เปิดแผน!! สหพันธ์ขรก.บำนาญภาคเหนือฯ บุกพรรคเพื่อไทย ปรับเพิ่ม-ทวงเงิน ช.ค.บ.ตกเบิกที่เหลือคืนย้อนหลัง...ได้วันไหน กี่โมง…
ตุลย์ ณ ราชดำเนิน : edunewssiam รายงาน
ภาพ : สหพันธ์ขรก.บำนาญภาคเหนือฯ
สืบเนื่องจาก เมื่อวันอังคารที่ 6 มีนาคม 2567 ดร.ทนง ทศไกร ประธานสหพันธ์ข้าราชการบำนาญภาคเหนือ 16 จังหวัด (สบน.) จัดประชุมครั้งที่ 1/2567 เตรียมขับเคลื่อนเพิ่มสวัสดิการบำนาญผ่าน รมช.การคลัง รมว.การคลัง และ นายกรัฐมนตรี ตลอดทั้งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ณ ห้องประชุม CK HALL ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าจังหวัดพิจิตร อ.เมือง จ.พิจิตร
วาระสำคัญ คือ การติดตามสวัสดิการบำนาญ ขอตกเบิกเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) ย้อนหลังที่รัฐยังเฉย รวมทั้งการปรับเงิน ช.ค.บ. แก้ไขสูตรคิดคำนวณบำเหน็จบำนาญ แก้ปัญหาของข้าราชการบำนาญ ซึ่งเป็นปัญหาของข้าราชการบำนาญ และเรื่องอื่น ๆ ตามที่ได้มอบหนังสือให้ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมประสานหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ไปแล้วตั้งแต่ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา
เรื่องแรก ติดตามทวงถามเรื่องขอตกเบิกเงิน ชคบ. ของข้าราชการบำนาญ ย้อนหลังให้กับข้าราชการบำนาญผู้ที่ลาออกจาก กบข. เนื่องจากสมาชิกบำนาญที่ลาออกจาก กบข.กลับมารับบำนาญ แบบ ปี 2497 จะได้รับเงินบำนาญเพิ่ม ย้อนไปถึงวันเกษียณ และได้ 4 % สุดท้ายคำนวณบำนาญใหม่ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ด้วย และมีตกเบิกบำนาญย้อนหลังให้อีก
แต่เงิน ชคบ.อีก 17 % ของเงิน ชคบ.ที่เพิ่ม รัฐไม่ตกเบิกเงิน ชคบ.ให้ ทั้งที่เงินบำนาญที่เพิ่มให้ได้รับย้อนไปให้ถึงวันเกษียณ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลตกเบิกเงิน ชคบ ที่เหลือให้กับข้าราชการบำนาญทุกคนที่มีสิทธิ์
เรื่องที่สอง ติดตามผลข้าราชการบำนาญขอให้รัฐบาลปรับ เงิน ชคบ. ให้สมาชิกบำนาญ เพราะไม่ได้ปรับเงินมาเป็นเวลานาน ครั้งสุดท้าย ปรับเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2557 ที่เรียกร้องให้ปรับเงิน ชคบ.ด้วยเหตุผล คือ ไม่ได้ปรับมา 9 ปีแล้ว
ยกอ้างสถิติการปรับเงินเดือน หรือเงิน ชคบ.ช่วงที่ผ่านมาแต่ละครั้งห่างกันไม่เกิน 3 ปี คือ ปี 2547, 2548 ติดต่อกัน ต่อมา ปี 2550 ห่างกัน ๒ ปี และมาปรับ 2554 ห่างกัน ๓ ปี สุดท้าย 1 ธันวาคม 2557 ห่างกัน 2 ปี จากครั้งสุดท้าย เมื่อ ปี 2557 ถึง 2567 เท่ากับเป็นเวลา 10 ปี
แล้วสภาพปัจจุบัน มีทั้งค่าครองชีพสูง เงินเฟ้อของแพง ค่าของเงินลด น้ำมันแพง ค่าไฟพุ่ง แต่ข้าราชการบำนาญได้รับเงินบำนาญเท่าเดิม จึงเรียกร้อง ให้รัฐบาลปรับเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบด่วน
เรื่องที่สาม ติดตามการขอให้รัฐบาลปรับแก้ไขการคำนวณสูตรการคิดคำนวณบำเหน็จบำนาญ ตามพระราชบัญญัติเดิมทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งมีการคิดสูตรคำนวณบำเหน็จบำนาญหารด้วย 50 โดยขอให้เปลี่ยนเป็นหารด้วย 30 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ตามมติของสภาผู้แทนราษฎรที่รับหลักการ ของ คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูสภาผู้แทนราษฎร ที่เข้าสภาเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 และรับหลักการเป็นเอกฉันท์ไปแล้ว รอพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลจะสานต่อดำเนินการเพื่อจะทำให้บำนาญได้รับสูงขึ้น
ร่าง พ.ร.บ.ทั้งสามฉบับ ก็อยู่กับพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 9 พรรค มี สส.จำนวน 20 คน นำโดย สส.ดร.ปรีดา บุญเพลิง ได้ยื่นแก้ไขผ่านประธานรัฐสภาเช่นกัน ที่ตนในฐานะประธาน สบน.นำเสนอไว้ ที่ห้องประชุมเล็กรัฐสภาห้อง 607 เมื่อปี 2565
เรื่องที่สี่ ติดตามเรื่องจากศูนย์สิทธิข้าราชการบำนาญ ที่ นายสรศักดิ์ อ้วนล้วน และคณะ ได้ยื่นเรื่องขอเพิ่ม ช.ค.บ..อีกร้อยละ 7 ต่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยคณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยอีกส่วนหนึ่ง ณ รัฐสภา เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา
สำหรับการติดตามเรื่องที่ยื่นให้รัฐบาลแก้ปัญหาของข้าราชการบำนาญ ดังกล่าว ที่ประชุมสหพันธ์ข้าราชการบำนาญภาคเหนือ 16 จังหวัด ได้ผ่านการอภิปรายอย่างกว้างขวาง อาทิ นายถวิล น้อยเขียว นายบุญเสริม สิงห์ทอง และอีกหลาย ๆ ท่าน และที่ประชุมมีมติให้ขับเคลื่อน 3 แนวทาง คือ
นอกจากจะมีการติดตามเรื่องแล้ว สบน. ยังมีแผนการเข้าพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ที่บ้านพัก ณ จังหวัดเชียงใหม่ เข้าพบและยื่นเรื่องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและนายกรัฐมนตรี ในโอกาสตรวจราชการที่จังหวัดพะเยา และ สุดท้าย คือ การเข้าพบกับหัวหน้าพรรคเพื่อไทยละนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ข้อมูลและขอรับความช่วยเหลือโดยตรง
อาจเรียกได้ว่า เป็นปฏิบัติการที่สุดยอดจริง ๆ