สิ้น ‘ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้ว’ ปราชญ์เมืองเพชรบุรี

 

 

สิ้น ‘ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้ว’

ปราชญ์เมืองเพชรบุรี

 

เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 29 กรกฎาคม 2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก รศ.สุนันท์ นีลพงษ์ นายกสมาคมกลุ่มคนรักเมืองเพชร บุตรสาว ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้ว หรือ “อาจารย์ล้อม” อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นักปราชญ์ นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น อดีตคอลัมนิสต์หนังสือศิลปวัฒนธรรมในเครือมติชน และอดีตนายกสมาคมสื่อมวลชนเพชรบุรี เสียชีวิตด้วยอาการสงบด้วยโรคไต ที่โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จ.เพชรบรี สิริอายุ 88 ปี

 

ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้ว หรือ “อาจารย์ล้อม” เกิดเมื่อ วันที่ ธันวาคม 2479 ที่ ต.ชะมวง (ปัจจุบันคือ ต.ควนขนุน) อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นบุตรของ นายหรอด-นางนวล เพ็งแก้ว มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 12 คน


เมื่อแรกเกิดบิดาตั้งชื่อให้ว่า “ไข่” แต่พอไปแจ้งเกิดกับ ขุนอุปถัมภ์นรากร (พุ่ม ช่วยพูนเงิน) กำนันตำบลชะมวง อ.ควนขนุน ในขณะนั้น ได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า “ล้อม” ได้เข้าศึกษาที่ โรงเรียนประชาบาลตำบลชะมวง อ.ควนขนุน จนจบชั้น ป.และเข้าศึกษาต่อในระดับประโยคมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนช่วยมิตร อ.ควนขนุน จนจบชั้น ม.โรงเรียนช่วยมิตร อ.ควนขนุน,

 

ปี 2497 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศรับสมัครนักเรียนเข้าเรียนที่ โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อาจารย์ล้อมจึงไปสมัครเข้าเรียนและสามารถสอบผ่านได้เป็นนักเรียนทุนของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเรียนอยู่ที่โรงเรียนแห่งนี้ได้ไม่ถึงหนึ่งเดือน ก็ถูกคัดให้ไปเป็นนักเรียนประจำที่ โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร ตั้งอยู่หลังกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร) เรียนจบหลักสูตรประโยคครูประถม (ปป.) ในปี 2500

 

จากนั้นเรียนต่อที่ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร) ขณะเรียนอยู่ อาจารย์ล้อมยังได้เขียนกลอนลงตีพิมพ์ในนิตยสารสตรีสาร และ สกุลไทย อีกด้วย กระทั่งสำเร็จหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขามัธยมศึกษาปี 2504 และได้รับตำแหน่งอาจารย์ตรี สอนวิชาภาษาไทย ที่โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรี เมื่อวันที่ มิถุนายน 2504 โดยทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาไทย 

 

ต่อมาใน ปี 2511 กรมการฝึกหัดครู ได้เปิดสาขาวิทยาลัยวิชาการศึกษาที่ต่างจังหวัด อาจารย์ล้อมได้รับคำสั่งจากจังหวัดเพชรบุรี (ขณะนั้นโรงเรียนฝึกหัดครูยังขึ้นกับจังหวัด) ให้ไปช่วยราชการที่วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม จ.มหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2511

 

ซึ่งอาจารย์ล้อม ถือเป็นรุ่นบุกเบิก มีส่วนสำคัญในการดูแลงานด้านการวางผังมหาวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ทั้งด้านสิ่งก่อสร้าง ด้านอาคารสถานที่ ได้อย่างเข้มแข็ง รวมถึงบุกเบิกการเรียนการสอนภาษาไทยตั้งแต่ปีแรกของการก่อตั้งวิทยาลัย โดยทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้สอนและหัวหน้าภาควิชา จนสามารถเปิดสอนวิชาเอกภาษาไทย หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

 

โดยอาจารย์ล้อม อยู่ช่วยงานด้านบริหารและด้านวิชาการ ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาแห่งนี้ นานถึง 5 ปี กระทั่งในปี 2516 ได้ย้ายกลับมาต้นสังกัดเดิมที่วิทยาลัยครูเพชรบุรี (ซึ่งย้ายจากวัดเกตุมาตั้งอยู่ที่ ต.นาวุ้ง อ.เมืองเพชรบุรี พ.ศ.2506)

 

ในปี 2518 ทางราชการปรับข้าราชการพลเรือนเป็นระบบซี อาจารย์ล้อมได้ทำผลงานเสนอคุรุสภาได้ปรับเป็นอาจารย์ 3 ระดับ 7 และได้ปรับเป็นระดับ 8 โดยอัตโนมัติเพราะขั้นเงินเดือนสูงถึง  

 

ต่อมา อาจารย์ล้อมได้เสนอผลงานทางวิชาการ เพื่อขอปรับตำแหน่งเป็น ระดับ 9 ตามสิทธิ์ และกระทรวงศึกษาธิการ มีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ระดับ 9 เป็นคนแรกของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 9 ที่มีอายุน้อยที่สุดของกรมฯ ในขณะนั้นอีกด้วย

 

อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว รับราชการครูอยู่ที่วิทยาลัยครูเพชรบุรี ต่อมายกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏเพชรบุรี จนเกษียณอายุราชการในปี 2540

 

อาจารย์ล้อม เป็นอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผู้เชี่ยวชาญทางภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาไทยหลายแขนง เป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ที่ได้รับการขนานนามว่า "ปราชญ์ชาวบ้าน" หรือ "ปราชญ์เมืองเพชร"

 

อาจารย์ล้อมพบรักกับ ผศ.เบ็ญจา เพ็งแก้ว และแต่งงานมีบุตร-ธิดาด้วยกัน 7 คน คือ น.ส.กมลพรรณ (ใหญ่) - น.ส.พรรณประไพ (เล็ก) - น.ส.นิพัทธ์พร (เอียด) - น.ส.ก่องแก้ว (แก้ว) - น.ส.กนิษฐา (ก้อย) - นายขับพล (ก้อง) และ น.ส.รจน์ (กิ่ง) เพ็งแก้ว

 

อาจารย์ล้อมนอกจากจะเป็นครูถ่ายทอดวิชาภาษาไทย ให้แก่ศิษย์ในสถาบันแล้ว ยามว่างเว้นจากงานราชการ ยังลงพื้นที่ไปหาผู้รู้ตามชุมชนต่าง ๆ เพื่อศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน และเรียนรู้งานศิลปวัฒนธรรมตามวัดวาอาราม พร้อมนำสิ่งที่รู้มานำเสนอในรูปแบบของการเขียนลงใน “หนังสือพิมพ์สาส์นเพชร” ที่มี นายชลอ ช่วยบำรุง เป็นเจ้าของและบรรณาธิการ

 

 

ขณะนั้นแพทย์ตรวจพบว่านายล้อมป่วยเป็นโรคตับและโรคไตวายเรื้อรัง ต้องรักษาด้วยการฟอกไต จึงซื้อบ้านพักอาศัยที่ซอยประสานสุข ถนนบริพัตร ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี และใช้ความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ต่อสังคม ท้องถิ่น และประเทศชาติ ด้วยการเขียนผลงานวิชาการตลอดมามิได้ขาดใน วิทยาสารวิทยาจารย์ฟ้าเมืองไทยฟ้าคุรุปริทัศน์มติชนศิลปวัฒนธรรมเมืองโบราณสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์เพชรภูมิเพชรนิวส์ ฯลฯ

 

อีกทั้งยังมีผลงานรวมเล่มที่พิมพ์เผยแพร่แล้วได้แก่ พระรถนิราศวิวาทศิลป์ว่ายเวิ้งวรรณคดีภาษาสยามค้นคำภูมิพื้นภาษาไทยดาวประจำเมืองนครสนทรภู่ : อาลักษณ์เจ้าจักรวาลเสน่ห์สำนวนไทยคู่มือพุทธประวัติเพราะได้เห็น จึงได้คิด และผลงานต่างๆ อีกมากมาย

 

ต่อมาใน ปี 2548 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้แต่งตั้งนายล้อมให้เป็น "เกตุทัต ศาสตราภิชาน" และได้รับการเชิดชูเกียรติต่างๆ มากมาย อาทิ

 

ปี 2550 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เชิดชูเกียรติเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทยมหาวิทยาลัยศิลปากร มอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชามานุษยวิทยา ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาไทยหลายแขนงอย่างลึกซึ้ง

 

ในปีเดียวกัน มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มอบ ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชามานุษยวิทยา ในฐานะ ผู้เชี่ยวชาญทางภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาไทยหลายแขนงอย่างลึกซึ้ง

 

ในปี 2559 ได้รับปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย ประจำปีการศึกษา 2558 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

 

อีกทั้งยังได้รับเชิญจากหนังสือพิมพ์มติชน ให้เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญ จัดทำพจนานุกรม ฉบับมติชน และ เป็นนายกสมาคมสื่อมวลชนเพชรบุรี คนที่ ต่อจาก นางประโยชน์ สุนทรวาทะ ซึ่งเป็นนายกก่อตั้งของสมาคมฯ และตำแหน่งอื่น ๆ อีกมากมาย

 

หลังจากนั้น ได้ซื้อบ้านเก่าเตรียมขนย้ายไปปลูกที่บ้านเกิดตำบลควนขนุน แต่เนื่องจากแพทย์ตรวจพบว่าอาจารย์ล้อมกำลังป่วยเป็นโรคตับและโรคไตวายเรื้อรัง ต้องอยู่รักษาด้วยการฟอกไต เป็นเหตุให้ต้องขายไม้ทรงไทยบ้านเก่า ที่เตรียมไว้ให้ กับ นายทวีโรจน์ กล่ำกล่อมจิตต์ นำไปปลูกเป็นมิวเซียมเพชรบุรีอยู่จนทุกวันนี้

 

เมื่อตัดสินใจต้องอยู่ที่เพชรบุรีแล้ว แต่อาจารย์ล้อมก็ไม่ได้วางมือ หรือหยุดนิ่งต่อการทำงาน ยังคงใช้ความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ต่อสังคม ท้องถิ่น และประเทศชาติสืบต่อมา

 

ครอบครัว "เพ็งแก้ว" ได้แจ้งกำหนดการรดน้ำศพ เวลา 16.00 น. พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เวลา 17.00 น. ในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม และกำหนดสวดพระอภิธรรมตั้งแต่วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม-สิงหาคม เวลา 19.00 น. ณ วัดยาง อ.เมือง จ.เพชรบุรี โดยจะมีพิธีบรรจุศพในคืนสุดท้าย และ รอกำหนดการขอพระราชทานเพลิงศพในโอกาสต่อไป