สพฐ.แจ้งแนวการลด-เลิกภาระการประเมินของส่วนกลาง-เขตพื้นที่การศึกษา-สถานศึกษา มุ่งสู่องค์กรแห่งความสุข ประจำปีงบฯ ๖๗ -'๖๘

สพฐ.แจ้งแนวการลด-เลิกภาระการประเมินของส่วนกลาง-เขตพื้นที่การศึกษา-สถานศึกษา มุ่งสู่องค์กรแห่งความสุข ประจำปีงบฯ ๖๗ -'๖๘

 

ด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๖๘ โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านโอกาส ความเท่าเทียม ความเสมอภาค คุณภาพและสมรรถนะที่สำคัญจำเป็นตามบริบทของประเทศและสังคมโลก โดยเน้นผู้เรียน "เรียนดี มีความสุข" ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วน ดังที่กล่าวไว้ว่า "จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน"

 

ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกหน่วยงานในสังกัด และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ นำไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษาและลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง

 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดนโยบายและจุดเน้น ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕'๖๘ และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖

 

เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้อ ๔ ลดภาระการประเมินของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้กำหนดแนวทางในการลดภาระการประเมินของสถานศึกษาในภาพรวม รวมทั้ง ๓ ระดับ (๓ Level) คือ สำนักในส่วนกลาง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ สถานศึกษา ตามแนวทาง ๖ล ดังนี้

 

๑.     ลด/เลิกโครงการ/กิจกรรม/ตัวชี้วัดที่ซ้ำซ้อนและมีผลลัพธ์ (outcome) เดียวกัน

๒.    ลดปริมาณข้อมูลที่จัดเก็บ/ประเด็นที่ประเมิน

        ๓. ลด/เลิกการเก็บข้อมูลซ้ำจาก สพท./สถานศึกษา

๔. ลด/เลิกการรายงานในรูปแบบกระดาษ/การเขียนด้วยลายมือ

๕. ลด/เลิกการจัดเตรียมการเพื่อรองรับการติดตามและประเมิน

๖. ลดความซ้ำช้อน/ความถี่ของการติดตาม ประเมินผล

 

โดยให้หน่วยงานทั้ง ๓ ระดับ ในสังกัด สพฐ.ดำเนินการตามแนวทางลดภาระการประเมินของสถานศึกษา ดังนี้

 

 

การลดการประเมินของสถานศึกษา ในระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส่วนกลาง)

 

๑. ลด/เลิกโครงการ/กิจกรรม/ตัวชี้วัดที่มีความซ้ำซ้อนและมีผลลัพธ์ (outcome) เดียวกัน โดยบูรณาการเรื่องที่มีลักษณะคล้ายกันใช้ข้อมูลร่วมกัน

๒. ลดปริมาณข้อมูลที่จัดเก็บ/ประเด็นที่ประเมิน โดยเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็น

๓. ลด/เลิกการเก็บข้อมูลจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สถานศึกษาในกรณีที่มีระบบการจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบหรือข้อมูลสารสนเทศของสำนักในส่วนกลางแล้ว และใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลในการเชื่อมโยงข้อมูลจากส่วนกลาง (ทั้งการรายงานให้กับหน่วยงานภายในและภายนอก) เพื่อลดภาระการกรอกข้อมูลซ้ำ ๆ หลายครั้งการกรอกข้อมูลที่อาจผิดพลาด หรือ กรอกครั้งเดียวแต่สามารถใช้ได้หลายงาน

๔. ลด/เลิกการรายงานในรูปแบบกระดาษ/การเขียนด้วยลายมือ และให้รายงานผ่านระบบออนไลน์

๕. ลด/เลิกการจัดเตรียมการเพื่อรองรับการติดตามและประเมิน โดยลดการจัดตรียมเอกสาร จัดสถานที่การจัดนิทรรศการ การแสดงของนักเรียน ฯลฯ

๖. ลดความช้ำช้อน/ความถี่ของการติดตาม ประเมินผล ดังนี้

๖.๑ ลดการลงพื้นที่เชิงประจักษ์ และ/หรือจัดช่วงเวลาลงไปพร้อมกัน

๖.๒ ใช้รูปแบบการกำกับ ติดตามด้วยระบบออนไลน์

๖.๓ ทบทวน ปรับปรุง กระบวนการเก็บข้อมูล การติดตามประเมินผลจากส่วนกลาง และกำหนดปฏิทินทั้งปีในภาพรวมของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วแจ้งสำนักในส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาทราบ เพื่อให้ทราบกำหนดการ และมีเวลาในการจัดเตรียมข้อมูลรับการติดตามและประเมินผล

 

 

การลดการประเมินของสถานศึกษา ในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

 

๑. ลด/เลิกโครงการ/กิจกรรมที่ไม่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน มีความซ้ำซ้อน โดยบูรณาการเรื่องที่มีลักษณะคล้ายกันและสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้

๒ ลดปริมาณข้อมูลที่จัดเก็บ/ประเด็นที่ประเมินจากสถานศึกษา โดยเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็น

๓. ลด/เลิกการเก็บข้อมูลจากสถานศึกษาในกรณีที่มีระบบการจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบหรือข้อมูลสารสนเทศของสำนักในส่วนกลาง/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแล้ว และใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลในการเชื่อมโยงข้อมูลจากส่วนกลาง ทั้งการรายงานให้กับหน่วยงานภายใน/ภายนอกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) เพื่อลดภาระการกรอกข้อมูลช้า ๆ หลายครั้ง การกรอกข้อมูลผิดพลาด หรือกรอกครั้งเดียวแต่สามารถใช้ได้หลายงาน

๔. ลด/เลิกการรายงานในรูปแบบกระดาษ/การเขียนด้วยลายมือและให้รายงานผ่านระบบออนไลน์

๕. ลด/เลิกการเตรียมการเพื่อรองรับการประเมินทั้งจากการประเมินจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น จัดเตรียมเอกสาร การจัดนิทรรศการ จัดแสดงผลงาน การแสดงของนักเรียน ฯลฯ

๖. ลดความซ้ำช้อน/ความถี่ของการนิเทศ กำกับ ติดตาม ดังนี้

๖.๑ ลดการลงพื้นที่เชิงประจักษ์และให้บูรณาการจัดช่วงเวลาลงไปติดตามพร้อมกับองค์คณะต่าง ๆในรูปแบบคณะกรรมการ (ก.ต.ป.น. กรรมการสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ศึกษาธิการจังหวัด ฯลฯ)

๖.๒ ใช้รูปแบบการนิเทศ กำกับ ติดตามด้วยระบบออนไลน์เพื่อลดภาระการจัดเตรียมเอกสารและการเตรียมประชุม เพื่อประหยัดงบประมาณ

๖.๓ กำหนดปฏิทินทั้งปีในภาพรวมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแล้วแจ้งสถานศึกษาเพื่อรับทราบกำหนดการรับการนิเทศ กำกับ ติดตามล่วงหน้า และสถานศึกษามีเวลาในการจัดเตรียมข้อมูล

 

ทั้งนี้ โครงการ/กิจกรรม/การประกวด/การประเมินจากหน่วยงานภายนอกที่เป็นไปตามความสมัครใจและไม่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน/มีความช้ำซ้อน รวมถึงการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมของชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานต่างๆ ที่มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม โดยไม่ให้เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นของสถานศึกษาและครู

 

 

การลดการประเมินของสถานศึกษา ในระดับสถานศึกษา

๑. ลด/เลิกโครงการ/กิจกรรมที่ไม่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน/มีความซ้ำซ้อน โดยบูรณาการเรื่องที่มีลักษณะคล้ายกัน ใช้ข้อมูลร่วมกัน.

๒. ลดปริมาณข้อมูลที่จัดเก็บ/ประเด็นที่ประเมินจากครู เก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็น

๓. ลด/เลิกการเก็บข้อมูลจากครูในกรณีที่มีระบบการจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบรายงานหรือข้อมูลสารสนเทศ ของสำนักในส่วนกลาง/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สถานศึกษาแล้ว

๔. ลด/เลิกการรายงานในรูปแบบกระดาษ/การเขียนด้วยลายมือและให้รายงานผ่านระบบออนไลน์

๕. ลด/เลิกการเตรียมการเพื่อรองรับการประเมิน ทั้งจากการประเมินจากหน่วยงานภายในและภายนอกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงการประเมินต่าง ๆ ของสถานศึกษา เช่น จัดเตรียมเอกสารการประเมินเพื่อเลื่อนเงินเดือน การประเมินวิทยฐานะ การจัดนิทรรศการ จัดแสดงผลงาน การแสดงของนักเรียน ฯลฯ

๖. ลดความซ้ำช้อน/ความถี่ของการกำกับ ติดตาม ดังนี้

๖.๑ ลดความถี่การจัดประชุมแบบ Onsite

๖.๒ ปรับรูปแบบเป็นการประชุมออนไลน์

๖.๓ กำหนดปฏิทินทั้งปีในภาพรวมของสถานศึกษาแล้วแจ้งครูในสังกัดรับทราบกำหนดการรับการนิเทศ กำกับ ติดตามส่วงหน้า และครูมีเวลาในการจัดเตรียมข้อมูลและบริหารเวลาเพื่อมิให้กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

 

ทั้งนี้ การรายงาน/การประเมินที่เป็นไปตามความสมัครใจของสถานศึกษา เช่น การประกวด/แข่งขันต่าง ๆ และการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้เรียน ขอให้สถานศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม โดยไม่ให้กระทบต่อการจัดการเรียนการสอน และไม่เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้นของสถานศึกษาและครู

 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage