ปักกิ่ง´เปิดฉากประชุม นวัตกรรมการเกษตรและอาหารโลก ประจำปี 2567 นักวิทยาศาสตร์ อธิการบดีมหา´ลัย นักการศึกษา ผู้ประกอบการ

 

ปักกิ่ง´เปิดฉากประชุม นวัตกรรมการเกษตรและอาหารโลก ประจำปี 2567 นักวิทยาศาสตร์ อธิการบดีมหา´ลัย นักการศึกษา ผู้ประกอบการ

 

วิชชา เพชรเกษม : EDUNEWSSIAM รายงาน 

ภาพ : การประชุม WAFI ประจำปี 2567

 

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 กรุงปักกิ่ง เปิดการประชุมนวัตกรรมการเกษตรและอาหารโลก(World AgriFood Innovation Conference หรือ WAFI)  ประจำปี 2567 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน  มีเป้าหมายในการหลอมรวมภูมิปัญญาทั่วโลก เกือบ 800 คนจาก 76 ประเทศและภูมิภาค มาแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปฏิรูประบบอาหาร ณ เขตผิงกู่ของกรุงปักกิ่ง

 

งานนี้มีนักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง อธิการบดีมหาวิทยาลัย นักการศึกษา ผู้ประกอบการ และตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่โดดเด่นในภาคการเกษตร กว่า 100 ราย มาร่วมนำเสนอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน หัวข้อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปฏิรูประบบเกษตรและอาหาร

 

รวมถึง Beidahuang, Dong'e Ejiao, ShouNong, Case New Holland, WBCSD, Oriental Selection และ Bayer ร่วมนำเสนอผลงานล้ำสมัย เทคโนโลยีชั้นนำ โมเดลที่ก้าวหน้า โครงการคุณภาพ และผลิตภัณฑ์ที่มีความก้าวล้ำในภาคการเกษตรระดับโลก

 

การประชุม WAFI 2567 ครั้งนี้ สถาบันการศึกษาไม่ใช่เพียงในประเทศจีนสามารถใช้โมเดลของ “จงกวนชุนภาคเกษตรกรรม” เป็นตัวอย่างในการพัฒนาศูนย์นวัตกรรมทางการเกษตรของตนเองเท่านั้น แต่ยังจะช่วยสร้างโอกาสให้นักศึกษาและนักวิจัย ได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และ แก้ปัญหาด้านการเกษตรโดยตรงในระดับท้องถิ่นและนานาชาติ อีกด้วย

 

❝...น่าเสียดายที่สถาบันการศึกษาไทย ตลอดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ กระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงอุดมศึกษา (อว.) หรือผู้แทนที่ดูแลรับผิดชอบสถาบันการศึกษาในสังกัดที่เปิดการเรียนการสอนการเกษตร ไม่มีโอกาสเข้าไปเห็นวิธีการประชุมระดับนานาชาติ ที่มีความจริงจังและเห็นคุณค่าของเวลาการประชุมเพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับปัญหาท้าทายต่าง ๆ ให้ก้าวหน้าไปด้วยกัน มากกว่าพิธีการต้อนรับอย่างอลังการ และจบลงด้วยกระดาษแผ่นเดียวที่มีปฏิญญาที่จะทำร่วมกันในครั้งต่อไป...

 

เพราะอย่างน้อย บทบริบทของการสร้างความมั่นคงทางอาหารในอนาคต ความร่วมมืออย่างลึกซึ้งระหว่างภาคการศึกษากับอุตสาหกรรมและภาครัฐ ยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบการเกษตรที่ทันสมัย ซึ่งจะช่วยให้การศึกษาด้านเกษตรและอาหารของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนสังคมโลกไปสู่ความยั่งยืน

 

 

จาง ซิงหวัง (Zhang Xingwang) สมาชิกคณะผู้นำพรรคฯ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและกิจการชนบทจีน ได้กล่าวในสุนทรพจน์ว่า รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรมาโดยตลอด

 

โดยรัฐบาลจีนส่งเสริมการผนวกรวมกันอย่างลึกซึ้ง ระหว่าง นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรกับนวัตกรรมภาคอุตสาหกรรม จนบรรลุผลสำเร็จได้ในระดับหนึ่งและช่วยสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ทั้งยังทำให้ภาคการเกษตรและชนบททันสมัยขึ้น นอกจากนี้ จงกวนชุนภาคเกษตรกรรม (Agricultural Zhongguancun) ทำให้เกิดความก้าวหน้าในแวดวงการเกษตรอัจฉริยะ และ การเกษตรในโรงเรือนสมัยใหม่

 

เฉิน เจี๋ย (Chen Jie) สมาชิกคณะผู้นำพรรคฯ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการจีน กล่าวว่า จีนจำเป็นต้องเร่งเปิดกว้างในด้านการศึกษาทางการเกษตรและป่าไม้ โดยส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเกษตรของจีน กระชับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และองค์กรชั้นนำระดับโลก อย่างเข้มข้น

 

ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ เพื่อนำเสนอประสบการณ์ของจีนและให้การสนับสนุนด้านบุคลากร เพื่อพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรระดับโลก พร้อมสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือระดับสูง

 

หมู่ เผิง (Mu Peng) รองนายกเทศมนตรีกรุงปักกิ่ง เปิดเผยว่า ปักกิ่งจะมุ่งเน้นไปที่ประเด็นสำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร เสริมสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งเพื่อการศึกษา และบุคลากร อย่างเต็มที่ อีกทั้งจะปรับปรุงสภาพแวดล้อม ให้เอื้อต่อการคิดค้นนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างจงกวนชุนภาคเกษตรกรรม ให้เป็นผู้นำระดับโลก

 

จง เติ้งหัว (Zhong Denghua) เลขาธิการพรรคฯ ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรแห่งประเทศจีน และสมาชิกสภาวิศวกรรมศาสตร์แห่งชาติจีน ชี้ให้เห็นว่า การปฏิรูประบบเกษตรและอาหาร เพื่อรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกนั้น ได้กลายเป็นสิ่งที่ทั่วโลกเห็นพ้องต้องกันไปแล้ว

 

ดังนั้นไม่แปลกที่มหาวิทยาลัยเกษตรแห่งประเทศจีน มุ่งส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารในระดับโลกมาโดยตลอด โดยริเริ่มสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือระหว่างประเทศ พร้อมส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคอุตสาหกรรม การศึกษา และการวิจัยในระดับโลก อย่างลึกซึ้งโดยทางมหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จอย่างมากในการร่วมพัฒนาบุคลากร และจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสูงร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรชั้นนำทั่วโลก ผ่านการประชุม WAFI นี้

 

ซุน ฉีซิน (Sun Qixin) ได้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์สนับสนุนนวัตกรรมในอนาคตที่มหาวิทยาลัยเกษตรแห่งประเทศจีน ว่า พลังนวัตกรรมใหม่ที่มีจงกวนชุนภาคเกษตรกรรมผิงกู่เป็นตัวชูโรงนั้น กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยโครงการท่าเรือนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรแห่งชาติ ซึ่งจะก่อสร้างในเขตผิงกู่ของกรุงปักกิ่ง ก็ใกล้จะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2571

 

โครงการนี้ จะรวมขุมพลังด้านการวิจัยและนวัตกรรมชั้นยอดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบสำหรับการปฏิรูประบบเกษตรและอาหารของโลก และการพัฒนาการศึกษา วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมการเกษตรแบบบูรณาการในอนาคต

 

ขณะที่เฉิง เจี๋ย (Cheng Jie) ประธานบริษัท Dong'e Ejiao จำกัด ได้เปิดตัว "แพลตฟอร์มนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีห่วงโซ่ นานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แห่งประเทศจีน "

 

ส่วนหยู หมินหง (Yu Minhong) ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ New Oriental Education & Technology Group ได้นำเสนอรายงานในหัวข้อ "การไลฟ์สตรีมสินค้าเกษตรเพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูชนบท"

 

 

นอกจากการประชุมนี้ ยังมีการจัดงานแสดงเทคโนโลยีการเกษตรโลก ประกอบด้วยพื้นที่จัดแสดง 6 ส่วนหลัก ได้แก่ โซนนานาชาติ โซนแสดงผลงานเกษตรกรรมสมัยใหม่ โซนเทคโนโลยีการเกษตรแห่งอนาคต โซนบริษัท โซนนำเสนอความก้าวหน้าในการพัฒนาปักกิ่ง-เทียนจิน-เหอเป่ย และโซนสถาบันวิจัย

 

โดยมีผู้ร่วมนำเสนอกว่า 100 ราย รวมถึง Beidahuang, Dong'e Ejiao, ShouNong, Case New Holland, WBCSD, Oriental Selection และ Bayer ซึ่งได้ร่วมนำเสนอผลงานล้ำสมัย เทคโนโลยีชั้นนำ โมเดลที่ก้าวหน้า โครงการคุณภาพ และผลิตภัณฑ์ที่มีความก้าวล้ำในภาคการเกษตรระดับโลก

 

มีผู้ร่วมนำเสนอกว่า 100 ราย รวมถึง Beidahuang, Dong'e Ejiao, ShouNong, Case New Holland, WBCSD, Oriental Selection และ Bayer ซึ่งได้ร่วมนำเสนอผลงานล้ำสมัย เทคโนโลยีชั้นนำ โมเดลที่ก้าวหน้า โครงการคุณภาพ และผลิตภัณฑ์ที่มีความก้าวล้ำในภาคการเกษตรระดับโลก