เสวนากับบรรณาธิการ : อาชีวะจัดประชุมวิชาการนานาชาติ โครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 8

 

เสวนากับบรรณาธิการ : วิชเทพ ฦาชาฤทธิ์

 

ได้มีโอกาสไปแวะเวียนใน“การประชุมวิชาการนานาชาติโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 8” (The 8th International Convention on Vocational Student's Innovation Project) ที่ทาง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างเวทีการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ทางวิชาการกับนักเรียน/นักศึกษาในโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-25 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเดอะซายน์ พัทยา จังหวัดชลบุรี 

 

 

ตื่นตา ตื่นใจอยู่มิใช่น้อยกับ รูปแบบกิจกรรม แบ่งเป็นการประชุมทางวิชาการ ซึ่งเป็นการนำเสนอผลงานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี หรือ Oral Presentation และ การจัดนิทรรศการ ที่แบ่งออกเป็นการนำเสนอผลงาน นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนในรูปแบบ Poster การจัดทำวารสารวิชาการฉบับพิเศษ เพื่อตีพิมพ์บทความด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และงานวิจัย และกิจกรรมการแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของนักเรียน

 

โดยมีการนำเสนอผลงานระดับประเทศและนานาชาติ  มีสถาบันการศึกษาจากต่างประเทศ 4 ประเทศ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ สังกัด สอศ. เข้าร่วมนำเสนอผลงาน รวมถึง 98 ผลงาน

 

 

หากจะคุยในายละเอียด คงยาวหลายหน้ากระดาษ แค่เดินโฉบดูผลงานที่มาตั้งแสดง ประมวลแล้วประมาณ 98  ผลงาน ก็ทั้งปลื้มทั้งทึ่งกับเด็ก ๆ นักศึกษา อาชีวะ ในงานจนบอกไม่ถูก เห็นอยู่ว่า คนที่ปลื้มมากกว่าใครคงไม่พ้น ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการกอศ.)  ผู้เป็นประธานเปิด ให้ความสนใจทักทายในทุกจุด

 

 ได้รับการบอกเล่าว่า การประชุมวิชาการนานาชาติโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ นี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้นำความรู้ต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน โดยความสำเร็จนั้นจะไม่เกิดเฉพาะกับตัวนักเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความสำเร็จในระดับภูมิภาคและระดับโลกอีกด้วย

 

 

เนื่องจากงานนี้ นำผลงานที่มาจากนักเรียน นักศึกษาจากต่างประเทศ  ประกอบด้วย 4 สถาบันการศึกษา ได้แก่

 

สถาบัน National Institute of Technology หรือ สถาบัน KOSEN ประเทศญี่ปุ่น 6 ผลงาน,

สถาบัน Institute of Technical Education สาธารณรัฐสิงคโปร์ 8 ผลงาน

สถาบัน Gyeongbuk Machinery Technical High School สาธารณรัฐเกาหลี  1 ผลงาน 

สถาบัน Institution of Diploma Engineers สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ  1 ผลงาน,

  

สำหรับนักเรียน นักศึกษาจากประเทศไทย ประกอบด้วย

 

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา  4 ผลงาน, 

วิทยาลัยเทคนิคพังงา 20 ผลงาน, 

วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี 15 ผลงาน ,

วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี 8 ผลงาน 

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน  20 ผลงาน และ

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) 15 ผลงาน

  

มีตัวอย่างผลงานการนำเสนอ ดังนี้

 

ผลงานเครื่องฆ่าเชื้อภาชนะบรรจุอาหารด้วยก๊าซโอโซนและรังสี UV-C ควบคุมและแสดงผลด้วยระบบ IoT (Food Container Sterilizer by Using Ozone and Ultraviolet C to Control and Show Data by IoT System) จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) 

 

ผลงานหุ่นยนต์ส่งเครื่องมือทางการเเพทย์ The robotic propulsion system for delivering medical equipment จาก วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี

 

ผลงาน MAPLE : Measure and Precise Liquid Extraction จาก Institute of Technology Education College East Singapore เป็นต้น”

 

 

โดยนักเรียนและนักศึกษา จะได้แสดงศักยภาพทั้งด้านวิชาชีพและทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้แบบ Project based Learning และนำเสนอผลงานระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อพัฒนาตนเองต่อยอดสู่การสร้างสรรค์ผลงานในอนาคต

  

 

        ที่ผ่านมา การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมา มักมุ่งเน้นไปที่การสร้างและเพิ่มจำนวนบุคลากรวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลัก โดยเฉพาะบุคลากรวิจัยระดับปริญญาเอก ในขณะที่ด้านวิชาชีพจะเน้นการสร้างช่างฝีมือ ซึ่งส่วนใหญ่ ทำงานในลักษณะเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีมากกว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยี ซึ่งการผลิตกำลังคนเฉพาะสองกลุ่มนี้ ยังไม่สามารถนำพาประเทศ ไปสู่การแข่งขันได้

 

        ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นกับภาคการผลิตของไทย คือ ขาดบุคลากรที่มีทักษะด้านการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะในกลุ่มของ "นักเทคโนโลยี" หรือนักประดิษฐ์คิดค้น ที่มีทักษะฝีมือทางด้านช่าง และ มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ที่สามารถนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความรู้ความชำนาญด้านการประดิษฐ์คิดค้น เพื่อสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการผลิต และการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริการในรูปแบบใหม่ๆ 

 

 

โครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ มีรูปบบการเรียนเน้นการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ เป็นการเรียนรู้แบบ Active Learning และบูรณาการความรู้ แบบสหวิทยาการที่เรียกว่า STAEM เป็นไปตามนโยบายของ สอศ. ที่มุ่งผลิตและพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ มุ่งสร้างนักนวัตกรน้อย สร้างบ้าน สร้างเมืองให้มีคุณภาพ เป็นตัวอย่างต้นแบบที่สำคัญ และเป็นมิติการจัดการเรียนการสอนเป็นเลิศของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

 

 #กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage