กมธ.งบฯ65’ ติงนโยบาย'ตรีนุช' เลื่อนลอย-แค่คำขวัญ แนะใช้ PISA เป็นวิสัยทัศน์

 

   

กรรมาธิการงบฯ 65 ติง!นโยบาย'ตรีนุช'

ศตวรรษที่ 21 เลื่อนลอย แค่คำขวัญ

แนะใช้ PISA เป็นวิสัยทัศน์บริหารการศึกษา

       


...คือ เด็กบางคน ฐานะไม่ดีจึงไม่มี smartphone หรือ TV หรือ computer ใช้ในการ WFH ได้ ดร.พิสิฐ จึงสนับสนุนให้จัดงบประมาณในการจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็น...และเห็นว่ากระทรวงศึกษาธิการ น่าจะใช้วิกฤตนี้ เป็นโอกาสในการกระโดดข้ามข้อจำกัด ที่ทำให้มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ครูสอนดี ๆ จะอยู่แต่ในเขตเมือง โดยให้มีการใช้ social media platform ต่าง ๆ เพื่อการเรียนการสอนไปยังพื้นที่ห่างไกลได้...      

 

 

ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่าย 2565 

 

นี่คือ...ความสำคัญบางส่วนที่ สำนักข่าวการศึกษาออนไลน์ edunewssiam ขอนำความรู้สึก ของ ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่าย 2565 ร่วมกับปลัดกระทรวงฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพิจารณางบของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2564 มาให้เห็น

ตามด้วยหลายประเด็นความที่น่าสนใจที่ว่า ประเทศไทยมี พรบ.ประถมศึกษาแห่งชาติ มาครบ 100 ปีในปีนี้ แต่คุณภาพการศึกษาก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ งบของกระทรวงที่ได้ในแต่ละปีก็มีจำนวนสูง

ในปี 2565 จำนวน 332,398.4 ล้านบาท ก็มีสัดส่วน 10.72% ของวงเงินงบประมาณ แต่ world ranking ที่ IMD-Education ก็ยังถดถอยลงจากอันดับ 48 ในปี 2558 มาเป็น อันดับ 55 ในปี 2563 จากจำนวน 60 ประเทศ

ส่วน PISA ที่วัดความสามารถทางด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของเด็กวัยประถมและมัธยม อายุไม่เกิน 15 ขวบ คะแนนของเด็กไทยก็ตกต่ำลงเป็นอันดับ 66 จาก 79 ประเทศที่ OECD สำรวจในปี 2018 โดยเป็นการตกต่ำทั้งสามสาขาโดยเฉพาะ การอ่าน

ดร.พิสิฐ เสนอให้กระทรวงใช้การขึ้นอันดับของ PISA อีก 10 อันดับ ในการวัดครั้งต่อไปในปี 2024 เป็นวิสัยทัศน์ของกระทรวง แทนการกำหนดวิสัยทัศน์ที่มุ่งให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อร้อยละ 85 ของงบกระทรวงศึกษาอยู่ที่ สพฐ. หรือกรมสามัญศึกษาเดิม และ สช. หรือกรมอาชีวศึกษาเดิม แต่วิสัยทัศน์ของ สพฐ. ที่ว่า “สร้างคุณภาพทุนมนุษย์ สู่สังคมอนาคตที่ยั่งยืน” ค่อนข้างเลื่อนลอย เป็นแค่คำขวัญและไม่มีผลในการบริหารการศึกษาที่ชี้วัดได้

จึงขอเสนอแนะให้กระทรวงศึกษา ปรับปรุงวิสัยทัศน์เพื่อมุ่งให้เด็กอ่านออก คิดเลขเป็น และคิดแบบวิทยาศาสตร์

เด็กที่เข้ารับการศึกษาเมื่อปี 2554 มีจำนวน 12.06 ล้านคน ลดลงเหลือ 10.67 ล้านคนในปี 2563 เฉลี่ยลดลงปีละ 1.21 แสนคน สอดคล้องกับที่มีเด็กเกิดใหม่ในแต่ละปี ที่ลดลงปีละ 30,000คน โดยที่เมื่อปี 2555 มีเด็กเกิดใหม่ 8 แสนคน แต่ในปี 62 เหลือ 6.18 แสนคน

ผลที่ตามมาก็คือ จำนวนโรงเรียนที่เคยมีถึง 5 หมื่นกว่าโรงเรียน ซึ่งมีอาคารใหญ่โตแข็งแรงสร้างโดยงบลงทุนจากงบประมาณแผ่นดิน บัดนี้เปิดใช้เพียง 29,000 โรงเรียน ที่เหลือ 2 หมื่นกว่าโรงเรียนต้องปิด และ อาคารเรียนบางแห่งได้ดัดแปลงเป็นที่พักครู เป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม และการใช้สอยอื่นตามความต้องการในพื้นที่

 

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหาร กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

สำหรับ ผลกระทบของโควิดครั้งนี้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กศส.) ประเมินว่า จะมีผลกระทบต่อเด็กยากจนเพิ่มขึ้นจาก 1.9 ล้านคน เป็น 2.2 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 3 แสนคน ซึ่ง ดร.พิสิฐ มองเห็นว่าจำนวนเด็กในการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว น่าจะน้อยไปด้วยซ้ำในสภาวะอย่างนี้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้นำเสนอให้มีการเพิ่มจำนวนจาก 1.173 ล้านคนเป็น 1.235 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 61,248 คนในปี 2565 และได้รับงบประมาณลดลงจาก 6,084 ล้านบาทในปีก่อน เหลือ 5,652 ล้านบาทในปีนี้ก็ตาม

แต่ กศส.ก็ยังมีเงินลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาวอีกจำนวน 1,923 ล้านบาท ซึ่งอาจจะได้มาจากดอกผลจากการลงทุน

จึงขอให้ลองคิดคำนวณผลตอบแทนจากการให้การศึกษาเด็กทำให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้น และแปลงเป็นผลตอบแทนเทียบกัน เชื่อว่า ผลตอบแทนทางสังคมน่าจะสูงกว่า (social rate of return) แน่นอน

นอกจากนี้ ยังมีตัวเลขที่ทาง กศส.คาดว่า จะมีเด็กที่ปกติจะเรียนต่อจากระดับประถมศึกษาไปมัธยมศึกษา จะมีอีก 400,000 คน จะไม่ได้เรียนต่อเพราะเหตุจากโควิด-19 ก็ต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วยเช่นกัน

ปัจจุบัน กระทรวงมีนักเรียนรวม 9 ล้านคน เป็นเด็กยากจน 1.9 ล้านคน เมื่อโควิดระบาด ทำให้มีเด็กยากจนเพิ่มขึ้นเป็น 2.2 ล้านคน

ในช่วงที่โควิด 19 ระบาด ทำให้เด็กต้อง WFH "Work From Home"  แม้ว่า สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จะได้จัดทำหลักสูตรเพื่อสอนทางไกล (project 14) และ โรงเรียนในชนบทใน 24,600 หมู่บ้าน จะได้ใช้ internet ของกระทรวงดิจิตอล ก็ตาม

แต่ปัญหา คือ เด็กบางคน ฐานะไม่ดีจึงไม่มี smartphone หรือ TV หรือ computer ใช้ในการ WFH ซึ่งเป็นเทรนด์การทำงานยุคใหม่ที่ตามมากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว กว้างไกล จนกระทั่งทำให้ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีต้นทุนที่ต่ำลงได้ จึงทำให้ สสวท.ได้รับงบประมาณการสนับสนุนในการจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นได้

 

 

ดร.พิสิฐ ยังชี้ให้เห็นในทำนองว่า กระทรวงศึกษาธิการ ควรจะใช้วิกฤตช่วงนี้เป็นโอกาสในการกระโดดข้ามข้อจำกัดที่ทำให้มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ครูสอนดี ๆ จะอยู่แต่ในเขตเมือง โดยให้มีการใช้ social media platform ต่างๆ เพื่อการเรียนการสอนไปยังพื้นที่ห่างไกลได้

อย่างไรก็ดี ก็ยังมีความกังวลว่า การ WFH ก็คงทำให้คุณภาพการศึกษามีปัญหาอยู่ เนื่องจากเด็กแต่ละคนอาจมีวินัยในการเรียนที่แตกต่างกัน ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ จึงควรทบทวนวิธีการวัดผลของปีการศึกษานี้ ไม่ควรใช้ระบบ NT ตามที่เคยทำมา

สุดท้าย ดร พิสิฐ ยังเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการใช้ผลงานวิจัยที่พบว่า ครูให้เวลากับการสอน 78% ของเวลาทำงาน ที่เหลือ 22% ทำงานธุรการ เป็นตัวชี้วัดการบริหารการศึกษา อีกด้วย

 

#พิสิฐลี้อาธรรม #พรรคประชาธิปัตย์ #พิจารณางบ 2565

 

(โปรดกดถูกใจเพจด้านล่าง เพื่อติดตามข่าวสารบนเว็บไซต์ edunewssiam.com)