สภาการศึกษา ”อึ้ง-เพิ่งรู้“ จาก"นักเรียน"สะท้อนปัญหาโจทย์ข้อสอบ PISA “ค่อนข้างยาว-ซับซ้อน-ยาก” เหนือกว่าเนื้อหาในชั้นเรียน

 

สภาการศึกษา ”อึ้ง-เพิ่งรู้“ จาก "นักเรียน" สะท้อนปัญหาโจทย์ข้อสอบ PISA “ค่อนข้างยาว-ซับซ้อน-ยาก” เหนือกว่าเนื้อหาในชั้นเรียน

 

จากการลงพื้นที่ ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา และคณะฯ  จัดการประชุม "รับฟังความคิดเห็นและเก็บข้อมูลเชิงลึก เพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการยกระดับผลการทดสอบ PISA และบริการทุนมนุษย์สำหรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวัน” ครู ศึกษานิเทศก์ นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ณ โรงเรียนพรตพิทยพยัต และศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

 

โดยมี ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม ประธานคณะอนุกรรมการบริหารทุนมนุษย์ เพื่อเข้าสู่  EEC Model เป็นประธาน พร้อม นางอำภา พรหมวาทย์ ผู้อำนวยการสำนักประเมินผลการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนการศึกษา นางสาวนันนกรฐ์ ทิพย์สูงเนิน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2  

 

ดร.อาภาพร วรรณสุนธยา ผู้อำนวยการโรงเรียนพรตพิทยพยัต กล่าวให้ข้อมูลเบื้องต้นของ โรงเรียนพรตพิทยพยัต ถือเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนซึ่งมีภูมิลำเนาแตกต่างกันไป  ความหลากหลายของ นักเรียนหลายคนย้ายภูมิลำเนาตามผู้ปกครองเพื่อประกอบอาชีพ เพราะสภาพแวดล้อมที่อยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรม และโรงเรียนได้มีประสบการณ์เข้าร่วมและจัดการสอบ PISA 2022

 

ด้วยเหตุนี้ทั้ง ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม และ ดร. อรรถพล สังขวาสี จึงเห็นพ้องต้องกันว่าโรงเรียนแห่งนี้ มีความน่าสนใจสามารถศึกษาข้อมูลเชิงลึกเพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับการยกระดับผลการสอบ PISA ครั้งต่อไป และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารทุนมนุษย์

 

 

ดร.อรรถพล สังขวาสี และ ดร. ณหทัย ทิวไผ่งาม ได้ร่วมกันซักถามข้อมูลกับครูนักเรียนถึงความรู้สึกและลักษณะของการสอบ PISA

 

โดยนักเรียนตัวแทนกล่าวว่า “ข้อสอบ PISA มีความยากมากกว่าเนื้อหาในชั้นเรียน นอกจากจะต้องประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ด้านวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ต้องใช้การแก้ปัญหาซับซ้อน ด้านการอ่านโจทย์ มีบทความที่ค่อนข้างยาว”

 

สอดคล้องกับตัวแทนครูที่เห็นว่า “ข้อสอบนั้นไม่ได้ใช้ความรู้ขั้นสูง แต่เน้นการใช้ความรู้พื้นฐานมาประยุกต์ใช้” สำหรับปัญหาความยาวของบทความนั้น ส่งผลให้นักเรียนบางส่วนทำข้อสอบไม่ทัน แต่ที่นักเรียนทำข้อสอบได้ทัน เป็นเพราะว่า ตนฝึกฝนการอ่านและสรุปความ

 

ตัวแทนครูกล่าวด้วยว่า ทางโรงเรียนได้มอบหมายให้ครู ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนในหลายด้านก่อนทำการสอบ เช่น ความพร้อมผ่านบูรณาการเนื้อหาข้อสอบ PISA เข้าสู่ชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคุ้นเคยกับลักษณะข้อสอบ อีกทั้งยังส่งบุคลากรในโรงเรียน เข้าร่วมอบรม เพื่อเพิ่มเติมความรู้ด้านการจัดสอบ PISA อีกด้วย

 

 

นอกจากนี้ ที่ประชุมทั้งนักเรียน ครู และศึกษานิเทศก์ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในถึงการสอบ PISA ที่ผ่านมา ซึ่งทางโรงเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการสอบ PISA เป็นการสอบที่จำเป็นและสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ เพราะเป็นข้อสอบที่สามารถประเมินด้านการใช้ความรู้และทักษะ ในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน เพื่อให้เยาวชนมีศักยภาพพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

 

รวมไปยังแสดงความคิดเห็นเสนอแนะแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการ เห็นควรนำรูปแบบการทดสอบ PISA มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการวัดประเมินผล เพื่อยกระดับการทดสอบโรงเรียน   

 

 

สิ่งที่ควรดำเนินการเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์ ให้ทั่วถึงอย่างเร่งด่วนที่สุด เพื่อยกระดับผลการทดสอบ PISA ด้วยการวางแผน และ ที่ควรให้โรงเรียนทุกโรงเรียนได้มีภูมิความรู้เกี่ยวกับการสอบ PISA ทั้งรูปแบบข้อสอบ ระบบการสอบ วิธีการสอบ และเนื้อหาข้อสอบ อีกทั้ง ยังควรส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากรให้กับสถานศึกษาอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage