นักเรียน บุรีรัมย์ 3.5 พัน จาก 412 แห่ง ร่วมแข่งคิดเลขเร็ว เอแม็ท และ ซูโดกุ ชิงถ้วยเพิ่มพูน เสมา ๑

 

 

นักเรียน บุรีรัมย์ 3.5 พัน จาก 412 แห่ง ร่วมแข่งคิดเลขเร็ว เอแม็ท และ ซูโดกุ ชิงถ้วยเพิ่มพูน เสมา ๑

 

นายศุภชัย ภาสกานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า การพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษานั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับตัวนักเรียน ครูผู้สอน และสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาแล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

นั่นคือ การฝึกแก้โจทย์คณิตศาสตร์ ซึ่ง พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข” ที่ต้องการให้ลงสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ที่ทุกภาคส่วนร่วมจัดการศึกษาอย่างเป็นกัลยาณมิตร  ภายใต้แนวทางการทำงาน จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน

 

 A-MATH เป็นเกมต่อเลขคำนวณ ทักษะของการเล่นนั้นคือการต่อตัวเลขตามหลักการคำนวณคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการบวก ลบ คูณ หาร ลงบนช่องตารางให้เกิดผลดีที่สุด เมื่อจบการแข่งขันผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุด

 

เป็นผู้ชนะคะแนนจะเกิดจากค่าประจำตัวเบี้ยแต่ละตัวในการลงเล่นแต่ละครั้งรวมกับช่องตารางต่างๆ ที่มีค่าแตกต่างกันไป ผู้เล่นอาจจะเล่นแบบฝ่ายละ 1 คน หรือจับคู่เป็นทีมแข่งกันก็ได้

 

ซูโดกุ เป็นเกมปริศนาตัวเลข ที่ผู้เล่นต้องเลือกใส่ หมายเลขตั้งแต่ เลข 1 ถึงเลข 9 โดยมีเงื่อนไขว่าในแต่แถวและแต่ละหลักตัวเลขต้องไม่ซ้ำกัน

 

ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยโรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม จัดกิจกรรมการแข่งขันคิดเลขเร็ว เอแม็ท และ ซูโดกุ บุรีรัมย์ ครั้งที่ 9 ประจำปีการศึกษา 2567 ชิงถ้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการขึ้น ระหว่างวันที่ 2 - 4 สิงหาคม 2567

 

เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ รวม 412 โรงเรียน จาก 30 จังหวัดภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก รวม 3,484 คน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะความสามารถด้านคณิตศาสตร์ กับการแข่งขันสูตรคูณ (เร็ว) การแข่งขันคิดเลขเร็ว

 

ซึ่งการแข่งขันเอแม็ทในระดับมัธยมศึกษา การแข่งขันอัจฉริยภาพคณิตศาสตร์ การแข่งขันเอแม็ทในระดับประถมศึกษา การแข่งขันเวทคณิต และ การแข่งขันซูโดกุ เป็นการส่งเสริมพัฒนาทักษะในการคิดคำนวณ ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  เท่ากับเป็นการสร้างเครือข่ายครู ในการร่วมกันพัฒนากิจกรรมทำให้นักเรียนมีศักยภาพที่สูงขึ้นรองรับการเรียนใน ศตวรรษที่ 21