เครือข่ายอาชีวะฯ ไม่เกรงใจ ถาม "เพิ่มพูน" ทิศทางการศึกษาไทย "จะไปหนใด"

 

เครือข่ายอาชีวะฯ ไม่เกรงใจ ถาม "เพิ่มพูน"   

ทิศทางการศึกษาไทย "จะไปหนใด"

 

หมายเหตุ สำนักข่าวการศึกษาออนไลน์ EDUNEWSSIAM

 

...วันนี้ต้องยอมรับว่า การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพกำลังคนของประเทศกำลังประสบปัญหาหลายด้าน ไม่ว่าจะด้านงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการจัดด้านการศึกษา ที่ยังไม่ได้รับอย่างเต็มที่ หรือแม้แต่การสร้างความเข้มแข็งให้กับคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง มีแต่การทำงานที่ไล่หลังปัญหาที่เกิดขึ้นไปเป็นครั้ง ๆ

 

อีกทั้ง การจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบัน ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของบุคคล สังคม ประเทศ ทันยุค จึงก่อให้เกิดความทุกข์จากการเรียนมากมาย แม้แต่อยู่ในโรงเรียนก็ยังไม่เพียงแต่จะเกิดภาพความทุกข์ อันเกิดจากการก่อการทะเลาะวิวาทกับเพื่อนนักเรียนเท่านั้น อีกทั้งยังต้องระวังเหตุเกิดจากการกระทำของครูที่มีจิตชั่วร้ายบางคนที่ไร้จรรยาบรรณในวิชาชีพ หรือ มีเหตุระหว่างครูกับผู้บริหาร ในสถานศึกษาเดียวกันด้วย 

 

มองว่า โรงเรียนไม่ใช่เป็นสถานที่ปลอดภัย ส่งผลให้การเรียนไม่ใช่เรื่องสนุก ไม่มีความสุข ไม่น่าเรียนเพราะเหตุดังกล่าว

 

ทั้งหลายทั้งปวง ล้วนเป็นปัญหาใหญ่ ที่กระทรวงศึกษาธิการ และ รัฐบาลชุดปัจจุบัน ควรจะเร่งแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างความเข้มแข็ง หรือ ทิศทางที่จะกำหนดแนวทางการศึกษาให้เยาวชน ได้เลือกอนาคตของตนเองได้อย่างมีความมั่นใ

 

โดยเฉพาะ การดำเนินการนโยบายทางการศึกษาให้สอดรับกับนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พล ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ กับนโยบาย “เรียนดี มีความสุข" ที่แท้จริงนั้น ทำอย่างไรจึงจะบรรลุผลเป็นรูปธรรม

  

16 มีนาคม 2024

 

  

วันนี้คณะรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยเฉพาะนายกซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศ ได้ตั้งเป้าหมายหรือมีนโยบายในการยกระดับการศึกษา ให้เท่าทันประเทศที่เจริญ หรือ มีการเอาจริงเอาจังต่อการยกระดับการศึกษา ด้วยการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาของประชาชนมากแค่ไหน มีแนวทางที่จะสร้างบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถ เพื่อพัฒนาประเทศในอนาคตได้อย่างไร   

 

ตราบใดก็ตาม ถ้าผู้นำของประเทศลืมเรื่องการศึกษาที่เป็นต้นตอ หรือ เป็นปัญหาเรื่องของปากท้องและความยากจน ถ้าประชากรของประเทศมีการศึกษาดีได้รับการพัฒนา ก็จะทำให้ประชาชนในประเทศสามารถประกอบอาชีพที่มีรายได้สูงขึ้น

 

มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านได้ยกประเด็นของผู้นำต่างชาติ เช่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเวียดนาม ซึ่งอยู่ใกล้ไทย เป็นต้นว่า ในการสร้างชาตินั้นเบื้องต้น ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรคน โดยการพัฒนาการศึกษา

 

ดูอย่าง ผู้นำเวียดนาม ประกาศการศึกษาต้องมาก่อน ไม่ได้เอาเศรษฐกิจมาก่อน โดยส่งเด็กเวียดนามไปเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เป็นต้น ต่างกับประเทศไทย ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาการศึกษาพื้นฐานของเยาวชนให้เท่าเทียมกันได้

 

 

ทั้งนี้ เพื่อที่จะให้ประเทศได้ก้าวกระโดดสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูงของประเทศได้ เช่น ผู้นำอินโดนีเซียประกาศยกระดับมหาวิทยาลัยกว่า 5,000 แห่ง รับนักศึกษาเข้าเรียนมากกว่า ปีละ 5 ล้านคนเพราะเด็กยังเกิดเยอะ ประชากรคุณภาพมากขึ้นทุกวัน การศึกษาถือเป็นพลังสร้างเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ของโลก  

 

ขณะเดียวกันหันมามองดูประเทศไทย ไม่มีทั้งปริมาณประชากร เพราะเด็กไทยเกิดน้อยลง พ่อแม่ในสังคมไทย ที่เต็มไปด้วยปัญหาความขัดแย้งปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหายาเสพติด และปัญหาการศึกษาที่ “ไม่มีคุณภาพ”

 

และการที่ “ประชากรขาดคุณภาพ” เพราะการศึกษาไม่ได้รับการพัฒนาให้เท่าเทียมกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ประกาศต้องเรียนถึงมหาวิทยาลัย 70% ยกระดับพัฒนาเตรียมพร้อมอุตสาหกรรมยุคใหม่

   

ส่วนประเทศไทย ไม่ต้องถึงขนาดสนับสนุนให้ผู้เรียนมุ่งเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย ที่มีผู้เรียนเยอะเหมือนชาติอื่น ขอเพียงแค่ให้รัฐบาลไทยสนใจอย่างจริงจัง แค่ยกระดับผู้เรียนให้มีความรู้ด้านวิชาชีพ แค่จัดการหรือสนับสนุนระดับผู้เรียนวิชาชีพ ตั้งแต่ ปวช. ปวส. ป.ตรี แบบเรียนฟรี 

 

เพียงแค่นี้ ก็ยังไม่ได้รับความใส่ใจ หรือ ให้การสนับสนุนเท่าที่ควร ไม่มีพรรคการเมืองใดรัฐบาลใดที่จะหันมาสนับสนุนให้ผู้เรียนเรียนด้านวิชาชีพสูงขึ้น เพื่อสร้างกำลังคนให้พัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนาประเทศชาติ 

 

ตบท้ายด้วยว่า จะทำอย่างไรจึงจะให้รัฐบาล ได้มาให้การช่วยเหลือการจัดการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษา เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ประชากรในประเทศชาติ ได้อย่างแท้จริง 

 

นาย ณุวงค์ศรี ประธานเครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย(ค.ร.อ.ท.)

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage