ปฐมบท โครงการ "สุขาดี มีความสุข"

 

ปฐมบท : โครงการ "สุขาดี มีความสุข"   

 

ตุลย์ ณ ราชดำเนิน EDUNEWSSIAM

 

“...สืบเนื่องจาก ในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนแรก ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ของปีการศึกษา 2567 ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้สำรวจความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า สิ่งที่ต้องการมากที่สุด คือ ต้องการให้มีการปรับปรุงเรื่องของห้องน้ำ ทาง สพฐ.จึงรับเสียงสะท้อนเหล่านี้ของนักเรียนมาดำเนินการ ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายสั่งการให้ ผู้บริหารสถานศึกษา และเขตพื้นที่ฯ สำรวจสภาพห้องน้ำของโรงเรียนแต่ละแห่งในสังกัด จึงเป็นที่มาของ โครงการ "สุขาดี มีความสุข" เป้าหมายสถานศึกษามีห้องน้ำครู/นักเรียนที่ สะอาด สะดวก สบาย  สุขลักษณะ สวยงาม  ...”  

 

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการฯ กับ สำนักข่าวการศึกษา edunewssiam ถึง ปฐมบท โครงการ "สุขาดี มีความสุข" จึงเป็นที่มาของการพูดคุยกันครั้งนี้

 

 

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ”... เป้าหมายในการปรับปรุง ซ่อมแซม ใน โครงการ "สุขาดี มีความสุข" นั้น ได้แก่ การปรับปรุงซ่อมแซมสุขภัณฑ์ โถส้วม โถปัสสาวะ อ่างล้างมือให้สะอาดและถูกสุขลักษณะ รวมถึงปรับปรุงซ่อมแซมประตู ช่องระบายอากาศ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและมีความปลอดภัย ระบบน้ำประปา จะต้องมีการเตรียมให้มีความเพียงพอ การดูแลเรื่องระบบไฟฟ้า ไฟแสงสว่างภายในให้เพียงพอและปลอดภัย รวมไปถึงการทาสีห้องน้ำ จัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกให้เหมาะสมถูกสุขลักษณะด้วย”

 

ส่วนแนวทางในการดำเนินการนั้น สพฐ.ได้จัดสรรงบประมาณปรับปรุงห้องน้ำโรงเรียนให้จำนวน 100 ล้านบาท ในกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก ประมาณ 9,700 แห่ง ที่มีนักเรียน 80 คน ลงมาก่อน ซึ่งได้ส่งคณะทำงานลงไปสำรวจในโรงเรียนกลุ่มดังกล่าวแล้ว พบ สภาพห้องน้ำชำรุดทรุดโทรม มีหลายสิ่งที่ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีความสุข   

 

 

โดยงบที่จัดสรรให้โรงเรียนนำไปดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซม ซึ่งกำหนดแนวปฏิบัติทุกอย่างให้แล้วเสร็จ ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 กลางเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา อีกทั้งจะไม่แบ่งแยกห้องน้ำครูหรือห้องน้ำนักเรียนแล้ว จะแบ่งแยกแค่เฉพาะห้องน้ำชายและหญิงเท่านั้น จะเด็กและครูสามารถใช้ห้องน้ำร่วมกันได้

 

ซึ่งการปรับปรุงห้องน้ำโรงเรียนในสังกัด ให้ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย จะส่งผลต่อการพัฒนา และเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักการใช้ บำรุง ดูแล และรักษาห้องน้ำอย่างถูกวิธี เพื่อจะได้มีห้องน้ำโรงเรียนที่ถูกสุขลักษณะ เสริมสร้างความปลอดภัยต่อสุขอนามัยที่ดีของนักเรียน ส่งผลให้เรียนดี มีความสุข ไปพร้อมกัน

 

 

แน่นอนว่า บุคคลสำคัญในการขยับขับเคลื่อนให้เกิด โครงการ "สุขาดี มีความสุข" ครั้งนี้ ต้องขอบคุณท่าน ท่าน พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศึกษาธิการ ในฐานะที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันทำให้ทุกอย่างสำเร็จเป็นรูปธรรม ตามนโยบายเรียนดีมีความสุข อย่างที่ปรากฎในทุกวันนี้ 

 

เมื่อถามถึง เกณฑ์มาตรฐานห้องน้ำสถานศึกษา โครงการสุขาดี มีความสุข ต่อการพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการห้องน้ำ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ระบุว่า...การพัฒนาห้องน้ำในสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรคติดต่อ และเพื่อสร้างความพึงพอใจ ให้แก่นักเรียน คุณครู และ ผู้ปกครอง ต้องให้บรรลุให้ได้มาตรฐาน ๕ ประการ คือ สะอาด(แห้ง,หอม) สะดวก สบาย สุขลักษณะ และ สวยงาม  

 

โดยโครงการ “สุขาดี มีความสุข” นอกจากมีเป้าหมายพัฒนาและปรับปรุงห้องน้ำโรงเรียนในสังกัด ให้ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยแล้ว ยังเล็งผลถึงการปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักการใช้ บำรุง ดูแล และรักษาห้องน้ำอย่างถูกวิธี เพื่อจะได้มีห้องน้ำโรงเรียนที่ถูกสุขลักษณะ เสริมสร้างความปลอดภัยต่อสุขอนามัยที่ดีของนักเรียน ส่งผลให้เรียนดี มีความสุข ไปพร้อมกัน

 

“คงต้องยอมรับความจริงว่า เรื่องส้วมหรือห้องน้ำ ต้องถือเป็นปัญหาใหญ่ของระบบการศึกษาไทย เมื่อห้องน้ำไม่สะอาดจะก่อปัญหาด้านสุขภาพกับเด็ก ก่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และโรคอื่น ๆ ได้ เพราะการปลดปล่อยในห้องน้ำที่สะอาด ไม่ว่าเราที่เป็นผู้ใหญ่หรือใครก็ตาม เราจะรู้สึกได้ถึงความสุขและอยากจะขอบคุณผู้ดูแลรักษารวมถึงผู้ร่วมใช้สถานที่มีความรับผิดชอบต่อการใช้อย่างถูกวิธี ดังนั้น การมีห้องน้ำโรงเรียนที่สะอาด ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ จะทำให้เด็กสุขภาพกายดี สุขภาพใจดี มาเรียนอย่างมีความสุข ด้วยเช่นกันว่าไหม” เลขา ธนุ กล่าวเสริม   

 

 

โดยโครงการ “สุขาดี มีความสุข” นอกจากมีเป้าหมายพัฒนาและปรับปรุงห้องน้ำโรงเรียนในสังกัด ให้ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยแล้ว ยังเล็งผลถึงการปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักการใช้ บำรุง ดูแล และรักษาห้องน้ำอย่างถูกวิธี เพื่อจะได้มีห้องน้ำโรงเรียนที่ถูกสุขลักษณะ เสริมสร้างความปลอดภัยต่อสุขอนามัยที่ดีของนักเรียน ส่งผลให้เรียนดี มีความสุข ไปพร้อมกัน

 

“คงต้องยอมรับความจริงว่า เรื่องส้วมหรือห้องน้ำ ต้องถือเป็นปัญหาใหญ่ของระบบการศึกษาไทย เมื่อห้องน้ำไม่สะอาดจะก่อปัญหาด้านสุขภาพกับเด็ก ก่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และโรคอื่น ๆ ได้ เพราะการปลดปล่อยในห้องน้ำที่สะอาด ไม่ว่าเราที่เป็นผู้ใหญ่หรือใครก็ตาม เราจะรู้สึกได้ถึงความสุขและอยากจะขอบคุณผู้ดูแลรักษา รวมถึงผู้ร่วมใช้สถานที่มีความรับผิดชอบต่อการใช้อย่างถูกวิธี ดังนั้น การมีห้องน้ำโรงเรียนที่สะอาด ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ จะทำให้เด็กสุขภาพกายดี สุขภาพใจดี มาเรียนอย่างมีความสุข ด้วยเช่นกันว่าไหม” เลขา ธนุ เสริม   

 

อย่างไรก็ตาม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ยังตอบคำถามถึงหากงบประมาณที่จัดสรรให้ไม่พอ ก็สามารถดึงชุมชน หรือภาคเอกชน หรือศิษย์เก่า เข้ามาร่วมวางแผนช่วยปรับปรุงห้องส้วมให้ถูกสุขอนามัย ตามกำลังได้ เช่น ช่วยออกค่าวัสดุอุปกรณ์หรือแรงงานบางอย่าง

 

โดยยึดเกณฑ์ HAS คือ ถูกสุขลักษณะ เพียงพอ และปลอดภัย ทำให้โรงเรียนกับชุมชนแนบแน่นมากขึ้น ซึ่งทราบว่ามีสถานศึกษาหลายแห่ง ก่อนหน้านี้ได้รับการช่วยเหลือดำเนินการอยู่ถึงปัจจุบัน ซึ่ง สพฐ.ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

 

 

เมื่อถามถึง บรรยากาศในหลังจาก KICK OFF โครงการสุขาดี มีความสุข เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 67  ขณะนี้มีเสียงสะท้อนกลับมาอย่างไรบ้าง ได้รับคำตอบจาก เลขา กพฐ. ว่า วันนั้นมี พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ในพิธีเปิดโครงการ ณ โรงเรียนวัดเมตารางค์ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี นายสุรศักดิ์ พันธุ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนวัดหนองน้ำส้ม (เจียนวิทยาคาร) จ. พระนครศรีอยุธยา

 

รวมถึง นายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนบ้านสร้างถ่อ จ.อุบลราชธานี นายวิศรุต ปู่เพ็ง โรงเรียนบ้านร่องแซง จ.ขอนแก่น โรงเรียนอนุบาลพิจิตร จ.พิจิตร และ คณะผู้บริหารระดับสูง โรงเรียนวัดธารน้ำไหล จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งทุกจุดเป็นไปด้วยดี มีการถ่ายทอดกิจกรรม การติดป้ายโลโก้ “สุขาดี มีความสุข” ทุกโรงเรียนพร้อมกันทั่วประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting

 

สำหรับการติดตามประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน ห้องน้ำนักเรียน สพฐ. "สะอาด สะดวก สบาย สุขลักษณะ สวยงาม" กำหนดไว้ ตั้งแต่ วันที่ 30 มิ.ย. 67 เป็นต้นไป

 

 

ก่อนสิ้นสุดการพูดคุยกันในวันนั้น ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)  กล่าวว่า “...เราเชื่อว่าเด็ก ๆ จะมีความสุขมากขึ้น หากทุกท่านมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยกันตรวจสอบและเสนอแนะ การปรับปรุงร่วมมือในการดำเนินงานในการพัฒนา สภาพแวดล้อมที่ดีในสถานศึกษา

 

เพราะอย่างน้อย การมีห้องน้ำที่สะอาดและปลอดภัย โครงการ “สุขาดี มีความสุข” ช่วยส่งเสริมสุขภาพและเสริมสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับนักเรียนและบุคลากร ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง อีกทั้งทำให้สถานศึกษาเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ยอดเยี่ยมและเต็มไปด้วยความสุข ตาม นโยบายเรียนดีมีความสุข ของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย ...”