ครม.ไฟเขียว 7 พันล้าน ผลิตพยาบาลวิชาชีพ ข้าราชการ เพิ่ม 15,985 คน ใน 62 สถาบัน

'ครม.' แต่งตั้ง 'เกณิกา' นั่ง 'รองโฆษกรัฐบาล' โควตา พปชร. 'ลุงป้อม' ส่ง ...

 

ครม.ไฟเขียว 7 พันล้าน ผลิตพยาบาลวิชาชีพข้าราชการ เพิ่ม 15,985 คน ใน 62 สถาบัน 

 

30ก.ค. 2024 รายงาน ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการเพิ่มบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์ ปีการศึกษา 2566 – 2570 โดยจ่ายเป็นงบในการผลิตบัณฑิตในอัตรา 110,000 บาท/คน/ปี หรือ 440,000 บาท/คน/หลักสูตร รวมวงเงินกว่า 7,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มการผลิตข้าราชการ "พยาบาลวิชาชีพ" 15,985 คน "ศุภมาส"เผย เป็นการแก้ปัญหาขาดแคลนพยาบาล ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี สถาบันการศึกษาพยาบาลเข้าร่วม 62 สถาบัน 

 

นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (30 กรกฎาคม 2567) มีมติให้ความเห็นชอบการดำเนินโครงการเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์ (ปีการศึกษา 2566- 2570) และการจัดสรรงบประมาณในการผลิตพยาบาลเพิ่มโดยมีอัตราค่าใช้จ่ายเป็นงบดำเนินการในการผลิตบัณฑิตใน อัตรา 110,000 บาทต่อคนต่อปี หรือ 440,000 บาทต่อคนต่อหลักสูตร รวมวงเงินทั้งสิ้น จำนวน 7,033.40 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เสนอ



ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการเพิ่มบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์ ปีการศึกษา 2566 – 2570 โดยจ่ายเป็นงบในการผลิตบัณฑิตในอัตรา 110,000 บาท/คน/ปี หรือ 440,000 บาท/คน/หลักสูตร รวมวงเงินกว่า 7,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มการผลิตข้าราชการ "พยาบาลวิชาชีพ" 15,985 คน

 

ทุ่มงบฯ 1,700 ล้าน ผลิตพยาบาลวิชาชีพรองรับสังคมผู้สูงอายุ

 

สรุปแผนจำนวนการผลิตพยาบาลเพิ่มและงบประมาณอจำแนกตามสังกัดสถาบันการศึกษา ดังนี้

 

  • สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พยาบาลวิชาชีพที่จะผลิตเพิ่ม 8,145 คน งบประมาณ 3,583.80 ล้านบาท
  • สังกัดกรุงเทพมหานคร (คณะพยาบาลศาสตร์ เกื้อการุณญ์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธราช) พยาบาลวิชาชีพที่จะผลิตเพิ่ม 500 คน งบประมาณ 220.00 ล้านบาท
  • สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สถาบันพระบรมราชชนก) พยาบาลวิชาชีพที่จะผลิตเพิ่ม 7,340 คนงบประมาณ 3,229.60 ล้านบาท

รวม พยาบาลวิชาชีพที่จะผลิตเพิ่ม 15,985 คน งบประมาณ 7,033.40 ล้านบาท

 

“ศุภมาส อิศรภักดี” รมว.อว. แจงแต่งตั้งอธิการบดี 12 แห่งล่าช้า เหตุต้อง ...

