ศธ.-สสส.จับมือ! สร้างผู้นำรุ่นใหม่ ปูทางปฏิรูปการศึกษาถึงฝั่งฝัน...ล้างภาพปรากฏการณ์ “ผอ.ยกมือไหว้นักเรียน”

สกู๊ป แวดวงการศึกษาครงการผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา (Leadership for Education Change ; LEC) โดยสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพิ่งจัดพิธีปิดการอบรมผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา รุ่น 1 และพิธีเปิดการอบรมผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา รุ่น 3

ซึ่งมีบุคลากรด้านการศึกษา ทั้งจากองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม NGO’s และภาคสื่อสารมวลชน เข้ารับการพัฒนาที่สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดนครปฐม

สกู๊ป แวดวงการศึกษา นายประเสริฐ หอมดี ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา เปิดเผยถึงความเป็นมาโครงการผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา หรือ Leadership for Education Change ; LEC ว่า เป็นโครงการที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ สสส. เรื่องการดำเนินงานด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาสุขภาวะเด็กและเยาวชน

จึงได้จัดทำโครงการผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ซึ่งมีรูปแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ด้านการศึกษาที่มีกระบวนทัศน์ ทักษะ ภาวะผู้นำคุณธรรม จริยธรรม และศักยภาพในการทำงานแบบรวมหมู่ พร้อมเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นและภาคีเครือข่ายในการสร้างสรรค์พัฒนาและเปลี่ยนแปลงการศึกษา เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชนที่มีคุณภาพ

สำหรับลักสูตรที่ดำเนินการพัฒนาประกอบไปด้วย 6 กระบวนการเรียนรู้หลัก ได้แก่  1.การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตน วิสัยทัศน์การพัฒนา ความกล้าหาญทางจริยธรรม 2.การคิดเชิงระบบ ทักษะการเรียนรู้และการจัดการองค์กร การคิดเชิงระบบ ทักษะการเรียนรู้และการจัดการองค์กร 3.การสื่อสารสังคม สื่อสาธารณะเพื่อการเรียนรู้และสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา

4.การสร้างนวัตกรรมในการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา 5.กระบวนทัศน์ทางการศึกษาใหม่ และการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ และ 6. ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษากับการพัฒนาสุขภาวะเด็กและเยาวชน

สกู๊ป แวดวงการศึกษา นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกำกับดูแลสถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา กล่าวเสริมที่มาว่าทำไมต้องมีการคิดเรื่องการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

“เพราะโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงทุกเรื่องและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น อุณหภูมิลดลง 5-10 องศา เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมากอุณหภูมิโลกเปลี่ยน หน้าร้อนก็อาจจะไม่ร้อน ถึงหน้าหนาวก็อาจจะไม่หนาว เกิดภูเขาไฟ ธารน้ำเปลี่ยนแปลง ป่าไม้ก็ไม่มีเท่าสมัยก่อน นี่คือการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของพืช สัตว์”

ทุกการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ ใครจะคิดว่าราคายางพาราจะเหลือ 5 กิโล 100 บาท สิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลถึงทุกคน รวมถึงเรื่องการเมืองการปกครอง ขณะนี้ทั้งโลกปั่นป่วน การที่ต้องสนใจการเมือง เพราะการเมืองคือเรื่องของการจัดสรรอำนาจ เพื่อนำอำนาจไปจัดสรรทรัพยากรและจัดการเรื่องต่างๆ

ฉะนั้น ความกล้าหาญทางจริยธรรมของทุกคนในบ้านเมืองเป็นเรื่องใหญ่ แต่ขาดหายไป การเปิดพื้นที่ให้คนไม่ดีเข้าเข้ามาจัดสรรทรัพยากรในบ้านเมือง จึงเกิดเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมามาก ดังนั้น ถึงเวลาที่ต้องมาทบทวนว่าเราจะอยู่กันไปอย่างไร

เมื่อถามหาสาเหตุมาจากไหน ส่วนหนึ่งก็บอกว่ามาจากการศึกษาที่หล่อหลอมคนไม่ดี สิ่งที่เรากำลังทุ่มเทจัดการกับการศึกษา หรือสิ่งที่ใส่ไปในการศึกษาขั้นพื้นฐานเรียนกัน 8 สาระวิชาใช่หรือไม่ คนที่จะเข้ามาทำการศึกษาก็ลดน้อยลง เรื่องเหล่านี้พัวพันกันหมด ไม่เฉพาะโครงสร้างประชากร แต่สังคมของเด็กก็เปลี่ยนไปด้วย

“ดังนั้น สิ่งที่คนในแวดวงการศึกษาต้องตระหนักคือ คนแต่ละ generation มีวิธีคิดที่ต่างกัน คนในวัยกลางคนที่กำลังก้าวสู่วัยสูงอายุหากปรับตัวไม่ทัน ต้องยกมือไหว้เด็ก คิดว่าไหว้เด็กแล้วเด็กจะดีขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของความสับสนอลหม่านทางวิธีคิด นี่คือปัญหาของการศึกษา ที่ไม่สามารถปล่อยให้สถานการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไปได้

รองปลัดฯชัยยศ กล่าวต่อไปว่า วิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมี 3 วิธี คือ 1.ยอมจำนนไปจนตาย รอว่าเมื่อไรจะมีอัศวินขี่ม้าขาวมาช่วย ซึ่งไม่มีในโลกนี้ 2.การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และ 3.การเปลี่ยนแปลง โดยการควบคุมปัจจัยและตัวแปล ดังนั้น ผู้นำการเปลี่ยนแปลงหากสามารถควบคุมปัจจัย ควบคุมตัวแปลได้ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้

สกู๊ป แวดวงการศึกษา

สกู๊ป แวดวงการศึกษา

ฉะนั้น หวังว่าจะได้ผู้นำรุ่นใหม่เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาเพราะการปฏิรูปการศึกษาคงไม่เสร็จภายใน 1-2 ปี และไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น แต่อยู่ที่การสร้างพลังที่เข้มแข็งของทุกคนที่จะช่วยกันปรับทิศทางของการศึกษาให้เหมาะสม เพื่อไปสร้างบ้านเมืองของเราให้เกิดการพัฒนาที่มั่นคงยั่งยืน

ทางด้าน นายโกวิท บุญเฉลียว ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคูเมือง ในฐานะตัวแทนผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา รุ่น 1 กล่าวว่า สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหลักสูตรผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา และนำไปเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาในเรื่องการไม่สอนเด็กแบบเหมาโหล โดยเปลี่ยนมาดูแลตามความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก

โดยเฉพาะกลุ่มผู้เรียนที่อยู่ฐานรากขาดโอกาส ซึ่งมีปัญหาติดยาเสพติด หนีเรียน ท้องในวัยเรียน มาจัดกลุ่มผู้เรียนใหม่ทำห้องเรียนพิเศษ ใช้วิธีการบูรณาการจากหลักสูตร โดยนำอาชีพที่เด็กสนใจเป็นตัวตั้ง

“ทางโรงเรียนได้ทดลองทำมา 1 ปี พบว่า เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข สามารถลดช่องว่างระหว่างกลุ่มเด็กด้อยโอกาสกับเด็กปกติให้ใกล้เคียงกัน สังคมในโรงเรียนก็สันติสุขมากขึ้น” ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคูเมือง กล่าวส่งท้าย