บทความพิเศษ : จะเลือกนโยบายทางการศึกษา ของ พรรคการเมืองพรรคใดดี

จะเลือกนโยบายทางการศึกษา   

ของ พรรคการเมืองพรรคใดดี (๑.)

 

ดร. ดิเรก พรสีมา : คณบดี วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

 

มาถึงวันนี้ หลายคนคงทราบกันแล้วหละว่า การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทยคงจะเกิดขึ้น ๑๔ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ นี้ ส่วนใครจะได้มาเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลและทำหน้าที่บริหารประเทศในอีก ๔ ปีหลังจากการเลือกตั้งนั้น

 

แม้ ณ วันนี้ ยังไม่มีพรรคการเมืองพรรคใด ออกมาประกาศว่า พรรคของตนจะทำอะไร หรือ จะเลือกไม่ทำอะไรให้เกิดขึ้นให้เกิดขึ้นในเรื่องการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ หรือการศึกษาตลอดชีวิต หรือจะทำอะไรให้สำเร็จ ที่สามารถสัมผัสได้ แตะต้องได้ในอีก ๔ ปี ข้างหน้า  

 

หรืออย่างน้อยยังมองไม่เห็นว่า พรรคการเมืองใหญ่ ๆ ทั้งหลายจะเสนอเสนอนโยบายการศึกษาของตนเองอย่างไร หรือ นำเสนอกลยุทธ์ หรือ ยุทธศาสตร์ ที่จะใช้เพื่อให้การทำงานด้านการศึกษาสำเร็จให้ชาวการศึกษาได้วิเคราะห์ พิจารณา ว่ากลยุทธ์เหล่านั้นมีความเป็นไปได้หรือไม่ เพ้อฝันหรือไม่ จะทำให้สำเร็จได้จริงหรือไม่ ซึ่งชาวการศึกษาและผู้ปกครองจำนวนมาก คงคอยเงี่ยหูฟังอยู่

 

...ในบทความนี้ ผู้เขียนมุ่งนำเสนอนโยบายการศึกษาและทางออกการศึกษาไทยเพื่อสร้างคุณภาพ แก่พรรคการเมือง ให้ตระหนักถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจ ของ ครูบุคลากรทางการศึกษา และ ประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของเงินภาษีประเทศ ต้องการให้นำไปทำ เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางการศึกษา ไปสู่เด็กและเยาวชนที่มีคุณภาพ...

 

นโยบาย (policy) หรือ นโยบายการศึกษา : กลยุทธ์ที่รัฐบาลเลือกทำในสิ่งที่อยู่ในความสนใจของประชาชน

 

ในหนังสือ Understanding Public Policy, Thomas R. Dye ได้อธิบายความหมาย รูปแบบ ระบบ และกระบวนการของการพัฒนาและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะด้านต่าง ๆ ไว้ค่อนข้างละเอียด พอสรุปได้ว่า

 

นโยบายสาธารณะ คือ สิ่งที่รัฐบาลเลือกทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และ กลยุทธ์ในการดำเนินงาน เพื่อทำให้สิ่งที่เลือกจะทำนั้นสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ (แต่บ่อยครั้งอาจไม่มีประสิทธิภาพ) สิ่งที่รัฐบาลเลือกทำจึงต้องเป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของเงินภาษีประเทศอยากให้ทำ ให้ประชาชนฟัง หรืออ่านแล้วชื่นชอบ

 

เช่น รัฐบาลจะเลือกทำอะไรในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษา สาธารณสุข การป้องกันประเทศ ความยุติธรรม เศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ อุตสาหกรรม ฯลฯ

 

ถ้ารัฐบาลเลือกทำในสิ่งที่ไม่ตรงใจประชาชน ประชาชนย่อมจะไม่ยอมให้บบริหารประเทศต่อไป บางครั้งสิ่งที่รัฐบาลอยากทำอาจตรงใจประชาชน แต่สื่อความหมายให้ประชานฟังเข้าใจไม่ได้ ก็จะไม่ได้รับความไว้ววางใจจากประชาชน

 

 

ประเด็นที่รัฐบาลของหลายๆประเทศ หรือแทบทุกประเทศเลือกจะทำทางการศึกษาจึงมักจะครอบคลุม ๓ เรื่องใหญ่ ๆ คือ

 

             (๑) ทำอะไรและอย่างไรจึงจะทำให้การให้บริการทางการศึกษาของประเทศทั่ว                 ถึงและเท่าเทียม (Access)

(๒) จะทำอย่างไรและอย่างไรจึงจะทำให้การจัดบริการทางการศึกษามีคุณภาพ (Quality) ซึ่งก็ต้องมีคุณภาพอย่างเท่าเทียมไม่เหลื่อมล้ำด้วย และ

(๓) ทำอะไรและอย่างไรจึงจะทำให้การบริหารจัดการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ ใช้ทรัพยากรและเวลาที่มีอย่างประหยัดแต่ทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ คำ “Access” “Quality” และคำ Efficiency.” จึงเป็นคำที่สัมพันธ์กัน

 

ถ้าบริหารไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะสร้าง Access และ Quality ได้ยาก ต้องออกแบบโครงสร้าง กระบวนการบริหารจัดการให้ประหยัด management resources ไม่เกิดการทุจริต คอร์รับชั่น management resources จึงจะมีเพียงพอ ให้สามารถนำ management resources ไปใช้เพื่อทำให้เกิด Access and Quality ได้

 

การสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา (Access) คำว่า ทั่วถึงหรือเท่าเทียม หมายความว่าการทำให้คนไทยทุกกลุ่ม ทุกเหล่า ทุกฐานะทางสังคม ไม่ว่าร่ำรวย ยากจน อาศัยหรือเกิดในพื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกล ด้อยโอกาส ก็มีโอกาสด้รับบริการทางการศึกษาที่คุณภาพดี ๆ ได้ เกิดในชุมชนด้อยโอกาสก็มีโอกาสฝึกซ้อมแบ็ดมินตัน เทนนิส ยิมนาสติค กอล์ฟ ได้ เด็กปกติ พิการ ด้อยโอกาส อัจฉริยะด้านใดด้านหนึ่ง(เช่นกีฬา ดนตรี มนุษยสัมพันธ์ คณิตศาสตร์ ปัญญาประดิษฐ์ การเกษตร วิทยาศาสตร์ ฯลฯ) หรือหลายด้าน ก็มีโอกาสได้รับการพัฒนาให้เต็มศักยภาพของตนได้

 

       คำว่าคุณภาพ หมายถึงคุณภาพที่สามารถเรียนต่อ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองต่อไป หรือประกอบอาชีพในตลาดแรงงานสมัยใหม่ หรือสร้างงานได้ด้วยตนเอง

       คำว่าประสิทธิภาพ หมายถึงการบริหารจัดการทางการศึกษาที่ทำให้เกิดผลลัพธ์เท่ากันโดยใช้ทรัพยากรทางการบริหารที่น้อยกว่า

 

รัฐบาลควรจะเลือกทำอะไรจึงจะทำให้คนไทย ทั้งปกติ พิการ ด้อยโอกาส อัจฉริยะ สูงวัย ผู้ใหญ่ทั้งที่อยู่ในระบบโรงเรียน นอกโรงเรียน หรือผู้ประสงค์จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้ตกงานอยากจะหางานทำใหม่ ได้รับบริการทางการศึกษาที่ทั่วถึงและมีคุณภาพ มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับสมรรถนะที่ตลาดแรงงานในศตวรรษที่ ๒๑ หรือตลาดแรงงานวันนี้ต้องการ

 

ถ้าพิจารณาจากจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคทางการศึกษษของปรเทศไทยในปัจจุบันจะพบว่า

 

๑)    ประเทศไทยมีจำนวนโรงเรียนและครูเพียงพอ แต่คุณภาพของผู้เรียนเมื่อเทียบกับคุณภาพของเด็กสิงคโปร์ เกาหลีใต้ ปักกิ่ง ฟินแลนด์ แมสสาชูเซทท์ คุณภาพของเด็กไทยยังต่ำกว่า และถ้าดูจำนวนผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คนไทยนำไปยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรใหม่ในองค์การสิทธิบัตรโลก World Intellectual Property Organization (WIPO) ผลิตภัณฑ์ของประเทศไทยเราก็มีน้อยมาก

๒)    จำนวนโรงเรียนที่มีคุณภาพสูง (โรงเรียน ห้าดาว คล้ายกับโรงแรม *****) ของประเทศไทยก็มีจำกัด ส่วนใหญ่ก็จะมีอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่ และเป็นโรงเรียนสำหรับเยาวชนจากครอบครัวของผู้ปกครองที่มีรายได้เฉลี่ยระดับกลลาง หรือระดับสูง

๓)    ครูคุณภาพสูง (ครูเหรียญทอง คล้ายๆกับนักกีฬาเหรัยญทองโฮลิมปิก หรือ Master Teacher ของ Peking or Singapore )ก็มีจำกัด แม้เราจะมีการให้วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ หรือเชี่ยวชาญพิเศษ แต่เราก็ไม่มีวิธิการคัดเลือกและใช้ครูเชี่ยวชาญ หรือเชี่ยวชาญพิเศษที่ดี ประเทศจึงไม่ได้ประโยชน์จากครูเชี่ยวชาญหรือครูเชี่ยวชาญพิเศษเท่าที่ควร ยกเว้นรัฐบาลได้จ่ายเงินค่าวิทยฐานะให้ครูมากขึ้น

๔)    เราใช้งบประมาณในการจัดการศึกษาปีละมากพอสมควร แต่กระบวนการและวิธีการบริหารจัดการไม่ทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ

 

เมื่อจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของประเทศเป็นอย่างนี้ รัฐบาลใหม่ของไทยควรจะเลือกทำอะไรก่อน และหลัง ทำแล้วให้บังเกิดผล ให้คนไทยจำได้ ให้การสนับสนุน อยากให้ทำต่อ ๆ ไป เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไป ประชาชนก็จะเลือกพรรคนี้ให้เข้ามาบริหารประเทศแบบแลนด์สไลด์อีก

 

ผู้เขียนอยากรู้ว่า แต่ละพรรคการเมืองจะทำอะไรเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา(Access) คุณภาพการศึกษา (Quality) และประสิทธิภาพในการบริหาร (Efficiency) ในการบริหารจัดการทางการศึกษา อย่างน้อยก็จะได้นำมาเปรียบเทียบกันว่า นโยบายของพรรคการเมืองพรรคใดที่ประชาชน โดยเฉพาะชาวการศึกษาควรให้การสนับสนุนมากที่สุด

 

การที่รัฐบาล หรือพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งจะเลือกทำอะไร จึงต้องเป็นเรื่องที่เมื่อเลือกทำแล้ว สิ่งที่เลือกทำเป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจของประชาชน และประชาชนได้ประโยชน์ และมีโอกาสสำเร็จ และคิดว่าทำแล้วจะทำได้สำเร็จและได้รับความนิยมชื่นชอบจากประชาชน  ทำให้ประชาชนฟังแล้ว “ว๊าว” และจะอยู่ในความทรงจำ

 

มาถึงวันนี้ หลายพรรคการเมืองจึงพยายามนำเสนอนโยบายสาธารณของตน เพื่อให้คนไทยพิจารณาว่าสิ่งที่นำเสนอนั้นเป็นสิ่งที่ตนเอง หรือกลุ่มของตนสนใจและจะได้ประโยชน์หรือไม่ เช่นนโยบาย ๓,๐๐๐ บาท ๔,๐๐๐ บาท หรือ ๕,๐๐๐ บาท เป็นต้น หรือนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ๖๐๐บาท/วัน ๗๐๐บาท/วัน ขึ้นเงินเดือนให้กำนันและผู้ใหญ่บ้านอีก เดือนละ ๒,๐๐๐ บาท ขึ้นค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เป็น ๒,๐๐๐ บาท/เดือน ฯลฯ และ ก็คงจะมีนโยบายสาธารณอื่นๆจากอีกหลายพรรคการเมืองที่เตรียมตัวจะนำเสนอออกมาอีกในโอกาสต่อไป.

 

(ติดตามตอน 2 จะเลือกนโยบายทางการศึกษา ของ พรรคการเมืองพรรคใดดี )

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage