สำรอง อัมพร-องค์กร-วัฒนา” ไม่ผ่าน “กกต.จ่อสอบฮั้วโหวต”

 

วิชชา เพชรเกษม : รายงาน

 

ในที่สุดก็ได้เห็นโฉมหน้า ‘ว่าที่ สว.’ จำนวน 200 คน และสำรองอีก 100 ราย กันแล้วว่า ใครเป็นใคร หลัง กกต. ได้นับคะแนนเลือก สว. ระดับประเทศ ด้วยกติกา “เลือกกันเอง” ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 รอบสุดท้าย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567 ที่ศูนย์การประชุมอิมแพ็คฟอรั่ม อาคาร 4 เมืองทองธานี จ.นนทบุรี เสร็จสิ้นในเวลาประมาณ 03.30 น. ของวันที่ 27 มิถุนายน 2567

 

ซึ่งนายแสวง บุญมี เลขาธิการกกต. ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกสว.ระดับประเทศ แถลงสรุปภาพรวมการเลือกสว.ระดับประเทศ ว่า  ผลคะแนนผู้ที่ได้รับเลือกเป็นสว. 200 ราย และสำรองอีก 100 ราย ได้แจ้งกับกกต.แล้ว ซึ่งต้องรอไว้ไม่น้อยกว่า 5 วัน คือนับตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. เป็นต้นไป จึงจะประกาศการเลือกสว.

 

อย่างไรก็ตาม EDUNEWSSIAM ขอรายงานเฉพาะผลการนับละแนนในการลงคะแนนเลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน สาย ง กลุ่มที่ ๓ คือ กลุ่มการศึกษา ซึ่งหมายถึงผู้เป็นหรือเคยเป็นครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษาแล้ว ยังหมายถึง ผู้เป็นหรือเคยเป็นนักวิชาการศึกษา-นักวิชาการอิสระ  ผู้เป็นหรือเคยเป็นนักวิชาการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ - เอกชน ในสังกัดองค์กร อื่น ๆ ด้วย   

 

ตามกติกา สำหรับผู้ได้รับคะแนนสูงสุด กลุ่มที่ ๓ เรียงตามลำดับสิบคนแรก จะเป็นผู้ได้รับเลือกระดับประเทศ และ ผู้ที่อยู่ในอันดับที่สิบเอ็ดถึงอันดับที่สิบห้า เป็นผู้ได้รับเลือกระดับประเทศในลำดับสำรอง และในกรณีที่ในลำดับใด มีผู้ได้คะแนนเท่ากัน จนเป็นเหตุให้มีผู้ได้คะแนนสูงสุดเกินสิบห้าคน ให้ผู้ซึ่งได้คะแนนเท่ากันดังกล่าว จับสลากกันเองว่า ผู้ใดจะได้รับเลือกระดับประเทศและอยู่ในบัญชีสำรองในกลุ่มนั้น  

 

แน่นอนว่า กลุ่มที่ ๓ คือ กลุ่มการศึกษา ย่อมได้รับความสนใจจาก ครูและบุคลากรทางการศึกษา กล่าวสำหรับคนในแวดวงในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการเปิดตัวผู้สมัครผ่านสื่อออนไลน์อย่างคึกคัก น่าสนใจยิ่งไม่แพ้กลุ่มอื่น เช่นกัน

 

ซึ่งก่อนมาถึง ผลในการเลือก ด้วยกติกา “เลือกกันเอง” ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 รอบสุดท้าย มาดูผลคะแนนกันว่าใครบ้างที่เข้ารอบก่อนหน้านี้แบบมีความหวัง ด้วยคะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับสี่สิบคนแรก ดังนี้

 

นายเพ็ญศักดิ์ แจ้งเหตุผล ๓๕ ( สามสิบห้าคะแนน )

นายสมทบ ถีระพันธ์ ๓๑ ( สามสิบเอ็ดคะแนน )  

นายสามารถ รังสรรค์ ๓๑ ( สามสิบเอ็ดคะแนน )  

นายโสภณ ผาสุก ๓๑ ( สามสิบเอ็ดคะแนน )

นายนิฟาริด ระเด่นอาหมัด ๓๐ ( สามสิบคะแนน )  

นายบุญรักษ์ ยอดเพชร ๓๐ ( สามสิบคะแนน )

นายวิวัฒน์ รุ้งแก้ว ๓๐ ( สามสิบคะแนน )  

นายสุเทพ สังข์วิเศษ ๓๐ ( สามสิบคะแนน )  

นายอัษฎางค์ แสวงการ ๓๐ ( สามสิบคะแนน )  

นางจันทวี จันตาศรี ๒๙ ( ยี่สิบเก้าคะแนน )

 

นางอรทัย มุลคำ ๒๙ ( ยี่สิบเก้าคะแนน )

นายณรินทร์ ชำนาญดู ๒๘ ( ยี่สิบแปดคะแนน )

นายเกรียงศักดิ์ หลีเจริญ ๒๗ ( ยี่สิบเจ็ดคะแนน )

นางลออ ยาฉาย ๒๖ ( ยี่สิบหกคะแนน )

นายอัมพร พินะสา ๒๖ ( ยี่สิบหกคะแนน )

นายสุทิน แก้วพนา ๒๕ ( ยี่สิบห้าคะแนน )  

นายนิสิต เนินเพิ่มพิสุทธิ์ ๒๔ (ยี่สิบสี่คะแนน )

นายปรีชา พัวนุกูลนนท์ ๒๒ ( ยี่สิบสองคะแนน )

นายสมจิต สุวรรณบุษย์ ๒๒ ( ยี่สิบสองคะแนน )

นายชลำ อรรถธรรม ๒๐ ( ยี่สิบคะแนน )

 

นายธนชน มุทาพร ๑๙ ( สิบเก้าคะแนน )  

นายธีระศักดิ์ สุวรรณปัญญา ๑๙ ( สิบเก้าคะแนน )

นายกมล รอดคล้าย ๑๘ ( สิบแปดคะแนน )  

นายชาตรี อัครสุขบุตร ๑๘ ( สิบแปดคะแนน )

นายบพิตร โสมณวัฒน์ ๑๘ (สิบแปดคะแนน )

นายสมนึก อ่ำพันธ์ ๑๘ ( สิบแปดคะแนน )

นายสุริยาวุธ บุญดี ๑๘ ( สิบแปดคะแนน )

นายองค์กร อมรสิรินันท์ ๑๘ ( สิบแปดคะแนน )  

นายธนภัทร น้อยมาลา ๑๗ ( สิบเจ็ดคะแนน )

นายวัฒนา วรรณโสภา ๑๗ ( สิบเจ็ดคะแนน )

 

นายสำราญ บุษย์จันทร์ ๑๗ ( สิบเจ็ดคะแนน )

น.ส.จิตรา พีชะพัฒน์ ๑๖ ( สิบหกคะแนน )  

นายปราโมทย์ แก้วสุข ๑๖ ( สิบหกคะแนน )

นายไพศาล ไหวฉลาด ๑๖ ( สิบหกคะแนน )

น.ส.แววตา ตันเทอดทิตย์ ๑๖ ( สิบหกคะแนน )

นายบุญธรรม เดชบุญ ๑๕ ( สิบห้าคะแนน )

นายวัฒนา มิตรวงศ์ ๑๕ ( สิบห้าคะแนน )  

นางศิริภัฎชค์ ปิ่นแก้ว ๑๕ ( สิบห้าคะแนน )

นายชุมพล คำปา ๑๔ ( สิบสี่คะแนน )

นายปริญญา วงษ์เชิดขวัญ ๑๔ ( สิบสี่คะแนน )

 

 

อย่างไรก็ตามเมื่อ “เลือกกันเอง” โดยนับคะแนนจากผู้มีสิทธิเลือกตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก ๔๐ คน เสร็จสิ้น ในเวลาประมาณ 03.30 น. ของวันที่ 27 มิถุนายน 2567 สาย ง กลุ่มที่ ๓ แล้ว ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับสิบคนแรก จะเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นสว. และ ผู้ที่อยู่ในอันดับที่สิบเอ็ดถึงอันดับที่สิบห้า เป็นผู้ได้รับเลือกในลำดับสำรอง ในกรณีที่ในลำดับใดมีผู้ได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้มีผู้ได้คะแนนสูงสุดเกินสิบห้าคน ให้ผู้ซึ่งได้คะแนนเท่ากันดังกล่าว จับสลากกันเองว่าผู้ใดจะได้รับเลือกระดับประเทศและอยู่ในบัญชีสำรองในกลุ่มนั้น  

 

 

ปรากฏว่า สิบคนแรกเป็นผู้ได้รับเลือก ‘สว.’ (สมาชิกวุฒิสภา) ระดับประเทศ กลุ่มอาชีพ เลือกกันเอง” สายการศึกษา มีดังนี้

 

นายอัษฎางค์ แสวงการ ๖๙ ( หกสิบเก้าคะแนน)

นายสมทบ ถีระพันธ์ ๖๔ ( หกสิบสี่คะแนน )

นายวิวัฒน์ รุ้งแก้ว ๖๓ ( หาสิบสามคะแนน )

นายสุเทพ สังข์วิเศษ ๖๒ ( หกสิบสองคะแนน )

นายโสภณ ผาสุข ๖๐ ( หกสิบคะแนน )

นายสามารถ รังสรรค์ ๕๙ ( ห้าสิบเก้าคะแนน )

นายนิฟาริด ระเด่นอาหมัด ๒๗ ( ยี่สิบเจ็ดคะแนน )

