รายงานพิเศษ "เทคนิคมีนบุรี"จับมือมหาวิทยาลัยจีน เสริมสร้างทักษะแรงงานยุคอุตสาหกรรม 4.0

"เทคนิคมีนบุรี" จับมือ ม.เทคโนโลยีเหอเป่ย 

เสริมสร้างทักษะแรงงานอุตสาหกรรม 4.0 

 

รายงานพิเศษ...

อีกหนึ่งความก้าวหน้า เมื่อ นายทวีศักดิ์ คิ้วทอง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิค (วท.) มีนบุรี พร้อมรองผู้อำนวยการ วท.มีนบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ผ่านทางแอปพลิเคชัน Zoom กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเหอเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้โครงการ "เส้นทางร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมทักษะแรงงานในภูมิภาคล้านช้าง-แม่น้ำโขง ในยุคอุตสาหกรรม 4.0" ของ The Chinese Academy of Personnel Science กระทรวงทรัพยากรมนุษย์และประกันสังคม สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565  

ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนความร่วมมือเอเชีย โดยกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการคลัง สาธารณรัฐประชาชนจีน

 

  

  โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสรุปการเปลี่ยนแปลงความต้องการกำลังคนที่มีทักษะการทำงานและเป้าหมายการพัฒนาในบริบทของอุตสาหกรรม 4.0 ในกลุ่มประเทศล้านช้าง-แม่น้ำโขง และรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีของความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการพัฒนาทักษะและการสร้างทักษะแรงงานในภูมิภาค

เพื่อให้คำแนะนำในการสำรวจเส้นทางและรูปแบบใหม่ของความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการส่งเสริมทักษะแรงงานในบริบทของอุตสาหกรรม 4.0

ก่อนหน้านี้ นายทวีศักดิ์​ คิ้วทอง​ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี​ ได้นำคณะผู้บริหาร และรองศาสตราจารย์​ ดร.​ธีระพล​ เทพหัสดิน​ ณ​ อยุธยา​ นายกสมาคมผู้ปกครองและครูวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี​ เข้าร่วมประชุมการจัดการเรียนการสอนโครงการความร่วมมืออาชีวะไทย-จีน​ ระหว่างวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี​ (Minburi​ Technical​ College)​ (MTC)​กับวิทยาลัยการพลังงานน้ำกุ้ยโจว​ (Guizhou Vocational and Technical College of Water Resources and Hydropower)​ มณฑลกุ้ยโจว​ สาธารณรัฐประชาชนจีน  

 

 

โดยการประชุมในครั้งนี้ ทางฝ่ายจีนมี​ Mr.Yang Zhihong Secretary of the Party Committee of Guizhou Vocational and Technical College of Water  Resources and Hydropower​ Mr. Chen Hailiang President of Guizhou Vocational and Technical College of Water Resources and Hydropower พร้อมผู้บริหารระดับสูง​คณะครูอาจารย์ผู้ที่เกี่ยวข้องในที่ประชุมร่วม

 

 

ท่ามกลางบรรยากาศแห่งมิตรภาพ ผลของการหารือทุกอย่างได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันด้วยดี ทั้งด้านพัฒนาการเรียนการสอน, การวิจัย, และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม​ โดยมีโปรแกรมและกิจกรรมที่จะทำร่วมกัน คือ การแลกเปลี่ยนครูและนักเรียน เรียนภาษาจีนระยะสั้นและร่วมมือกันจัดการเรียนการสอนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง​ (ปวส.)​ การพัฒนาหลักสูตรร่วมกันและมีการทำวิจัย, สัมมนา, การประชุม,การประชุมสัมมนา,และworkshop ในระดับนานาชาติร่วมกัน

นับเป็นก้าวสำคัญ ที่เห็นถึงความก้าวหน้าในความร่วมมือระหว่างอาชีวะไทย-จีน

 

(โปรดกดถูกใจเพจด้านล่าง เพื่อติดตามข่าวสารบนเว็บไซต์ edunewssiam.com)