ร.ร. ในอ.พิมาย แจ้งผู้ปกครองคดห่อให้เด็กหลังรองบฯ อาหารกลางวันจากเทศบาล” ไม่มาตามเวลา

 

.ร. ในอ.พิมาย" แจ้งผู้ปกครองคดห่อให้เด็กหลังรองบฯ อาหารกลางวันจากเทศบาล” ไม่มาตามเวลา  

 

จากโพสต์จากเพจ ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ในเอกสารที่ถูกแชร์มานั้น มีข้อความจากผอ.ร.ร. ว่า ...ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียนห่ออาหารกลางวันให้นักเรียนนำมารับประทานที่โรงเรียน เริ่มจากวันจันทร์ที่ 21 ส.ค. 2566 เป็นต้นไป และเมื่อโรงเรียนได้รับจัดสรรเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว จะดำเนินการจ่ายเงินค่าอาหารกลางวันให้ผู้ปกครองต่อไป

 

ซึ่งมีการโพสต์หหนังสือราชการของโรงเรียนด้วยว่า เป็น โรงเรียนกุลโน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7

 

"ตามที่โรงเรียน... อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ได้รับจัดสรรงบประมาณอาหารกลางวัน จากเทศบาลตำบลพิมาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ครั้งที่ 1 จำนวน 50 วัน เป็นเงิน 733,700 บาท ซึ่งดำเนินการประกอบอาหารกลางวัน ให้นักเรียนได้รับประทานถึงวันที่ 25 ก.ค. 2566 และโรงเรียนได้ดำเนินการส่งเอกสารขอรับจัดสรรงบประมาณ ครั้งที่ 2 ซึ่งเทศบาลจะจัดสรรให้ จำนวน 30 วัน เป็นเงิน 440,220 บาท แต่ยังไม่ได้จัดสรรงบประมาณดังกล่าว

 

ซึ่งโรงเรียนได้สำรองจ่ายค่าอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนไปก่อนแล้ว จำนวน 13 วัน ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค. 2566 ถึงวันที่ 18 ส.ค. 2566 เป็นเงิน 190,762 บาท

 

 

ดังนั้นโรงเรียนจึงขอความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียนห่ออาหารกลางวันให้นักเรียนนำมารับประทานที่โรงเรียน เริ่มจากวันจันทร์ที่ 21 ส.ค. 2566 เป็นต้นไป และเมื่อโรงเรียนได้รับจัดสรรเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว จะดำเนินการจ่ายเงินค่าอาหารกลางวันให้ผู้ปกครองต่อไป" ลงชื่อ นายวุฒิชาติ มวยดี ผู้อำนวยการโรงเรียนกุลโน  ลงวันที่ วันที่ 18 ส.ค. 2566

 

เมื่อโพสต์นี้ได้ถูกแชร์ออกไป ก็ได้สร้างคำถามให้กับสังคมบนโลกโซเชียลทันทีว่า เหตุใด  'งบอาหารกลางวัน' ที่มันควรจะมีหายไปไหน ทำไมถึงได้มีการจัดสรรงบให้ล่าช้า และยังมีโรงเรียนอีกหลายแห่งที่ประสบกับปัญหานี้เช่นกัน

 

รายงานจากผู้สื่อข่าวได้ติตามเรื่องนี้จาก นายนายวุฒิชาติ มวยดี ผู้อำนวยการโรงเรียนกุลโน กล่าวว่า ทางโรงเรียนก็ได้ส่งหนังสือแจ้งไปเตือนทางเทศบาลก่อนจะครบกำหนด 50 วัน ฉบับแรก แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบอะไรเลย จึงส่งหนังสือไปฉบับที่ 2 ก็ยังไร้คำตอบเช่นกัน  จึงไม่ทราบว่าไปติดอยู่ณที่ใดตรงไหน

 

 

“...ทางโรงเรียนจึงจำเป็นต้องหาเงินสำรองเพื่อจ่ายค่าอาหารกลางวันนักเรียนเรื่อยมา ตั้งแต่ วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 จนมาถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2566 เป็นเงิน 190,762 บาท ขณะนี้โรงเรียนไร้เงินสำรองจ่าย จึงได้ปรึกษาหารือหาทางออกกับคณะผู้บริหาร ว่าจะดำเนินการอย่างไร จึงได้มติว่า ให้ผู้ปกครองห่อข้าวให้บุตรหลานมาเป็นอาหารกลางวันไปพลางก่อน จนกว่าทางเทศบาลจัดสรรงบมาให้ ก็จะจ่ายเงินให้ผู้ปกครองเด็ก ๆ คืนวันละ 22 บาทตามงบที่ได้มา” ผู้อำนวยการโรงเรียนกุลโน  กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าว edunewsssiam พบว่า เหตุที่ทางโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รับจัดสรรงบประมาณอาหารกลางวัน จากเทศบาลล่าช้าชนิดที่ต้องติดตามทวงถาม จนต้องให้หลายโรงเรียนประสบกับปัญหาต้องสำรองจ่ายค่าอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนไปก่อน   

 

ดังเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เมื่อเดือน กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา โรงเรียนบ้านนาเมืองเพชร  ค.นาเมืองเพชร อ.สิเกา จ.ตรัง ซึ่งสังกัด สพป.ตรัง เขต 2 สอนในระดับชั้นอนุบาล จำนวน 80 คน มัธยม 1-3 จำนวน 100 คน ไดยได้รับเงินอุดหนุนค่าหัวอาหารกลางวัน จากเทศบาล คนละ 22 บาท ซึ่งทางโรงเรียนต้องไปรับเช็ค 100 วัน ต่อ 1 ภาคเรียน  แต่ตั้งแต่เปิดเรียนมา 5- 6 วัน ทางเทศบาลยังไม่จัดสรรงบมาให้ ส่วนความล่าช้านั้นไม่ทราบสาเหตุ ครูทั้งโรงเรียนจึงได้ช่วยกันลงขันค่าอาหารกลางวันคนละ 300 ต่อเดือน

 

จากการลงพื้นที่เข้าตรวจสอบของเจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการพิเศษ และจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยประธานชมรมตรังต้านโกง เครือข่ายภาคประชาชน ได้ลงพื้นที่สุ่มตรวจสอบโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนบ้านนาเมืองเพชร พบว่า คุณภาพอาหารพอกินครบทุกคน เป็นไปตามหลักโภชนาการก็สามารถจะเกิดทั้งในเชิงคุณภาพและในเชิงปริมาณโดยที่โรงเรียนดังกล่าวได้รับงบประมาณนักเรียนหัวละ 22 บาท โดย ร.ร.กล่าวว่าทำถูกต้องตามระเบียบที่ทาง สพฐ.กำหนดทุกประการ

 

อย่างไรก็ตาม edunewssiam ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข่าวซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ ว่า

 

“...เงินอุดหนุนที่เหลือจ่ายตามโครงการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันเด็กนักเรียน สังกัด สพฐ. ให้โรงเรียนรายงานผลการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายคงเหลือ พร้อมคืนเงินเหลือจ่ายคืนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากมีความจำเป็นในเรื่องใดที่เกี่ยวข้องกับอาหารกลางวันเด็กนักเรียน ก็ให้จัดทำโครงการใหม่เพื่อขอรับเงินอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กรม สถ.)...”

 

ฉะนั้น โรงเรียนจะถือเอาหนังสือที่ ศธ 04002/ว 544 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2554 ไม่ได้ เพราะต้องถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ว 74 ข้อ 8 และ ปัจจุบันก็มีระเบียบกระทรวงมหาดไทยและหนังสือ ว 3616 ข้อ 2.7 กำหนดไว้ ซึ่งจะเข้าข้อยกเว้นตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.3/ว 59 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2552 และหลักเกณฑ์ฯ ข้อ 11 ท้ายหนังสือดังกล่าว

 

“ซึ่งแต่นี้ต่อไป สพฐ.ศธ.เองคงก็คงจะมีการเน้นย้ำ โดยประสานโรงเรียนในสังกัดให้ความร่วมมือกรม สถ.รายงานการดำเนินงานค่าอาหารกลางวันเด็กมีเงินเหลือจ่ายก็ต้องคืน ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยเองก็ได้มีหนังสือถึงท้องถิ่นใดไม่ติดตาม ก็รอลุ้นการตรวจกันต่อไป ” แหล่งข่าวเสนอแนะ  

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam  ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage