“พระสมเด็จ” เกศไชโย หลัง ร.4 สวยงามแบบฉบับพระสายวัง


พระสมเด็จ” พิมพ์เกศไชโย จารึกหลังพระบรมรูป ร.4 ปิดทองเก่าทั้งด้านหน้าและด้านหลัง สวยงามแบบฉบับพระสายวัง 

 

พระสมเด็จ สายวัง ของคุณพ่อยังคงมีอีกหลากหลายแบบที่นำมาให้ชม องค์นี้เองก็จัดเข้าพระสมเด็จสายวังได้ เนื่องจากด้านหลังขององค์พระเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔) ครึ่งพระองค์ มีรอยกดลึก เป็นคำว่า ร.๔  ปิดทองเก่าทั้งองค์ ด้านหน้าและด้านหลัง

พระสมเด็จ เกศไชโย องค์นี้ เป็นชุดเดียวกับที่คุณพ่อได้มาจากตระกูลของลูกหลานสายทหาร ที่คุณปู่เคยทำงานในพระราชวัง และเก็บสะสมมา

ถามถึงความชื่นชอบโดยส่วนตัวคุณพ่อ คือ ความวิจิตร และงดงามของช่างหลวงที่แกะพิพม์ ประดับคริสตัน ปิดทองเก่า ทำให้มีความสวยงามในแบบดั้งเดิม นอกจากพระสมเด็จที่ผ่านกาลเวลามากว่า 150 ปีแล้ว การเก็บพระสมเด็จสายวังนี้เอง เป็นชุดที่น่าเก็บสะสม และศึกษามากๆ เนื่องจากจำนวนที่ผลิตไม่เยอะเท่าพิมพ์ที่แจกชาวบ้านทั่วไป และยังสวยงามในแบบช่วงหลวงสมัยก่อนอีกด้วย

เนื่องจากการปิดทองเท่าทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ทำให้มองไม่เห็นเนื้อในทั้งหมด คุณพ่อพิจารณาจาก จากการหลุดร่อนของทองเท่าที่ปิดไว้ เผยให้เห็นมวลสารเนื้อในบางจุดเป็นสีฟ้า และมีความยุบและการมุดซุ้มของมวงสารในส่วนของซุ้มเรือนแก้วให้เห็นอยู่ และความแห้งขององค์พระที่ผ่านกาลเวลามากว่า 150 ปี องค์ประกอบต่างๆ เป็นจุด ตัดสินใจ ในการเก็บสะสมพระสมเด็จชุดนี้

 

แบ่งพิมพ์พระสมเด็จ

ผู้เขียน เคยเล่ามาบ้างแล้วว่า นอกจากพิมพ์นิยม และพิมพ์ที่ถูกจำแนกกว่า 10 พิมพ์ของพระสมเด็จ ยังมีการแบ่งพิมพ์อีกประเภท ที่น่าสนใจเลยทีเดียว

โดย อ.ปิ่นสัณฑ์ สิงหเสนี ผู้สะสมและสืบทอดมรดกพระสมเด็จจากต้นตระกูลสิงหเสนี และจากประสบการณ์เรื่องพระสมเด็จของท่าน สามารถแยกพิมพ์พระสมเด็จที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โตได้สร้างและปลุกเสกไว้ โดยมีทั้งช่างหลวง ช่างสิบหมู่ ช่างชาวบ้าน ฯลฯ ต่างช่วยกันแกะบล็อกแม่พิมพ์พระสมเด็จมากมาย สามารถแบ่งออกเป็น 5 พิมพ์ หลักๆ คือ

1. พิมพ์วัง สมเด็จฯ โต สร้างไว้เพื่อบรรจุไว้ในวังและหอพระ

2. พิมพ์วัด สมเด็จฯ โต สร้างไว้เพื่อบรรจุในวัดและกรุวัดต่างๆ ซึ่งมีราวๆ 9 วัด คือ วัดเกศไชโย วัดสะตือ วัดโพธิ์ วัดระฆัง วัดบางขุนพรหม วัดสระเกศ วัดลครทำ วัดขุนอินทประมูล วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

3. พิมพ์บ้าน สมเด็จฯ โต สร้างไว้เพื่อแจกชาวบ้าน

4. พิมพ์วังหน้า สมเด็จฯ โต สร้างไว้เพื่อบรรจุไว้ที่ส่วนวังหน้า (พื้นที่วังหน้าเดิมได้ดัดแปลงส่วนหนึ่งเป็นสนามหลวง โรงละครแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน)

5. พิมพ์พุทธจารึก  สมเด็จฯ โต สร้างไว้เพื่อบันทึกเรื่องราวประเพณีในสมัยนั้น เช่น พระสมเด็จหลังพิธีโยนบัว, พระสมเด็จหลังเสาชิงช้า ฯลฯ

ผู้เขียนคิดว่า พระสมเด็จ สายวัง องค์นี้เอง น่าจะเข้าตามพิมพ์ที่ อ.ปิ่นสัณฑ์ ได้ว่าเอาไว้

 

พระสมเด็จ เกศไชโย

พิมพ์เกศไชโย นี้เอง เป็นที่โด่งดัง ใน จ.อ่างทอง เนื่องจาก เป็นสกุลพระที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ได้สร้างและนำมาบรรจุกรุที่องค์พระประธานที่ท่านสร้างขึ้น ณ วัดไชโยวรวิหาร อ.ไชโย จ.อ่างทอง เพื่อเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนา

ลักษณะขององค์พระประธานที่เรียกว่า เกศไชโย ในพิมพ์พระสมเด็จนั้น ว่ากันว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการอุทิศให้กับโยมมารดาเกศ เพื่อระลึกถึงพระคุณของมารดา และในอีกแง่ คือ การเตือนสติ ชี้ให้เห็นถึงความเพียรพยายามของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา เพื่อให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จนพระวรกายซูบผอม ร่วงโรย จึงเกิดปางบำเพ็ญทุกรกิริยา หรือ ปางทรมานขึ้น

ลักษณะของปางบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นพระพุทธรูปในลักษณะอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย มองเห็นพระวรกายซูบผอมจนพระอัฐิ (กระดูก) และพระนหารุ (เส้นเอ็น) ปรากฏ ลักษณะพระวรกายผ่ายผอมเห็นหนังติดกระดูก

พระสมเด็จ วัดเกศไชโย มีการสันนิษฐานว่า น่าจะมีการสร้างพร้อมกับวัดระฆัง ซึ่งปรากฏ 3 เนื้อ คือ เนื้อปูนเพชร” “เนื้อขาวอมเหลืองมีมวลสารเหมือนวัดระฆัง เนื้อขาวอมเหลือง ไม่มีมวลสารให้เห็น และเป็นเนื้อที่ในวงการนิยม

หนังสือจักรพรรดิแห่งพระเครื่อง หลักสูตรการศึกษาพระเครื่องพระสมเด็จ (โต พรหมรังสี) โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และศูนย์พระเครื่องบารมีสมเด็จโต อธิบายถึงพิมพ์ทรงของวัดเกศไชโย ไว้ 5 พิมพ์ คือ

1. พิมพ์เจ็ดชั้นนิยม แบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ทรง

1.1 พิมพ์เจ็ดชั้นนิยม A พระพักตร์หัวไม้ขีด

1.2 พิมพ์เจ็ดชั้นนิยม B เข่ายก แข้งหมอน

1.3 พิมพ์เจ็ดชั้นนิยม C หูประบ่า

2.พิมพ์หกชั้นอกตัน

3.พิมพ์ห้าชั้นอกตลอด

4.พิมพ์เข่าบ่วง

5.พิมพ์แขนติ่ง หรือนักเลงโต

พระสมเด็จเกศไชโยกับคติทางพระพุทธศาสนา

อาจารย์โชค เพิ่มพูล ผู้ศึกษาพระสมเด็จ เจ้าของเพจธรรมมณีแห่งเสน่ห์Amulet ได้รวบรวมข้อมูลลักษณะของพระสมเด็จ เกศไชโย เอาไว้ว่า มีการพบพระสมเด็จเกศไชโย ลักษณะนั่งขัดมาธิ ฐาน 5-6-7-9 ชั้น มีวรรณะสีขององค์พระหลายสี เช่น  สีดำ สีดำปนแดง-เจือเหลือง เหลืองอ่อน ขาวนวลเหมือขาช้าง สีอิฐ เนื้อมวลสารที่พบ มีเนื้อละเอียด แข็งแกร่ง มีมวลสารชนิดเล็กสีดำหรือสีแดง ฝังอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อผ่านกาลเวลามากว่า 150 ปี พระสมเด็จจะแตกเป็นลายงาช้าง (แตกลายงา) หรือลายสังคโลก

ด้านความหมายในเชิงพุทธศาสนาขององค์พระสมเด็จ มีความหมายคือ

1.รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า (สีเหลี่ยมผืนผ้า) หมายถึง พื้นแผ่นดินที่ทรงพระอริยสัจอยู่

2.วงโค้งในรูปสี่เหลี่ยม หรือซุ้มเรือนแก้ว หมายถึง อวิชาที่คลุมพิภพอยู่

3.รูปสามเหลี่ยมในวงโค้ง (รูปพระพุทธรูปและฐานพระมองเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม) หมายถึง พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผู้พบแล้วซึ่งอริยสัจ

4.รูปพระนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ หมายถึง พระพุทธเจ้าปางตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ โพธิบัลลังก์

5.ฐาน 3 ชั้น หมายถึงพระไตรปิฎก

- พระวินัยปิฏก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี

- พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วไป

- พระอภิธรรมปิฏก ว่าด้วยธรรมล้วนๆ หรือธรรมสำคัญ

6.ฐาน 7 ชั้น หมายถึง อปริหานิยธรรม

7.ฐาน 9 ชั้น หมายถึง มรรค 4 ผล 4 นิพาน 1

 

มวลสารและผงวิเศษในพระสมเด็จ

 ในสมัยที่ หลวงวิจารณ์ เจียรนัย เป็นผู้แกะบล็อกพิมพ์พระสมเด็จ เพื่อถวายเจ้าประคุณสมเด็จฯ นั้น ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้แกะพิมพ์ที่งดงามที่สุด และมีการผสมมวลสารครบ และเน้นการใช้มวลสารหลักคือ ปูนเปลือกหอย เป็นหลัก และยังมีมวลสาร ผงวิเศษอื่นๆ มากมาย ทั้งนี้ หนังสือหลักสูตรการศึกษาพระเครื่องพระสมเด็จ โดยสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และศูนย์พระเครื่องบารมีสมเด็จโตกล่าวถึง ผงและมวลสาร ของพระสมเด็จ ประกอบไปด้วย ผงพุทธคุณที่มีคุณวิเศษมากมาย ดังนี้

1. ปูนเปลือกหอยที่ตำในครก ผ่านตระแกรงร่อนจนได้ผงขาวละเอียด หินปูน ปูนเพชร

2. ผงพุทธคุณทั้ง 5

- ผงกฤติยาคม อนุภาพในทางแคล้วคลาดปลอดภัย

- ผงปถมัง อานุภาพคงกระพันชาตรี

- ผงอิทธิเจ อานุภาพทางเมตตามหานิยม

- ผงตรีนิสิงเห อนุภาพทางมหาเสน่ห์

- ผงมหาราช อนุภาพทางเสริมอำนาจ บารมี

3. ไม้มงคลต่างๆ ว่านเกสร 108

4. ดินมงคลจากที่ต่างๆ เช่น ดินเจ็ดป่า เจ็ดโป่ง ดินหลักเมือง

5. ทรายเงิน ทรายทอง

6. ผงถ่าน คำภีร์ใบลานจารที่ชำรุด นำมาตากแห้งและเผา

7. กระยาหารต่างๆ เช่น ข้าวสุก กล้วย ขนุนสุก

8. เกสรดอกไม้

9. น้ำพุทธมนต์

10. น้ำอ้อยเคี่ยว น้้ำผึ้ง น้ำมันตังอิ๊ว

11. เศษพระกำแพงหัก

12. พระธาตุ แร่ รัตนชาติ

13. ฯลฯ

 



พระสมเด็จ เกศไชโย หลัง ร.๔

ในสมัยที่สมเด็จฯ ท่านดำรงสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ในช่วงนั้นเองตรงกับปี พ.ศ. 2407 ในช่วงเวลานี้จะมีการสร้างพระสมเด็จ เนื่องในโอกาสฉลองเลื่อนสมณศักดิ์ และในช่วง ปี พ.ศ. 2408 - 2411 (ปลายรัชกาลที่ 4) สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต อายุ 77-80 ปี  ได้มีการสร้างพระสมเด็จจำนวนมาก เพื่อบรรจุกรุพระธาตุพนมจำลองในวัดบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า) รวมถึงบรรจุไว้ในวัง - หอพระ และถวายพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ พร้อมกับเหล่าขุนนางต่างๆ ซึ่งน่าจะเป็นช่างหลวงในวัง เป็นผู้แกะพิมพ์ถวาย

อีกข้อสันนิษฐาน กล่าวว่า พระสกุลวังเป็นพระที่จัดสร้างโดยเจ้านายฝ่ายในยุคก่อน โดยมีช่างหลวงเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ และผ่านการปลุกเสก เข้าพิธีพุทธาภิเษกสำคัญๆ โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต

พระสมเด็จสายวังที่พบนั้น ส่วนใหญ่จะมีการประดับไปด้วยพลอย คริสตัน รวมไปถึงอัญมณีอื่นๆ ที่มีความวิจิตร สวยงาม พุทธศิลป์งดงามน่าศึกษา และเปี่ยมไปด้วยพลังพุทธคุณ

พระสมเด็จ เกศไชโย องค์นี้เอง มีร่องรอยของการหลุดร่อนมวลสารทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เผยให้เห็นมวลสารสีฟ้าที่อยู่ข้างใน ด้านหน้าเป็นพิมพ์เกศไชโย ลักษณะเป็นพระประธาน ในปางบำเพ็ญทุกรกิริยา บนฐาน 7 ชั้น พระพักตร์มีการถลอกของทองเก่า ทำให้เปิดผิวเห็นเนื้อใน ด้านซ้ายและขวาข้างๆ พระพักตร์ ประดับด้วยคริสตันเก่าสีเขียว ที่ฝังลงในพื้นด้านในซุ้มเรือนแก้ว

ตรงกับลักษณะสำคัญของพิมพ์เกศไชโย ของเรื่องพระเครื่องเมืองอ่างทอง คือ

1.  มีกรอบกระจก คือ กรอบพิมพ์พระ ๒ ชั้น ชั้นในเป็นซุ้มโค้งชั้นนอกเป็นกรอบรูปสี่เหลี่ยมคล้ายกระจก

2.  มุมทั้งสี่ด้านมีลักษณะมนลบเหลี่ยมไม่แหลมคม

3. เป็นพระประทับนั่งปางทุกรกิริยา อกร่อง หูยาน (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หูบายศรี”) พระเกศแหลม

4. ฐานรององค์พระเป็นเส้นเล็ก ๆ ซ้อนกัน ๗ ชั้น หรือ ๖ ชั้น หรือ ๕ ชั้น ๙ ชั้นก็มี

5.  ด้านหลังพระมีทั้งแบบที่เป็นลายมือประทับติดผิวและแบบไม่ติดลายใด ๆ

ส่วนด้านหลัง เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔) ครึ่งพระองค์ มีรอยกดลึก เป็นคำว่า ร.๔ และมีรอยหลุดร่อนของมวลสารด้านล่าง 2 จุด ทำให้เห็นเนื้อในองค์พระเช่นเดียวกับด้านหน้า

 

ภาพพระสมเด็จ เกศไชโย หลัง ร.๔ จากล้องกำลังขยายสูง

 

 

สิ่งสำคัญเหนือกว่าการได้มีโอกาส สะสมวัตถุมงคลอันมีค่าที่ประเมินมิได้แล้ว คือการ อนุรักษ์ สิ่งที่บรรพบุรุษได้ส่งต่อมาจนถึงรุ่นลูกหลาน เพื่อแสดงถึงความเจริญของพระพุทธศาสนาในอดีต และเตือนให้เราตั้งตนอยู่ในแนวทางของพุทธศาสนา ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และสืบทอดทั้งวัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ ณ ปัจจุบัน ไปยังรุ่นลูกหลานเราถัดๆ ไป เพื่อเจตนาในการสืบถอดพระพุทธศาสนาไปจนครบ 5,000 ปี ดังที่พระเกจิอาจารย์ของพวกเราได้ตั้งปณิธานเอาไว้

 

อ้างอิง :

https://bit.ly/371vY8z

https://bit.ly/3jEEgIu

เรื่องโดย อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์ คอลัมนิสต์ สำนักข่าว EduNewsSiam

คุยกับคอลัมนิสต์ที่ : arphawan.s@gmail.com

 

 

 

 

(โปรดกดถูกใจเพจด้านล่าง เพื่อติดตามข่าวสารบนเว็บไซต์ edunewssiam.com)