 

น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยหลังประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติแผนเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาการพยาบาล ปีการศึกษา 2566 – 2570 ตามที่กระทรวง อว.เสนอ

 

โดยแผนดังกล่าวนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้  อว.มีการผลิตพยาบาลเพิ่ม ตนจึงสั่งการให้สำนักงานปลัด  อว.ร่วมกับสภาการพยาบาล จัดทำแผนเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาการพยาบาล เนื่องจากพยาบาลเป็นสาขาที่มีความจำเป็นและยังมีการขาดแคลนอยู่มาก และยังมีผู้ต้องการเรียนสูง ซึ่งถ้าดูจากการสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาปีการศึกษา 2567 (TCAS) มีผู้สมัครและเลือกสาขาพยาบาลมากที่สุดเป็นลำดับที่หนึ่ง จำนวนถึง 106,346 คน

 

น.ส.ศุภมาส กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์ปีการศึกษา 2566 - 2570 เป็นโครงการต่อเนื่องหรือระยะที่ 2 จากโครงการเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลปีการศึกษา 2561 -2565 ซึ่งเป็นระยะที่ 1 โดยในโครงการเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลปีการศึกษา 2566 -2570 มีเป้าหมาย คือ

 

1.ผลิตพยาบาลวิชาชีพให้มีอัตราส่วนพยาบาลต่อประชากรในภาพรวมของประเทศ 1 ต่อ 326 เมื่อสิ้นสุดโครงการในปี 2574 (ในปี 2565 มีอัตราส่วนพยาบาลต่อประชากร 1 ต่อ 371)

 

ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลก กำหนดให้สัดส่วนที่เหมาะสมคือ 1:200 ซึ่งประเทศไทยยังต้องผลิตเพิ่มอีกจำนวนมาก แต่ความสามารถในการผลิตของสถาบันอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันยังมีจำกัด เนื่องจากการผลิตพยาบาลวิชาชีพนั้น ต้องมีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด เป็นไปตามมาตรฐานสภาวิชาชีพ 2.ผลิตพยาบาลวิชาชีพ โดยจะรับนักศึกษาจำนวน 5 รุ่น ในปีการศึกษา 2566 - 2570 จำนวน 43,890 คนโดยแบ่งเป็นแผนรับปกติ 27,905 คน

 

และแผนการผลิตเพิ่มจำนวน 15,985 คน หรือเพิ่มร้อยละ 36.42 ของจำนวนรับทั้งหมด โดยมีสถาบันการศึกษาพยาบาลเข้าร่วมโครงการจำนวน 62 สถาบันประกอบด้วย สถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวง อว. 31 แห่ง สถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 30 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษา สังกัด กทม. 1 แห่ง

 

Thai Nursing Student Stock Photos - Free & Royalty-Free Stock Photos ...

 

น.ส.ศุภมาส กล่าวอีกว่า ตามแผนการผลิตบุคลากรสาขาการพยาบาลเพิ่ม จำนวน 15,985 คน งบประมาณที่ขอรับการสนับสนุน ประมาณ 7,033,400,000 บาท โดยคำนวณในอัตราค่าใช้จ่าย 440,000 บาทต่อคนต่อหลักสูตร ที่สำคัญ อว. จะร่วมกับ สภาการพยาบาล ในการวางแผนการผลิตอาจารย์พยาบาลเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะได้มีการขยายการผลิตพยาบาลให้เพิ่มมากขึ้นได้อย่างเพียงพอในอนาคต

 

"ดิฉันในฐานะรับผิดชอบสถาบันอุดมศึกษา ได้มองเห็นถึงสถานการณ์ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลสะสมมาเป็นเวลานาน และมีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้น แม้จะมีการเพิ่มจำนวนการผลิตก็ตามและที่ผ่านมาได้ประชุมหารือกับสถาบันการศึกษาเพื่อหาทางแก้ปัญหามาโดยตลอด จนกระทั่งได้จัดทำแผนเพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาการพยาบาล ปีการศึกษา 2566 – 2570 ขึ้น โดยมี 62 สถาบันร่วมกันผลิต

 

แต่สิ่งสำคัญที่ดิฉันตั้งใจนอกจากเร่งผลิตพยาบาลแล้ว ยังจะเร่งทำงานคู่ขนานไปด้วย คือ จะไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูแลด้านสวัสดิการและค่าตอบแทนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน รวมทั้งกรอบอัตราบรรจุเพื่อให้เกิดความมั่นคงในวิชาชีพด้วย” น.ส.ศุภมาส กล่าว