หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบฯ พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อน

 

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณ

รายจ่ายประจำปีงบฯ พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อน

  

 เนื่องด้วยพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พศ. ๒๕๖๗ ะประกาศใช้บังคับไม่ทันวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ อันเป็นวันเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗  

 

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม สำนักงบประมาณ ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน และวิธีปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ไปพลางก่อน มีรายละเอียดดังนี้...

 

ด้วยพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พศ. ๒๕๖๗ ะประกาศใช้บังคับไม่ทันวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ อันเป็นวันเริ่มต้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติวิชีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณโดยอนุไนายกรัฐมนตรี จึงกำหนดหลักกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อนไว้ดังต่อไปนี้

 

ข้อ ๑ การจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ให้หน่วยรับงบประมาณจัดทำแผนการปฏิบัติงาน และ แผนการใช้จ่ายงบประมาณตามความจำเป็น ที่จะต้องใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพัน ภายใต้กรอบวงเงินของแผนงานและรายการตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ รวมถึงที่มีการโอนเปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย

 

ข้อ ๒ การอนุมัติเงินจัดสรร

๒.๑ ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ให้หน่วยรับงบประมาณใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพัน ภายใต้กรอบวงเงินชองแต่ละแผนงานและรายการ ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕'๖๖ รวมถึงที่มีการโอนเปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย ดังนี้

 

(๑) งบประมาณรายจ่ายงบกลาง

(๒) งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ

(๓) งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ

(๔) งบประมาณรายจ่ายบุคลากร

(๕) งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน

(๖) งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ

 

๒.๒ หน่วยรับงบประมาณที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ และมีงบประมาณรายจ่ายที่รับโอนมาจากหน่วยรับงบประมาณอื่นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้สำนักงบประมาณจัดสรรได้เต็มตามจำนวนงบประมาณรายจ่าย แต่ละแผนงานตามที่ได้รับโอนโนปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖

 

กรณีที่งบประมาณรายจ่ายที่ได้รับโอนในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ไม่เพียงพอกับความจำเป็นในการดำเนินงาน สำนักงบประมาณอาจจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นได้

 

ข้อ ๓ การบริหารงบประมาณรายจ่าย

ต.๑ ให้หน่วยรับงบประมาณจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพัน ภายไนวงเงินที่ใด้รับจัดสรรตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไชนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ เมื่อได้รับความเห็นชอบแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และได้รับอนุมัติเงินจัดสรรจากสำนักงบประมาณแล้ว

๓.๒ การโฮนงบประมาณรายจ่าย การโอนเงินขัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรให้กระทำไต้เฉพาะกรณีมีความจำเป็นเพื่อบรรลุเป้หมายตามเแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย

งบประมาณ หรือเพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ พัฒนาบุคลากร พัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งจะต้องแสดงเหตุผลความจำเป็นหรือความเหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อประชาชนความประหยัด คุ้มคำ โปร่งส สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ซาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๓  นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป้าหมายการให้บริการกระทรวง

ต.๓ การปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ไห้กระทำใต้เฉพาะกรณีที่จำเป็น เพื่อการปรับปรุงเป้าหมายหรือตัวชี้วัตของแผนงาน ผลผลิต หรือโครงการ หรือกรณีที่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลมีนโยบายใหม่ ซึ่งหน่วยรับงบประมาณต้องปรับปรุงเป้าหมายของแผนงาน ผลผลิต หรือโครงการ ให้สอดคล้องกับนโยบาย นั้น

 

ข้อ ๔ การติตตามและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ

ให้มีการติตตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ใด้รับจัตสรรตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขนี้ โดยให้มีการติตตามและประเมินผลก่อนการจัดสรรงบประมาณ ระหว่างการใช้จ่ายงบประมาณ และภายหลังการใช้จ่ายงบประมาณ

 

ข้อ ๕ การหักงบประมาณรายจ่าย

งบประมาณรายจ่าย ที่สำนักงบประมาณอนุมัติเงินจัดสรรให้หน่วยรับงบประมาณ ให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ซึ่งต้องหักออกจากแผนงานและรายการในงบประมาณรายงบกลาง งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ งบประมาณรายจ่ายบุคลากร งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน และงบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ แล้วแต่กรณี เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ ประกาศใช้บังคับแล้ว

 

ข้อ ๖ วีธีปฏิบัติในการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ การอนุมัติ

เงินจัดสรร การบริหารงบประมาณรายจ่าย การติดตามและประเมินผลการใช้จำยงบประมาณ และการหักงบประมาณรายจ่าย ให้เป็นไปตามที่สำนักงบประมาณกำหนด

 

ข้อ ๗ ให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณมีอำนาจวินัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขนี้

 

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๖

นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร  

ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

 

 

 

 

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage