อุดมศึกษาไทย จะอยู่และปรับตัวอย่างไร เมื่อมหา’ลัยสิงคโปร์ เปลี่ยนโหมด เปลี่ยนโมเดลแล้ว

อุดมศึกษาไทย จะอยู่และปรับตัวอย่างไร เมื่อมหา’ลัยสิงคโปร์ เปลี่ยนโหมด เปลี่ยนโมเดลแล้ว

ดร.ธีร์ เดลฮี ยู 1979 

 

เมื่อมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ เปลี่ยนโหมด เปลี่ยนโมเดลแล้ว ต่อไปลูกค้าของมหาวิทยาลัย จะไม่ใช่แค่เด็กๆ ที่มาเข้าเรียน 4 ปี แต่จะเป็นลูกค้าไปตลอดชีวิตเลยทีเดียว

การปรับตัวของมหาวิทยาลัยเริ่มแล้ว มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ซึ่งเป็น มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของเอเชีย และอันดับต้น ๆ ของโลก ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทให้ตัวเองเป็น "มหาวิทยาลัยตลอดชีวิต" ที่จะดูแลประชากร ไม่เพียงแต่ในระดับปริญญาตรี 4 ปี และโท-เอก แต่จะขอคอยดูแล คอยอัพเกรดทักษะ ความรู้ ให้ประชากรทันสมัยตลอดเวลา ... ทำให้ ลูกค้าของมหาวิทยาลัยจะขยายขนาดออกไปอีกมากโขเลยละ

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยจะคอยออกหลักสูตรใหม่ ๆ เพื่อให้เด็ก ๆ ที่จบไประยะหนึ่งสามารถจะกลับมา "อัพเกรด" หรือ "ยกเครื่อง" ความรู้และทักษะได้อีกเรื่อย ๆ โดย มหาวิทยาลัย NUS ได้ออกโปรโมชั่นสำหรับศิษย์เก่า สามารถกลับเข้าไปเรียนเพิ่มทักษะได้ฟรี 2 โมดูล ภายใน 3 ปี ซึ่งก็จะทำให้ได้ลูกค้าใหม่ (ที่เป็นลูกค้าเก่า) กลับเข้าไปใช้บริการอยู่เรื่อยๆ

ซึ่งหากสะสมคอร์สให้เหมาะสมจนครบตามมาตรฐาน สามารถเปลี่ยนไปเป็นปริญญาได้ เช่น ปริญญาตรีใบใหม่ หรือ ปริญญาโทในสาขาต่าง ๆ อีกด้วย (ภายใต้มาตรฐานที่สูงของสิงคโปร์)

ขนาดสิงคโปร์มีมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของเอเชีย และเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของโลก แซงหน้าหลาย ๆ มหาวิทยาลัยที่ว่าดัง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ... เขายังบอกว่า "ต้องรีบปรับตัว"

รัฐมนตรีศึกษาธิการ สิงคโปร์ ออกมาบอกเลยว่า ในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ หรือ ยุค Industry 4.0 การศึกษาแบบเดิม มหาวิทยาลัยแบบเดิม กำลังจะล้าสมัย จึงต้องรีบปรับตัวด่วน

โดยสิงคโปร์มีแผนการปฏิรูปมหาวิทยาลัย เน้นการสร้างผลกระทบต่อผู้เรียนมากกว่าเกรด ผลิตคนหลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน และเป็นมหาวิทยาลัยสำหรับทุกช่วงวัยของชีวิต โดยยึดหลักต่อไปนี้

(1) Change from classroom learning to experiential learning : เปลี่ยนการเรียนรู้แบบทฤษฎีในห้องเรียน มาเป็นการฝึกฝนประสบการณ์ ผสมผสานการทำงานจริง แก้ปัญหาจริง เพราะความรู้มันหาได้ง่ายมาก มหาวิทยาลัยในอนาคตจะมีลักษณะ เรียนไป ทำงานไป เป็นผู้ประกอบการไป

(2) Promote digital literacy : เด็กสิงคโปร์ต้องอยู่ในโลกยุคการค้าแห่งดิจิทัลได้ มีทักษะ Computational Thinking (น่าจะเป็นทักษะด้าน Data Science)

(3) Diversify higher education pathways : เพิ่มความหลากหลายของอุดมศึกษา เด็กสามารถเลือกเส้นทางตามความสนใจ และจริตของตน มีสายอาชีพหลากหลาย แนะนำเส้นทางต่างๆ ตั้งแต่วัยเด็ก (ให้รู้ตัวเองว่าชอบและถนัดอะไร ให้เร็วที่สุด)

(4) Encourage lifelong learning : ยุคต่อไปคนเราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต และมหาวิทยาลัยต้องคอยติดตาม คอยตอบสนอง ว่าคนที่จบไปแล้วอยากกลับมาเรียนอะไร

(5) Broaden the role of universities : อันนี้ มันคล้าย ๆ หลาย ๆ ธุรกิจที่ปรับตัวนะ เช่น ธนาคาร หันมาทำเรื่องอื่น ๆ นอกจากรับฝากกู้เงิน ปตท.หันมากาแฟ ..มหาวิทยาลัย ก็ทำแค่สอน-วิจัย ไม่ได้แล้ว ต้องเพิ่มเติมบทบาทตัวเองให้มากขึ้น ไม่งั้นก็อยู่ไม่รอด

อย่างเช่นตอนนี้ มหาวิทยาลัยแก่งชาติ NUS ของสิงคโปร์ มีโปรโมชั่น สำหรับศิษย์เก่า สามารถกลับเข้าไปเรียนเพิ่มทักษะได้ฟรี 2 โมดูล ภายใน 3 ปี ซึ่งก็จะทำให้ได้ลูกค้าใหม่ (ที่เป็นลูกค้าเก่า) กลับเข้าไปใช้บริการมหาวิทยาลัยได้อีกแบบต่อยอดความรู้และทักษะพร้อมประสบการณ์

แล้วมหาวิทยาลัยไทยล่ะจะเอาตัวรอดอย่างไร หรือจะปล่อยไปแบบเดิม ๆแล้ว ปิดตัวลงอย่างเงียบๆ รีบคิดได้แล้วนะครับ

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากเพื่อนในไลน์ ส่งมาให้ edunewssiam กำกับด้วยนามเจ้าของบทความ ผู้รังสรรค์บทความ อ่านแล้วโดนจริง ๆ.   

( โปรดกดถูกใจเพจ Edunewssiam ด้านล่างขวา เพื่อรับข่าวสารอัพเดตในฟีดข่าว )

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam

ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage