ไทยอยู่อันดับเท่าใดของโลก ดัชนี วัดความก้าวหน้าเอไอ ปี 2024

 

ไทยอยู่อันดับเท่าใด ในดัชนีเทคโนโลยี

ปัญญาประดิษฐ์ โลกปี 2024

 

วิชชา เพชรเกษม : EDUNEWSSIAM 

 

ผลสำรวจ AI Monitor 2024 ของ บริษัท Ipsos เน้นถึงทัศนคติต่อ AI ในภูมิภาคต่าง ๆ รวมถึงในเอเชีย ที่ดำเนินการในช่วงกลางเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม 2024 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจาก 32 ประเทศทั่วโลก จำนวน 23,685 คน พบว่า...

 

ผลการจัดอันดับดังกล่าว สหรัฐ ยังครองผู้นำด้านเอไอของโลก ทิ้งห่างจีนซึ่งอยู่ในอันดับ 2 สิงคโปร์ ยังคงอันดับ 3 แซงหน้าสหราชอาณาจักร อันดับ 4 ขณะที่ ฝรั่งเศส ก้าวขึ้นมาอยู่อันดับ 5 เกาหลีใต้ อยู่อันดับ

 

เมื่อสำรวจถึงทัศนคติต่อ AI พบว่า มีความหลากหลายพอสมควร โดย 53% ของผู้ตอบรู้สึกตื่นเต้น ขณะที่ 50% รู้สึกกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

 

ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียประเทศที่มีความตื่นตัวสูงสุดต่อ AI โดยเฉพาะในประเทศจีน (80%) อินโดนีเซีย (76%) ไทย (76%) และ เกาหลีใต้ (73%) ที่แสดงความสนใจใน AI มากกว่าประเทศอื่น ๆ  

 

ในทางตรงกันข้าม ประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ เช่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ มีแนวโน้มจะระมัดระวังต่อ AI มากกว่า โดย 66% ของชาวนิวซีแลนด์ และ 64% ของชาวออสเตรเลีย รู้สึกกังวลกับเทคโนโลยีนี้

 

เมื่อพิจารณาถึงการรับรู้และเข้าใจใน AI ทั่วโลก พบว่า 67% ของผู้ตอบเชื่อว่า ตนเองมีความเข้าใจใน AI เป็นอย่างดี ซึ่งระดับความคุ้นเคยกับ AI สูงมากจะอยู่ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น Gen Z และ Millennials ที่มีความคุ้นเคยกับ AI ถึง 72% และ 71% ตามลำดับ

 

นอกจากนี้ ผู้คนในเอเชีย ยังตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่ AI จะนำมาในอนาคต โดย 73% เชื่อว่า AI จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขาใน 3-5 ปีข้างหน้า

 

ในแง่ของข้อกังวล 37% ของผู้ตอบเชื่อว่า AI จะทำให้การบิดเบือนข้อมูลออนไลน์ลดลง จะมีเพียง 30% ที่คิดว่า AI จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้  

 

อย่างไรก็ตามโดยรวมแล้ว ผลสำรวจนี้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างในทัศนคติต่อ AI ระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ โดยประเทศในเอเชียให้การยอมรับ AI และมองว่าเป็นโอกาสในการพัฒนา

 

ขณะที่ประเทศในฝั่งตะวันตก แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบเชิงจริยธรรมและสังคมของ AI มากกว่า

 

ทัศนคติเหล่านี้สะท้อนถึงปัจจัยทางวัฒนธรรมและภูมิภาค ที่มีอิทธิพลต่อการมองเห็นอนาคตของ AI ในหลากหลายมิติ

 

กล่าวจำเพาะประเทศไทย ผลสำรวจครั้งนี้ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 43 ของโลก ซึ่งมีเพียง 9 คะแนน นับเป็นอันดับ 3 ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ที่อยู่อันดับ 39 แต่นำหน้าอินโดนีเซีย ที่อยู่ในอันดับ 49 ขณะที่เวียดนามอยู่ในอันดับ 58 และ ฟิลิปปินส์อยู่อันดับ 67  

 

เมื่อพิจารณาอันดับในหมวดย่อยจะพบว่า ไทยมีอันดับที่ดีที่สุด คือ ด้านยุทธศาสตร์ภาครัฐ อยู่อันดับ 16 และ ด้านโครงสร้างพื้นฐานอยู่ในอันดับ 23

 

อย่างไรก็ตาม ด้านอื่น ๆ ของไทย จะอยู่อันดับค่อนข้างต่ำ ด้านระบบนิเวศเชิงพาณิชย์อยู่อันดับ 54 ด้านสภาพแวดล้อมการดำเนินงาน ด้านการวิจัย และด้านการพัฒนาเทคโนโลยี อยู่อันดับ 63

 

หมวดที่น่าเป็นห่วงที่สุด คะแนนประเทศไทยได้น้อยมาก คือ ด้านบุคลากรของไทย มีคะแนนเพียง 3 จาก 100 อยู่อันดับ 66   โดยมีคะแนนด้านนักพัฒนา 5.3 ด้านบุคลากรในวิชาชีพเอไอ 4.3 และด้านนักวิทยาศาสตร์เอไอ 0.6

 

ซึ่งคะแนนหมวดนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในด้านการแข่งขันเทคโนโลยีเอไอ ที่ต้องเน้นบุคลากรที่เก่งและมีจำนวนมากพอ

 

ไม่ว่าผลการจัดอันดับจะเป็นอย่างไร ดัชนีนี้เป็นโอกาสที่ดีในการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของไทยในด้านเอไอเพื่อวางแผนพัฒนาในอนาคต โดยเฉพาะการเร่งพัฒนาบุคลากร