นายสุทิน แก้วพนา ๒๕ ( ยี่สิบห้าคะแนน )

นายปริญญา วงษ์เชิดขวัญ ๒๒ ( ยี่สิบสองคะแนน )

นายกมล รอดคล้าย ๒๐ ( ยี่สิบคะแนน )

 

ผู้ที่อยู่ในอันดับที่สิบเอ็ดถึงอันดับที่สิบห้า เป็นผู้ได้รับเลือกระดับประเทศในลำดับสำรอง กรณีที่ในลำดับใดมีผู้ได้คะแนนเท่ากัน ผู้ใดจะได้รับเลือกระดับประเทศและอยู่ในบัญชีสำรองในกลุ่ม ให้จับสลากกันเอง ได้แก่

 

นางอรทัย มูลคำ ๑๘ ( สิบแปดคะแนน ) สำรอง

น.ส.จิตรา พีชะพัฒน์ ๑๖ ( สิบหกคะแนน ) สำรอง

นายธนชน มุทาพร ๑๕ ( สิบห้าคะแนน ) สำรอง

นายบุญรักษ์ ยอดเพชร ๑๕ ( สิบห้าคะแนน ) สำรอง

นายณรินทร์ ชำนาญดู ๑๒ (สิบสองคะแนน ) สำรอง

 

ขณะที่ผู้ที่เคยได้คะแนนสูงในรอบที่ผ่านมา กลับไม่ผ่าน กลุ่มอาชีพ “เลือกกันเอง” อาทิ

 

นายสมจิต สุวรรณบุษย์ ๑๒ คะแนน นายชลำ อรรถธรรม ๑๑ คะแนน นายธีระศักดิ์ สุวรรณปัญญา ๑๑ คะแนน นายปรีชา พัวนุกูลนนท์ ๑๑ คะแนน นายวัฒนา มิตรวงศ์ ๑๐ คะแนน  นายวัฒนา วรรณโสภา ๑๐ คะแนน  นายอัมพร พินะสา ๑๐ คะแนน นายนิสิต เนินเพิ่มพิสุทธิ์ ๙ คะแนน นายองค์กร อมรสิรินันท์ ๙ คะแนน  น.ส.แววตา ตันเทอดทิตย์ ๘ คะแนน นายบุญธรรม เดชบุญ ๗ คะแนน นายเพ็ญศักดิ์ แจ้งเหตุผล ๗ คะแนน

 

ซึ่งจากผลการนับคะแนน ปรากฎว่า ผู้สมัครตัวเต็งอดีตคนดังในกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีผลงานโดดเด่นเกี่ยวกับการศึกษา อย่าง นายวัฒนา วรรณโสภา อดีตรองเลขาคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา (สกศค.) นายอัมพร พินะสา อดีตเลขาธิการ กพฐ.และ นายองค์กร อมรสิรินันท์ อดีตเลขาธิการคุรุสภา กลับไม่ได้รับเลือกในครั้งนี้

 

ขณะที่ นายบุญรักษ์ ยอดเพชร อดีตเลขาธิการ กพฐ. นายธนชน มุทาพร อดีตผู้บริหาร ร.ร.มัธยมฯ และ นายณรินทร์ ชำนาญดู อดีตผู้บริหาร ร.ร.มัธยมฯ ระดับจังหวัด มีชื่อติดลำดับสำรอง ใน 100 คน

 

อนึ่ง นายแสวง บุญมี เลขาธิการกกต. ได้แถลงถึงเรื่องร้องเรียนการเลือกสว.ระดับประเทศ ว่า ขณะนี้ มีทั้งหมด 614 เรื่อง จำแนกเป็นเรื่องการร้องเรียนคุณสมบัติให้ลบชื่อ 400 กว่าเรื่อง หรือคิดเป็น 65 เปอร์เซ็น และร้องเรื่อง ความไม่สุจริต ให้เงิน ให้ทรัพย์สินตามมาตรา 77 พ.ร.ป. ว่าด้วยการได้มาซึ่งสว. 14 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 4% เป็นการร้องเรื่องการทุจริต ให้ลงคะแนน จ้างสมัคร เรียกรับ ให้ เพื่อลงคะแนน รวมถึงการนับคะแนน เจ้าหน้าที่ขานคะแนน ต้องตรวจสอบอยู่แล้ว

 

“แต่ตรวจสอบแล้วก็ต้องดูว่าเข้าความผิดตามกฎหมายหรือไม่ โดยพยายามจะเอากฎหมายมาใช้ให้ได้เพื่อให้การเลือกตั้งสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งในกรณีที่บอกว่า “มีโพย” มี “บล็อกโหวต” แต่ก็ไม่มีใครกล้าพูดคำว่าผิดกฎหมายสักคน มีแต่คนพูดว่า เป็นข้อสังเกต เท่านั้น ” นายแสวง บุญมี กล่าว

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage