สุขาดี มีความสุข : ดีอย่างไร เมื่อ "ปิดฝาชักโครก ก่อนกดน้ำ"

10 สิ่งที่ควรระวัง เมื่อใช้ห้องน้ำสาธารณะ

 

สุขาดี มีความสุข : ดีอย่างไร

เมื่อ "ปิดฝาชักโครก ก่อนกดน้ำ"  

 

วันนี้ สำนักข่าว EDunewssiam  หาคำตอบและบอกถึงผลดีในการ "ปิดฝาชักโครก ก่อนกดน้ำ" สามารถช่วยลดเสี่ยงแพร่กระจายเชื้อได้จริงหรือไม่ และสิ่งที่ควรปฎิบัติเมื่อต้องเข้าห้องน้ำสาธารณะ

 

...สำหรับใครหลายคนที่ต้องใช้ห้องน้ำ เพื่อทำธุระส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นธุระ "หนัก" หรือธุระ "เบา" ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่เรามักจะมีความไม่สบายใจให้เราได้เสมอ เมื่อพบว่า หากอยู่นอกบ้าน ขอบนั่งโถไม่สะอาด ประตูล็อกไม่ได้ ห้องที่อับกลิ่น ที่ค่อนข้างสลัว มีสิ่งที่ไม่พึ่งประสงค์อยู่ในโถส้วม หากอยู่ที่บ้านคงไม่ต้องห่วงเรื่องดังกล่าวมากหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการ สุขาดี มีความสุข ทำให้เด็ก ๆ มีความสุขกับอยากมาโรงเรียน การช่วยกันดูแลรักษา เด็กได้นำไปปฏิบัติที่บ้านและห้องน้ำสาธารณะอีกด้วย...

 

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็น ห้องน้ำ ห้องส้วม ที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือ ที่สาธารณะ ควรมีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพราะใช้ร่วมกันหลายคน จึงเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย เชื้อโรคหลายอย่างมาจากห้องที่ใช้ขับถ่ายอย่างห้องส้วม ดังนั้นเราควรใช้โถส้วมอย่างระมัดระวัง 

 

 

นักจุลชีววิทยา จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติอิลลินอยด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา "แจ็ค กิลเบิร์ต" ผู้เชี่ยวชาญที่เคยทำงานวิจัยเกี่ยวกับปริมาณและชนิดของแบคทีเรียในห้องน้ำสาธารณะ ให้ข้อมูลไว้ว่า...

 

“ห้องน้ำที่สะอาดสะอ้าน เย็น แห้ง ทำให้แบคทีเรียส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้นาน ต่างกับห้องน้ำที่มีอากาศชื้น และอุ่น รวมทั้งสิ่งสกปรกตกอยู่ ตามพื้นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเหตุให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีและมีชีวิตได้นานกว่า”

 

สอดคล้องกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวัฒนธรรม คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ได้อธิบายไว้ว่า “เพื่อสุขภาพที่ดีควรที่จะแยกส่วนที่เปียก กับ ส่วนที่แห้งเพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อโรคทั้งแบคทีเรียและไวรัส เพราะความชื้นหรือน้ำจะเป็นตัวที่ทำให้แบคทีเรียและไวรัสปนเปื้อนแพร่ได้ นอกเหนือไปกว่าการระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัย เช่น ลื่นหกล้ม และอื่น ๆ”

 

จากข้อความที่ยกมาข้างต้น เห็นได้ว่าในห้องน้ำมีเชื้อโรคแฝงที่เรามิอาจเห็นอยู่จำนวนมาก ซึ่งเกิดจากการปนเปื้อนของสิ่งปฎิกูล เช่น อุจจาระ ดังนั้นการประเมินความสะอาดของห้องน้ำ โดยการสังเกต จึงไม่อาจยืนยันความปลอดภัยได้เต็มร้อย แล้วในห้องน้ำเรามักพบเชื้อโรคอะไรบ้างนั้น ยกตัวอย่างมาได้ดังนี้

 

Church Street Reserve - NEW Fun Playground | South Windsor | ParraParents

 

เชื้อโรคที่มักพบในห้องน้ำ ที่สามารถก่อให้เกิดผลต่อร่างกายต่าง ๆ ได้ เช่น เกิดอาการถ่ายเป็นน้ำ ท้องเสีย ทำให้ท้องร่วง เป็นมูกเลือด ลำไส้อักเสบได้ หรือโรคทางผิวหนัง เนื่องจากแบคทีเรียบางกลุ่มอาจหลุดเข้าไปอาศัยอยู่ในลำไส้เมื่อมาหยิบอาหารเข้าปาก แล้วเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เนื่องมาจากการล้างมือเมื่อออกมาจากห้องน้ำที่ไม่สะอาดพอ

 

ฉะนั้นเห็นได้ว่าห้องน้ำที่ดี ไม่ว่าที่บ้าน โรงเรียน หรือ ที่สาธารณะ จึงต้องมีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรมีกลิ่นเหม็น และสิ่งสกปรกปรากฎให้เห็น ดังเช่นจุดที่เสี่ยงและอาจมีเชื้อโรคอยู่ได้

  

"ห้องน้ำ" ในบ้านความสะอาดอาจเป็นสิ่งที่เราควบคุมดูแลได้ แต่กรณีจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะ สิ่งที่ต้องระวัง คือ เชื้อโรคที่มองไม่เห็น ดังนั้นจุดที่เราต้องระวัง

 

·      กลอนประตู หรือ ลูกบิดประตู

·      ที่จับสายฉีด 

·      บริเวณพื้นห้องส้อม 

·      ที่รองนั่งโถส้อม

·      ที่กดโถส้อม 

·      ที่กดโถปัสสาวะ 

·      ที่เปิดก๊อกอ่างล้างมือ

 

a hand flushing a white porcelain toilet

 

ข้อควรปฏิบัติเมื่อใช้ห้องน้ำ

 

·      ปิดฝาครอบก่อนกดน้ำชำระล้างโถส้วม เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของจุลินทรีย์

·      หลีกเลี่ยงการสัมผัสอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยตรง เช่น ลูกบิด กลอนประตู ปุ่มกดชักโครก

·      ใช้กระดาษเช็ดมือแบบใช้แล้วทิ้ง

·      ควรเก็บเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น โทรศัพท์มือถือในกระเป๋าเมื่อต้องเข้าห้องน้ำโดยวางให้ห่างจากโถส้วม หรือเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิด เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อจากห้องน้ำสู่เครื่องใช้ส่วนตัว

·      หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องเป่ามือ โดยใช้กระดาษชำระเช็ดมือแทน

·      ทำความสะอาดห้องน้ำและอุปกรณ์ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เหมาะสม เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ เป็นต้น

·      ใช้ห้องน้ำสาธารณะทุกครั้ง ทุกคนควรช่วยกันรักษาความสะอาด

·      ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เนื่องจากการสัมผัสอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องน้ำทำให้มือปนเปื้อนเชื้อจากห้องน้ำมากกว่าอวัยวะส่วนอื่น

     ·      ล้างมือให้สะอาด (ตั้งแต่มือ แขน และไม่ลืมที่จะทำความสะอาดหลังมือทั้งสองข้าง การถูฝ่ามือก็ไม่ลืมที่จะทำความสะอาดซอกเล็บ ข้อนิ้ว และง่ามมือด้วยสบู่ ล้างน้ำให้สะอาดทุกครั้ง)

 

home for sale - Addis Ababa | Ethiopia Classifieds

 

ควรปิดฝาครอบ ก่อนกดชัดโครก

 

จากข้อแนะนำ ให้ปิดฝาชักโครก ทุกครั้งที่กดชักโครก หลายคนอาจสงสัยหรือตั้งข้อสังเกตว่า จะช่วยลดเสี่ยงแพร่กระจายเชื้อโรค ได้จริงหรือไม่ นั้น มีคำอธิบายจาก บทความของ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่า...

 

การกดชักโครกเป็นอีกสาเหตุหนึ่งในการแพร่กระจายจุลินทรีย์ โดยในปี ค.ศ. 2012 Best และคณะ ได้ตีพิมพ์บทความถึงการกดชักโครกโดยไม่ปิดฝาครอบ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายแบคทีเรีย Clostridium difficile ที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วง และอาจนำไปสู่การอักเสบในลำไส้ได้

 

นอกจากนี้ยังพบว่า การกดชักโครกโดยไม่ปิดฝาครอบทำให้จุลินทรีย์ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศบริเวณรอบ ๆ ทำให้เชื้อสะสมอยู่ตามตำแหน่งต่างๆได้ ดังนั้น การปิดฝาครอบก่อนการกดชักโครกจึงสามารถช่วยให้ผู้ใช้สุขาและผู้ที่ต้องใช้สุขารายต่อๆไปลดความเสี่ยงหรือป้องกันการได้รับจุลินทรีย์ที่ไม่พึงประสงค์เหล่านั้นได้
สุดท้ายการล้างมือเป็นประจำ ไม่เพียงเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของโรคต่าง ๆ เท่านั้น เป็นสิ่งที่ควรทำสม่ำเสมอนั้นเพื่อสุขอนามัยที่ดี ไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยตามมา 

 

とっても便利!子どもの手洗いをサポートするアイテム | mamaPRESS -ママプレス-

 

สุดท้าย นักเรียนทุกคน อย่าลืมหันหลังไปเช็กความสะอาดที่โถส้วมก่อนออกจากห้องน้ำด้วยนะ เพื่อน ๆคนต่อไปเข้ามาจะได้สบายใจ ไม่พึมพำในใจว่าเราไม่ใส่ใจความสะอาด

 

 

อ้างอิงข้อมูล : โรงพยาบาลคามิลเลียนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัยมหิดล