'ชินวรณ์' อ้อน 'ชวน'เปิดประชุมร่วมรัฐสภา ถก กม.พ.ร.บ.ศึกษาให้จบ ประชาชนตำหนิ

 

'ชินวรณ์อ้อน 'ชวน'เปิดประชุมร่วมรัฐสภา ถก กม.พ.ร.บ.ศึกษาให้จบ ประชาชนตำหนิ

 

'ชินวรณ์อ้อน 'ชวนขอ เปิดประชุมร่วมรัฐสภา เพิ่ม วัน ถก'พ.ร.บ.การศึกษาฯ ให้จบ'ชินวรณ์อ้อน 'ชวนขอเวลาเพิ่มอีกสองวัน เปิดประชุมร่วมถก ร่าง พ.ร.บ.การศึกษา ต่อให้จบ ชี้องค์ประชุมไม่ครบสมาชิกรัฐสภาต้องรับผิดชอบร่วมกัน โดนประชาชนตำหนิ น่าละอาย ไร้วุฒิภาวะ ไร้ความรับผิดชอบ ทำสภาอับปาง

 

12 ม.ค.2566 - รายงานข่าวจากสื่อทุกสังกัด รายงานตรงกันว่า นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. … เมื่อวันที่ 11 ม.ค.ที่พิจารณาไปได้แค่ 2 มาตรา ว่า...

 

 

เป็นเรื่องที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นร่าง พ.ร.บ.ที่เสนอตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ถือว่าเป็นกฎหมายปฏิรูป ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมระหว่าง ส.ส. กับ ส.ว.ได้ศึกษามาเกือบ 2 ปี แต่ในการประชุม 2 วันที่ผ่านมา กลับไม่ครบองค์ประชุม เรื่องนี้ต้องยอมรับความเป็นจริงว่า สมาชิกรัฐสภาทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพราะร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญ แม้จะมีการแก้ไขในชั้น กมธ.ที่ไม่สมบูรณ์บ้าง เราก็สามารถที่จะสงวนความเห็นและลงมติได้ในที่ประชุม ส่วนมติจะเป็นอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งที่รัฐสภาถูกตำหนิมาก คือเรื่องไม่ครบองค์ประชุม ยอมรับว่าเราต้องหยิบยกขึ้นมาหารือกันอีกครั้ง

 

 

นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวเห็นว่าควรจะเสนอให้ประธานสภา ได้จัดประชุมร่วมกันของรัฐสภาอีกครั้ง เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ให้เสร็จเรียบร้อย และอยากให้ความมั่นใจกับทุกฝ่ายว่า อย่างน้อยมี 9 ประเด็นหลักที่จะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน อาทิ เน้นวัตถุประสงค์ให้สอดรับกับการศึกษาในอนาคตและความเป็นพลเมือง รวมถึงเน้นเป้าหมายที่จัดให้มีการดำเนินการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามช่วงวัย โดยมีสมรรถนะต่างๆ ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เป็นต้น

 

 

อยากเรียกร้องกับทุกฝ่ายอีกครั้งว่า หากประธานรัฐสภาเปิดให้มีการประชุมร่วมกัน ผมคิดว่าใช้เวลาอีก 2 วัน ซึ่งหากดูจากสาระแล้ว หากสามารถพิจารณาผ่านมาตราที่ 20 ไปแล้ว ก็จะเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน ฉะนั้นจึงอยากขอความร่วมมือว่าขอให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้” นายชินวรณ์ กล่าว

 

 

นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับครูหรือผู้บริหารสถานศึกษาบางส่วนที่ยังติดใจและไม่ชัดเจน ขอเรียนว่า ประเด็นดังกล่าวเราสามารถที่จะไปออกกฎหมายลูกได้ ซึ่งต้องมีการดำเนินการต่อไป เช่น พ.ร.บ.ระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการพ.ร.บ.ระเบียบบริหารบุคลากรทางการศึกษาพ.ร.บ. เกี่ยวกับการส่งเสริมสวัสดิภาพและสวัสดิการของครู หรือร่างพ.ร.บ.อาชีวศึกษา เป็นต้น.

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam  

ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage