พลิกกลยุทธ์สู้การปิดมหาวิทยาลัย สู่โลกอุดมศึกษา ศตวรรษที่ 21 (ตอนที่สอง)

 

พลิกกลยุทธ์สู้การปิดมหาวิทยาลัย  

สู่โลกอุดมศึกษา ศตวรรษที่ 21 (ตอนที่สอง)

 

รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร/อุปนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์/ผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์

 

สืบเนื่องจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก ได้เขียนบทความ เรื่อง พ.ศ.2570 : ปิดมหาวิทยาลัยไทยกี่แห่ง? โดยเสนอข้อมูลการยุบมหาวิทยาลัยในประเทศอเมริกา รัสเซีย และญี่ปุ่น โดยยังไม่ได้เฉลยความคิดตนเองว่า จะมีมหาวิทยาลัยของรัฐไทยถูกยุบกี่แห่ง /ดังนั้น วันที่ 13 เมษายน 2566 เสนอ บทความ : คลื่นสึนามิอุดมศึกษาไทย ลูกที่สอง : ใครรอด?ใครร่วง? วันที่ 14 เมษายน 2566 เสนอ บทความ : พ.ศ.2570 : ปิดมหาวิทยาลัยของรัฐ 32 แห่ง? เมื่อ วันที่ 16 เมษายน 2566 บทความ ### พลิกกลยุทธ์สู้การปิดมหาวิทยาลัย สู่โลกอุดมศึกษา ศตวรรษที่ 21 (ตอนแรก) และ วันที่ 20 เมษายน 2566 ###พลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่โลกยุค ศตวรรษที่ ๒๑ ตอนที่สอง

edunewssiam สื่อการศึกษาสร้างสรรค์ ขอกราบขอบพระคุณและขออนุญาตนำมาเผยแพร่ มา ณ ที่นี้ 

  

VIII. สถาบันอุดมศึกษาต้องปรับหลักสูตรให้เป็นไปตาม ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งตั้งหรือมอบหมายผู้ตรวจสอบ และการตรวจสอบการดำเนินการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๖๕ มีสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไป ดังต่อไปนี้

 

๑.๒ ให้ตรวจสอบ ดังนี้ (มหาวิทยาลัยต้องดำเนินการตามรายการการตรวจสอบให้ครบถ้วน)

      ๑.๒.๑ ความสอดคล้องของหลักสูตรการศึกษา กับ (๑)ทิศทางนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนของประเทศ (๒)พันธกิจหลักและยุทธศาสตร์ของสถาบัน ที่ (๓) สอดคล้องกับการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา (กลุ่ม ๓)

      ๑.๒.๒ ความเสี่ยงและผลกระทบจากภายนอก ในบริบทโลก อาทิ (๔) ความเสี่ยงและผลกระทบจากภายนอกด้านการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (๕) ความเสี่ยงและผลกระทบจากภายนอกด้านนโยบาย และ (๖) ความเสี่ยงและผลกระทบจากภายนอกด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

      ๑.๒.๓ ผลสำรวจการรับฟังความคิดเห็นาบันอุดมศึกษา (๗) ผลสำรวจการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้บัณฑิต (๘) ผลสำรวจการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เรียน และ (๙) ผลสำรวจการรับฟังความคิดเห็นจากนักเรียนที่ต้องการเข้าเรียนในหลักสูตรการศึกษา

      ๑.๒.๔ ความสอดคล้องระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ กับ (๑๐ )การออกแบบการจัดการเรียนการสอน และ (๑๑)ระบบการบริหารการจัดการศึกษา

      ๑.๒.๕ ความสอดคล้องตามที่กำหนดใน(๑๒)เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา และ(๑๓)มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา รวมทั้ง(๑๔)มาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา

      ๑.๒.๖ ทั้งนี้ กรณีหลักสูตรปรับปรุงให้พิจารณาประเด็นเพิ่มเติม ได้แก่(๑๕)ผลการดำเนินงานของหลักสูตรการศึกษาที่ผ่านมา (๑๖)ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน(๑๗) ผลการประเมินความพึงพอใจของบัณฑิต (๑๘) ผลการประเมินความพึงพอใจขององค์กรวิชาชีพ (๑๙) ผลการประเมินความพึงพอใจของศิษย์เก่า ตลอดจน (๒๐) ข้อร้องเรียนจากบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก และบุคคลภายในสถาบันอุดมศึกษา (๒๑)ผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับหลักสูตร (ถ้ามี)

 

IX. การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) ระดับปริญญาตรีทางวิชาการ หลักสูตร ๔ ปี จำนวนหน่วยกิตรวม (เกณฑ์ ไม่น้อยกว่า ๑๒๐ นก.)ไม่น้อยกว่า ๑๔๑ หน่วยกิต (เกณฑ์มาตรฐาน มคอ.หลักสูตรครู ๔ ปี วิชาเอก/โท ๑๔๐ นก.) **โครงสร้างหลักสูตร

 

๑. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อย ๒๔ นก. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า ๖  นก. รวม ๓๐ หน่วยกิต ๑๐ รายวิชา

๒. หมวดวิชาเฉพาะ (เกณฑ์ไม่น้อยกว่า ๗๒ นก.) ไม่น้อยกว่า ๑๑๑ นก.เป็นหมวดวิชาที่เป็นวิชาหลัก วิชาแกน วิชาเฉพาะด้าน หรือวิชาชีพของแต่ละสาขาวิชา ควรออกแบบหลักสูตร ดังนี้

 (๑) วิชาเอกบังคับ ไม่น้อยกว่า ๔๒ นก.(มคอ.ครู ๔๐ นก.)คือวิชาของวิชาชีพหลักที่หลักสูตรกำหนด(๑๑๑-๔๒=๖๙)

 (๒) วิชาโทบังคับ ไม่น้อยกว่า ๓๐ นก. (มคอ.ครู ๓๐ นก.)คือวิชาชีพรองที่หลักสูตรกำหนด(๖๙-๓๐=๓๙)

 (๓) วิชาเลือกวิชาเอก ๑๘ นก.(๓๙-๑๘=๒๑)

 (๔) วิชาโทเลือก ๑๒ นก.(๒๑-๑๒=๙ นก.)

 (๕) เพิ่มวิชาเลือกเสรี ๙ หน่วยกิต ๓ รายวิชา (รวมวิชาเลือกเสรี ๑๕  นก.)

 

หมายเหตุ : เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรอบรู้ ประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะอย่สงความหลากหลายทุกหลักสูตรจึงควรออกแบบหลักสูตรเป็นวิชาเอกและวิชาโท โดยกำหนดให้ทุกวิชาเอกสามารถเลือกเรียนวิชาโทได้จากทุกหลักสูตรรวมทั้งสามารถเลือกเรียนวิชาเลือกได้จากทุกหลักสูตรด้วย อย่าไปคิดแทนผู้เรียนว่าต่าง ศาสตร์ของวิชาเอกแล้ว นิสิตนักศึกษาจะเรียนวิชาโทและวิชาเลือกต่างศาสตร์ไม่ได้ การเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาโทและวิชาเลือกได้อย่างอิสระ จะส่งผลให้นิสิตนักศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพได้ 3 ลักษณะ คือ วิชาชีพหลักมาจากวิชาเอก วิชาชีพรองมาจากวิชาโท และวิชาชีพเสริมมาจากวิชาเลือก ซึ่งนิสิตนักศึกษาอาจเลือกวิชาชีพจากวิชาโทหรือวิชาเลือกก็ได้

 

X. การบริหารหลักสูตร

(๑) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จัดทำรายวิชาออนไลน์ (MOOK)ร่วมกับมหาวิทยาลัยที่เป็น partner กัน เพื่อให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตบริการของแต่ละมหาวิทยาลัยได้เรียนเสริมความรู้และเก็บสะสมเครดิต (Credit Bank) หากได้จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต สามารถเทียบโอนได้ทุกหลักสูตร ในมหาวิทยาลัยที่เป็น partner กัน (รายวิชาศึกษาทั่วไปหากทุกมหาวิทยาลัยทำ MOOK ร่วมกัน จะมีรายวิชาในหลักสูตรร่วมกันจำนวนมาก โดยกำหนดให้สามารถสะสมหน่วยกิตที่เกิน ๘ รายวิชา ๒๔ หน่วยกิต เป็นหน่วยกิตสะสมของรายวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรีอีก๒ รายวิชา ๖ หน่วยกิต ได้ด้วย

 

###หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สามารถออกแบบรายวิชาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้เลยตามสมัยนิยม อาทิ การสักคิ้ว การแต่งเล็บ การเสริมสวย การขายของออนไลน์ นักโหราศาสตร์ นักพระเครื่อง ฯลฯ ให้อยู่ในหมวดวิชา โดยสามารถเทียบโอนเป็นรายวิชาเลือดมนหลักสูตรได้

 

*นักเรียนที่สามารถเทียบรายวิชาได้ไม่น้อยกว่า ๓๐ นก. ๑๐ รายวิชาในระบบ Credit Bank จะใช้เวลาศึกษาในทุกหลักสูตร อีกไม่น้อยกว่า ๑๑๑ นก.ภายในเวลาไม่เกิน ๓ ปี

 

(๒) นอกจากวิชาเอกที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนแล้ว “นักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาโทและวิชาเลือกทั้งหมดได้จากทุกหลักสูตรของมหาวิทยาลัยและ มหาวิทยาลัยpartner ”(ตามเกณฑ์ของหลักสูตร)

ทั้งนี้ให้ระบุข้อความนี้ไว้ในทุกหลักสูตร หรือกำหนดรวมไว้ในข้อบังคับของมหาวิทยาลัยด้วย

(๓) กรณีที่นิสิตนักศึกษาต้องการเปลี่ยนการเรียนวิชาเอกจากหลักสูตรเดิม สามารถขอเปลี่ยนวิชาเอกได้โดยไม่มีเงื่อนไข

(๔) หากมหาวิทยาลัยมีข้อตกลงความร่วมมือกัน(MOU)นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัยได้อื่นๆโดยให้ดำหนดไส้ในข้อบังคับ (แตกต่างกับระบบCredit Bank) ที่เรียนก่อนแล้วจึงนำมาขอเทียบโอนซึ่งรายวิชาอาจไม่สามารถนับกำหนดเป็นรายวิชาในโครงสร้างหลักสูตร

(๕) หากแต่ละหลักสูตรสามารถทำรายวิชาเอก/โท และรายวิชาเลือกในหลักสูตร เป็นการสอนในระบบMOOK ได้มากเท่าไหร่ก็จะทำให้นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้เร็วขึ้น อาจเป็นระยะเวลาสองปีก็ได้

 

XI.กระบวนการจัดการเรียนการสอน

(๑) การสอนในสถานศึกษา  ให้จัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมี ปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดม สมอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการทากรณีศึกษา เป็นต้น

(๒) สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education หรือ CWIE) เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษาเชิงประสบการณ์ (Experiential Education) บนฐาน สมรรถนะ (Competencies-based) ให้นักศึกษาได้เรียนในสถาบันอุดมศึกษาควบคู่กับการไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ (Workplace) เพื่อให้นักศึกษามีสมรรถนะพร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริงได้ทันทีหลังสำเร็จ การศึกษา (Ready to Work) โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาฝ่ายผลิตและสถานประกอบการฝ่ายผู้ใช้บัณฑิต (University-workplace Engagement)

 

XII.การจัดสิ่งเสริมแรง อาทิ ทุนการศึกษา การหารายได้ระหว่างเรียน การหารายได้จากรายวิชาที่เรียน ทั้งวิชาเอก วิชาโท และวิชาเลือกฯลฯ

 

XIII พิเศษสำหรับมหาวิทยาลัยที่มีสถาบันผลิตครู นอกจากจะตระหนักปัจจัยข้างต้นแล้ว ต้องตระหนักข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ครูด้วย ดังนี้

 

1) มีการส่งสัญญาณเชิงนโยบายสำหรับการควบรวมจำนวนโรงเรียนที่รับผิดชอบการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย ดังข่าวนี้

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ได้พิจารณาเรื่องมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ พ.ศ. 2566 - 2570 ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งที่ผ่านมาทาง คปร. ได้ประชุมหารือร่วมกับเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (เลขาธิการ ก.ค.ศ.) และผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความคิดเห็นโดยสรุปว่า ปัจจุบันแนวโน้มจำนวนนักเรียนในประเทศไทยลงลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้จำนวนโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจำนวนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คน จะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการยุบหรือควบรวมยังเป็นไปได้ค่อนข้างยาก

 

อย่างไรก็ดี สพฐ. ได้มีแผนในการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งมีเป้าหมายการดำเนินการในช่วงปี พ.ศ. 2566 - 2570 จำนวน 10,314 แห่ง (แนวทางตามมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2562 - 2565))

 

2).สภาพปัจจุบันมีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งสิ้น จำนวน 29,583 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียน 0-120 คน จำนวน 14,958 แห่ง และมีจำนวนโรงเรียนที่มีนักเรียนต่างขนาดกัน จำนวน 14,625 แห่ง ประกอบด้วย  (1)นักเรียน 121-200 คน จำนวน 7,000 แห่ง (2)นักเรียน 201-300 คน จำนวน 3,300 แห่ง (3)นักเรียน 301-499 คน จำนวน 1,961 แห่ง (4)นักเรียน 500-1,499 คน จำนวน 1,673  แห่ง (5) นักเรียน  1,500 -2,499 คน จำนวน 408 แห่ง (6)นักเรียน 2,500 คนขึ้นไป จำนวน 283 แห่ง. (สมคิด หอมเนตร;24 พฤษภาคม 2565)

 

ดังนั้น เมื่อ คปร.,กคศ. และ สพฐ.ตั้งเป้าหมายควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก จะทำให้ สพฐ.มีจำนวนโรงเรียนทั้งสิ้น 29,583-10,314 จะคงเหลือ = 19,269 โรงเรียน เท่ากับ จะมีการยุบโรงเรียน ร้อยละ 34.86

 

3)โรงเรียนที่เหลือจากการยุบและควบรวมจำนวน 19,269 ต้องการบรรจุครูโดย กคศ.กำหนดเกณฑ์ ดังนี้ครับ

เกณฑ์มาตรฐานวิชาเอกที่กำหนด ให้มีในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา

นักเรียน    ครู( ก.ค.ศ.)  วิชาเอกที่กำหนด

1-40 คน   1-4 คน ประถมศึกษา ปฐมวัย ไทย คณิต อังกฤษ

41-80 คน    6คน  ประถมศึกษา ปฐมวัย ไทย คณิต อังกฤษ สังคมศึกษา วิทย์,เทคโนโลยี

81-119 คน     8 คน ประถมศึกษา ปฐมวัย ไทย คณิต อังกฤษ สังคมศึกษา วิทย์,เทคโนโลยี วิชาเอกเพิ่มเติม 2 คน จาก 8 กลุ่มสาระ

 

เกณฑ์มาตรฐานวิชาเอกที่กำหนดให้มีในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา

จำนวนครูขั้นต่ำ 10 คน  วิชาเอกละ 1 คน ไทย คณิต อังกฤษ สังคม สุขศึกษา/พลศึกษา ศิลปศึกษา/ทัศนศิลป์/ดนตรี/นาฏศิลป์ การงานอาชีพ(คหกรรม/เกษตร/อุตสาหกรรมฯลฯ มีวิชาเอกละ 2 คน 2 สาขา ได้แก่ วิทย์ทั่วไป/เคมี/ชีววิทยา/ฟิสิกส์ และ วิชาเอกเพิ่มเติม 2 คร จาก 8 กลุ่มสาระ

@ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก เกณฑ์มาตรฐานวิชาเอกที่กำหนดให้มีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ.0206.6/29 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2565

 

จากเกณฑ์ ก.ค.ศ.ข้างต้น สถาบันผลิตครูทุกแห่ง ควรได้ตระหนักและนำไปปรับกลยุทธ์ในการผลิตครูในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับเกณฑ์ข้างต้นด้วย

 

มิฉะนั้น นอกจากการล่มสลายของมหาวิทยาลัยแล้ว จะเป็นการล่มสลายของสถาบันผลิตครูอีกด้วย.

 

คลิ๊กอ่าน พลิกกลยุทธ์สู้การปิดมหาวิทยาลัย สู่โลกอุดมศึกษา ศตวรรษที่ 21 ตอนที่๑. https://edunewssiam.com/th/articles/282591

 

Edunewssiam ด้านล่างขวา เพื่อรับข่าวสารอัพเดตในฟีดข่าว )

#กดติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam  

ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage