อ.เศรษฐศาสตร์ มธ.ไม่มั่นใจแก้ปัญหาการศึกษาก้าวไกล เสร็จใน 4 ปี สะกิด ศธ.ทำแบบเดิมไม่ได้แล้ว ต้องเปลี่ยนวิธีคิด

 

อ.เศรษฐศาสตร์ มธ.ไม่มั่นใจแก้ปัญหาการศึกษา

ก้าวไกล เสร็จใน 4 ปี สะกิด ศธ.ทำแบบเดิมไม่ได้

แล้ว ต้องเปลี่ยนวิธีคิด

 

ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เครือข่ายนักวิชาการ เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ระบุว่า ปัญหาการศึกษาในหลายด้านเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ใครที่อาสาเข้ามาดูแลด้านการศึกษา จำเป็นต้องทราบปัญหาและศึกษาเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ โดยลงไปถึงรากลึกที่มีความซับซ้อน เชื่อมโยงกับประเด็นปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงต้องทำงานแข่งกับเวลา  

 

แต่ สิ่งที่เห็นจากนโยบายพรรคการเมืองส่วนใหญ่ จะเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ แจกเงิน ลดภาระครู แต่ยังไม่มีการส่งไม้ต่อว่าเด็กจะก้าวไปสู่ระดับการศึกษาขั้นสูงกว่าได้อย่างไร อีกทั้งยังมีเด็กหลุดจากระบบการศึกษานับแสนราย

 

ดังนั้น พรรคการเมืองอาจจะบอกว่า การแก้ปัญหาการศึกษาของทั้งประเทศจะให้เสร็จภายในช่วงอายุของรัฐบาล คือ 4 ปี จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก  แต่อย่างน้อยก็ได้เห็นคำมั่นสัญญาในการพยายามแก้ปัญหานี้อย่างเป็นระบบ หรือให้สำเร็จในบางพื้นที่ เพื่อถอดบทเรียนหรือสร้างเป็น Sandbox ขึ้น

 

“โดยอาจจะเลือกพื้นที่หรือกลุ่มคนที่เสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาสูงก่อน หากทำเต็มร้อยไม่ได้ แต่ถ้าทำ 10 ในร้อยได้อย่างน้อยก็ช่วยคนได้ 10 คนจากในร้อยคนก่อน อีกทั้งเราเป็นประเทศที่ประกาศใช้นวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีนำหน้า แต่การศึกษาไทยกลับยังไม่ได้ยกระดับเพื่อการผลิตกำลังคน”

 

อีกทั้งยังมองมองว่า การคิดจะแก้ปัญหาการศึกษาให้สอดรับกับปัจจุบันมากที่สุด รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน Mindset หรือกรอบความคิดหรือทัศนคติในการแก้ปัญหา เพราะโลกของการศึกษาต้องสอดรับกับโลกของตลาดแรงงาน

 

ในเมื่อโลกของตลาดแรงงานมีระยะเวลาของการเตรียมการคือ 3-4 ปี โลกของการศึกษาก็ต้อง 3-4 ปี นั่นคือ 1 เทอมของพรรคการเมือง ดังนั้น อย่างแรกที่ต้องทำ คือ ต้องรู้ว่าในโลกที่อาชีพเปลี่ยนเร็ว การศึกษาก็ต้องปรับตัวให้เร็วเท่าทันระยะเวลาในการจัดการคือ 1 สมัย เพราะถ้าอะไรที่ทำไม่ได้ใน 1 สมัย คือ จะไม่ทันกับโลกแล้ว

 

สุดท้าบยังระบุอีกว่า ปัจจุบันจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ จะสอนแบบเดิมไม่ได้แล้ว เพราะไม่สามารถตรียมคนเพื่ออาชีพได้เหมือนในอดีต แต่ต้องเตรียมสกิลหรือความสามารถให้มากพอ เพื่อรับกับสถานการณ์ด้านอาชีพที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน 

 

 

“...กระทรวงศึกษาธิการ จะต้องเปลี่ยนวิธีคิด ต้องเปลี่ยน Mindset เป็น Ministry of Future คือ เป็นกระทรวงที่ทำเพื่ออนาคต ต้องมองไปข้างหน้าว่า เด็กจบไปแล้วจะต้องเจออะไรบ้าง แล้วย้อนกลับมาคิดให้ได้ว่า ต้องเตรียมอะไรเพื่อพวกเขา จึงจะเห็นแผนการทำงานที่ชัดเจนระบบการพัฒนาคนจะต้องมองว่า คนทุกคน จะต้องได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดเวลา”

 

อีกทั้งการผลิตกำลังคนตามช่วงชั้น และต้องคิดไปไกล ว่า มันจำเป็นจะต้องเป็นช่วงชั้นหรือเปล่า ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าว

ขอบคุณ photos from กสศ.  

(โปรดกดถูกใจเพจ Edunewssiam ด้านล่างขวา เพื่อรับข่าวสารอัพเดตในฟีดข่าว)