สพฐ.เดินหน้าลุย แก้หนี้ครู 687,221 คน รวม 1.4 ล้านล้านบาท นายกสมาคมผู้บริหารมัธยมฯ ย้ำให้จัดการคนที่ไร้วินัยทางการเงิน

 

สพฐ.เดินหน้าลุย แก้หนี้ครู 687,221 คน รวม 1.4

ล้านล้านบาท นายกสมาคมผู้บริหารมัธยมฯ ให้

จัดการคนที่ไร้วินัยทางการเงิน

 

รายงานจาก ประชาสัมพันธ์สำนักงานคณะกรรมการการศศึกษาขั้นพื้นฐาน ถึง การประชุมของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ 1/2566 อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 กระทรวงศึกษาธิการ ที่มี รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็นประธาน  เปิดเผยว่า

 

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ตั้งอยู่บริเวณอาคาร สพฐ. 1 ชั้น 1 กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะเป็นศูนย์ปฏิบัติการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ รับเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน ตลอดจนการรวบรวมผลการดำเนินงาน เพื่อส่งต่อข้อมูลแก่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งมีนโยบายลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา นั้น

 

ที่ผ่านมา สพฐ.ได้ดำเนินงานสร้างโปรแกรมออนไลน์ เพื่อสำรวจข้อมูลวิเคราะห์จัดกลุ่มสถานภาพทางการเงิน พบว่า การสำรวจสถานภาพทางการเงิน มีบุคลากรที่ลงทะเบียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) จำนวน 533,124 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) จำนวน 154,097 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 687,221 คน

 

โดยจำแนกข้อมูลสถานะทางการเงินได้ ดังนี้ กลุ่มสีแดงเป็นกลุ่มที่ถูกฟ้องดำเนินคดีเรื่องหนี้สินทุกกรณี มีจำนวน 2,864 คน กลุ่มสีส้ม มีเงินคงเหลือน้อยกว่า 30% จำนวน 108,540 คน  กลุ่มสีเหลือง มีหนี้สินและเงินคงเหลือน้อยกว่า 30% จำนวน 485,009 คน และ 4) กลุ่มสีเขียว ครูและบุคลากรไม่มีหนี้ จำนวน 90,808 คน

 

จากตัวเลขกลุ่มดังกล่าว สพฐ.จะนำไปแก้ไขปัญหาหนี้สินตามสถานภาพทางการเงิน ในแนวทางที่กำหนด โดยจะใช้นำร่องในพื้นที่ที่มีกลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มสีแดง ซึ่งวิกฤตมากที่สุด เพื่อเป็นกรณีศึกษาลำดับแรก และขยายผลไปยังพื้นที่อื่น โดยจะให้ความช่วยเหลือไกล่เกลี่ยระหว่างพิจารณาคดี ชะลอการฟ้องระหว่างเจ้าหนี้กับผู้ค้ำประกัน พร้อมทั้งจัดโปรแกรมพัฒนาความรู้เรื่องการเงิน จัดกิจกรรมกาเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และติดตามการดำเนินการในสถานีแก้หนี้ทุกพื้นที่ เพื่อให้การแก้หนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว

 

 

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ วันที่ 19 กันยายน 2566 นายณรินทร์ ชำนาญดู นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ได้เคยเสนอแนวทางการแก้ไขหนี้สิน ที่สามารถทำได้เป็นรูปธรรม ต่อกระทรวงศึกษาธิการ มาแล้ว เชื่อว่ามีความสำเร็จได้อย่างแน่นอน

 

โดยระบุว่า หนี้สินครูเป็นปัญหาเรื้อรังมาอย่างยาวนาน รัฐบาลทุกรัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้พยายามแก้ไข แต่ไม่เคยประสบผลสำเร็จ เนื่องจากไม่รู้สภาพที่แท้จริงของหนี้สินครู เนื่องจากสภาพโดยรวมของหนี้สินครู มีหลายลักษณะ เพราะมีทั้งหนี้สินที่เป็น ลูกหนี้ชั้นดี และ มีเป็นส่วนน้อยที่เป็นหนี้สินที่เป็นหนี้เสีย ก่อให้เกิดปัญหา

 

วึ่งคนกลุ่มนี้ ก็พยายามเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ เพราะฉะนั้นข้าพเจ้า ขอเสนอแนวทาง การแก้ไขหนี้สิน ที่สามารถทำได้ เป็นรูปธรรม และ มีความสำเร็จได้อย่างแน่นอน

 

โดย สพฐ. ควรออกกฎหมายระเบียบ เพื่อควบคุมกำกับวินัยของบุคลากรครู ที่ไม่มีวินัยในตัวเองมีบทลงโทษ ในการก่อหนี้สิน อย่างฟุ่มเฟือย ก็จะทำให้ครู ไม่กล้าที่จะก่อให้เกิดหนี้สิน ที่เป็นการไม่เหมาะสมกับวิชาชีพครู เช่น การเล่นการพนัน ซึ่งเป็นการผิดกฎหมายอยู่แล้ว หรือการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย เกินวิสัย ของความเป็นครู ก็จะทำให้ปัญหาข้อนี้สำเร็จลุล่วงได้

 

ให้รัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการ ได้เรียกสถาบันการเงิน ทุกสถาบัน ที่เกี่ยวข้อง มา มีข้อตกลงร่วมกัน ในการกำหนดดอกเบี้ยเงินกู้ ให้เท่ากัน และไม่ควรปล่อยกู้ ในกรณีที่ครูไปสร้างหนี้สิน ซ้ำซ้อนกันก็จะไม่เกิดขึ้น โดยให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ เพราะว่าหนี้สินโดยส่วนใหญ่ ของครูจะอยู่ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ครู

 

แต่โดยสภาพที่แท้จริง ครูยังมีหนี้สินที่ไม่ได้อยู่ในระบบอีกมาก เพราะฉะนั้นต้องคำนึงถึงนี้ในส่วนนี้ด้วย จะต้องรวบรวมให้ได้ว่าคุณครู มีหนี้สินนอกระบบกับใคร จำนวนเท่าไหร่ และดำเนินการป้องกัน โดยใช้กฎหมาย ระเบียบ เพื่อป้องกัน  

 

ซึ่งแต่เดิมไม่เคยมีการดำเนินการในประเด็นนี้ ทำให้คนที่ไม่มีวินัยในตัวเอง ไปก่อนหนี้สินอย่างมากมาย ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้ มีเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

 

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage