”ค.ร.อ.ท.ยื่นกมธ.กศ.เสนอร่างกฎหมาย ศึกษาชาติ ต้องมี กม.การอาชีวศึกษา”

 

”ค.ร.อ.ท.ยื่นกมธ.กศ.เสนอร่างกฎหมาย

ศึกษาชาติ ต้องมี กม.การอาชีวศึกษา”

 

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร(กมธ.) ได้จัดโครงการสัมมนา“เปลี่ยนการศึกษาพลิกโฉมใหม่ให้ประเทศ” ณ ห้องประชุมสัมมนา B1-2 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา เพื่อระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาการศึกษา ที่จะนำมากำหนดไว้ในกฎหมายการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ โดยสมาชิกเครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย(ค.ร.อ.ท.) ได้เข้าร่วม  

 

จากการนำเสนอบนเวทีสัมมนาครั้งนี้ ประกอบด้วยบุคคลสำคัญ อาทิ นายอภิสิทธ ิ์เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย เจียรวนนท ์ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ ์และพระพรหมบัญฑิต (ประยูร ธมมจิตตโต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ร่วมเสนอประเด็นการศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขการศึกษาของประเทศที่กำลังประสบปัญหาใหญ่อยู่ในขณะนี้

 

กล่าวจำเพาะ ค.ร.อ.ท.ยกอ้าง เนื่องจาก ร่าง พรบ.การศึกษาชาติ พ.ศ...ที่จัดร่างและเสนอในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ไม่สามารถผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภานำมาบังคับใช้ได้ จึงเป็นหน้าที่ของ กมธ.ชุดปัจจุบันฯ ต้องเร่งร่างแก้ไขพรบ.การศึกษาชาติฉบับใหม่ โดย มีทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเพื่อที่จะทำร่างพรบ.การศึกษาฉบับใหม่ เพื่อนำเสนอต่อรัฐสภาให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว

 

 

นายเศรษฐศิษฏ์ ณุวงค์ศรี ประธานเครือข่ายคนรักษ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย(ค.ร.อ.ท.) ได้นำเสนอต่อกรรมาธิการการศึกษา ว่า เนื่องจากพรบ.การศึกษาชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 20 มีการกำหนดไว้ในกฏหมายชัดเจนว่าด้วย “การจัดการอาชีวศึกษามีการฝึกอบรมวิชาชีพให้จัดในสถานศึกษาของรัฐสถานศึกษาของเอกชน สถานประกอบการ หรือ โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” นั้น จึงถือว่าเป็นต้นกำเนิดและเป็นผลดีกับการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา จึงได้มี พรบ.การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 เกิดจากพรบ.การศึกษาชาติ พ.ศ. 2542

 

แต่คณะกรรมาธิการรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ได้จัดทำร่างพ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ...ขึ้นใหม่ ปรากฏว่าในเนื้อหารายละเอียดตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ม.20 ไม่มีในร่างพรบ.ใหม่ทำให้การจัดการอาชีวศึกษามีปัญหาในอนาคตแน่นอน

 

เพราะดูแต่ละมาตราแล้ว การอาชีวศึกษาที่จะสร้างความเข้มแข็งให้พลเมืองของชาติ ไม่ปรากฏในมาตราใดมาตราหนึ่ง หากเป็นเช่นนี้ อาจทำให้เกิดปัญหาการดำรงอยู่ของการจัดอาชีวศึกษาที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้เรียนด้านวิชาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศแน่นอน และอาจเกิดผลกระทบกับพรบ.การอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 แน่นอน

 

การสัมมนาครั้งนี้จึงขอเสนอประเด็นฯ ต่อคณะกรรมาธิการ ได้พิจารณาเพื่อจะกำหนดช่องทางให้ร่างพรบ.การศึกษาแห่งชาติที่จะร่างใหม่ โดยเครือข่ายฯ(ค.ร.อ.ท.) จะได้ทำหนังสือชี้แจงเหตุและผลของการดำร งอยู่และประโยชน์ของการให้ ความสำคัญของการอาชีวศึกษาของชาติในโอกาสต่อไป

 

ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการอาชีวศึกษาในปัจจุบันยังไร้เอกภาพ อีกด้วยว่า เนื่องจากการจัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) อยู่ในกฎหมายการศึกษาภาคบังคับ ส่วนในระดับปวส.และปริญญาตรี อยู่ในการกำกับของอุดมศึกษา ทำให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการ ด้านวิชาชีพโดยเฉพาะ จึงเสนอกรรมาธิการให้ความสำคัญว่า เฉพาะเรื่องการกระจายอำนาจ ควรที่จะให้อาชีวศึกษาบริหารจัดการตนเองโดยเบ็ดเสร็จ  

 

 

ที่สำคัญ คือ ปัญหาอุปสรรคในการบริหารบุคลากรของอาชีวะซึ่งไม่มีกฎหมายว่าด้วยการบริหารบุคลากรของตนเอง แต่กลับไปใช้ร่วมกับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการกำหนดของก.ค.ศ. จึงเกิดปัญหาในการทำหรือเรื่องวิทยฐานะ เพราะบริบทของอาชีวศึกษาต่างกันกับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างสิ้นเชิง

 

จึงต้องมีการระบุใน ร่าง พรบ.การศึกษาชาติ ฉบับใหม่ ให้มีมาตราใดมาตราหนึ่งว่าด้วยการอาชีวศึกษา เช่นเดียวกันกับพรบ.การศึกษาชาติ 2542   นายเศรษฐศิษฏ์ กล่าว

#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าว edunewssiam ได้ที่นี่ 

https://www.facebook.com/edunewssiamfanpage